การถอนทัพโซเวียตที่ทาลลินน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การอพยพทางเรือที่ทาลลินน์ ค.ศ. 1941
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามต่อเนื่อง

เรือลาดตระเวนโซเวียต คีรอฟ ได้รับการป้องกันโดยหมอกควันในช่วงระหว่างการอพยพที่ทาลลินน์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941.
วันที่27–31 สิงหาคม ค.ศ. 1941
สถานที่
ผล ฟินแลนด์-เยอรมนีชนะ
คู่สงคราม
 ฟินแลนด์
 ไรช์เยอรมัน
 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ไม่ระบุ พลเรือเอก Vladimir Tributz
จอมพล คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ
กำลัง
Numerous minefields
Numerous bomber aircraft
Coastal batteries
Numerous torpedo boats
1 cruiser
30,000
ความสูญเสีย
Unknown

12,000+ dead (civilian and military)
28 large transports and auxiliary ships
16 warships[1]


6 small transports
34 merchant vessels sunk

แม่แบบ:Campaignbox Barbarossa

แม่แบบ:Campaignbox Leningrad and Baltics 1941-1944

การถอนทัพโซเวียตที่ทาลลินน์ (อังกฤษ: Soviet evacuation of Tallinn) เรียกอีกอย่างว่า ภัยพิบัติทาลลินน์ (Tallinn disaster) หรือ เดิงแกร์กแห่งรัสเซีย (Russian Dunkirk) เป็นปฏิบัติการของสหภาพโซเวียตเพื่อการอพยพด้วยเรือ 190 ลำของกองเรือรบบอลติก หน่วยรบของกองทัพแดง และพลเรือนชาวโซเวียตที่สนับสนุนจากฐานทัพหลักที่ล้อมรอบไปด้วยกองเรือรบที่ทาลลินน์ในเอสโตเนียภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียตในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941

กองทัพโซเวียตได้เข้ายึดครองเอสโตเนียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากเยอรมนีได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียต เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนทัพอย่างรวดเร็วผ่านรัฐบอลติกภายใต้การยึดครองของโซเวียต และโดยสิ้นสุดลงของเดือนสิงหาคม ทาลลินน์ เมืองหลวงของเอสโตเนียได้ถูกกองทัพเยอรมันโอบล้อม ในขณะที่ส่วนใหญ่ของกองเรือรบบอลติกธงแดงได้บรรจุอยู่ในท่าเรือทาลลินน์

ในความคาดหมายของการฝ่าวงล้อมของสหภาพโซเวียต ครีกซมารีเนอและกองทัพเรือฟินแลนด์ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1941 เพื่อวางทุ่นระเบิดใต้น้ำปิดทางแหลม Juminda บนชายฝั่ง Lahemaa ในขณะที่เรือกวาดทุ่นระเบิดของสหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะเปิดเส้นทางสำหรับขบวนเรือผ่านแนวทุ่นระเบิดใต้น้ำ ทหารปืนใหญ่ชายฝั่งของเยอรมนีได้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 150 มม. (5.9 นิ้ว) ใกล้กับแหลม Juminda และกองทัพเรือฟินแลนด์ได้รวมรวมกองเรือตอร์ปิโดมอเตอร์ (Motor Torpedo Boat) ที่ 2 กับเรือลาดตะเวน VMV9, VMV10, VMV11 และ VMV17 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทางฝ่ายเยอรมันได้รวบรวมกองเรือ 3. Schnellbootflottille กับเรือ-อี (E-boats) S-26, S-27, S-39, S-40 และ S-101 ซึ่งได้รวมกำลังกันที่ซัวเม็นลินนะ (Suomenlinna) ด้านนอกของเฮลซิงกิ เครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมนี ยุงเคอร์ เจยู-88 จากคัมพ์กรุพเพอ 806 ฐานทัพบนสนามบินในเอสโตเนียได้รับการแจ้งเตือน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ในท้ายที่สุดเยอรมนีก็ได้เริ่มบุกจู่โจมทาลลินน์

ในช่วงกลางคืนของวันที่ 27/28 สิงหาคม ค.ศ. 1941 เหล่าทหารไรเฟิลที่ 10 ได้ถอยห่างออกจากศัตรูและขึ้นเรือบรรทุกโดยสารในทาลลินน์

การลงเรือได้รับการปกป้องโดยกลุ่มควันปกคลุม อย่างไรก็ตาม การกวาดทุ่นระเบิดใต้น้ำในวันก่อนการอพยพเริ่มไม่ได้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย และไม่มีเครื่องบินรบโซเวียตที่พร้อมสำหรับคุ้มกันการลงเรือ ทั้งนี้ พร้อมกับกระสุนปืนใหญ่ที่ตกลงมาอย่างหนักของเยอรมนีและการทิ้งระเบิดทางอากาศได้สังหารผู้อพยพอย่างน้อย 1,000 คนในท่าเรือ

อ้างอิง[แก้]

  1. Harrison E. Salisbury (2003). "Tallinn disaster; Russian Dunkirk". The 900 Days: The siege of Leningrad. Cambridge, Massachusetts: Da Capo Press. pp. 221–242.