ข้ามไปเนื้อหา

รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต รัชทายาทที่ได้รับสมมุติแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์

ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ (อังกฤษ: pretender) คือ ผู้อ้างการมีสิทธิ์ในตำแหน่งเกียรติหรือยศที่ไม่มีอยู่แล้ว ใช้กับอดีตพระมหากษัตริย์ หรือผู้สืบเชื้อสายอดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งราชบัลลังก์มีผู้ครองแล้วหรือมีคู่แข่งอ้าง หรือถูกเลิกไปแล้วมากที่สุด

ภาษาอังกฤษคำว่า “Pretend” มาจากภาษาฝรั่งเศส “prétendre” ที่แปลว่า ยื่นเสนอ เสนอ หรืออ้าง นอกจากนั้นคำว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ” ยังใช้กับกลุ่มผู้ที่พยายามอ้างสิทธิในนามของผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นจะทราบหรือทำการอ้างเองหรือไม่ และเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งสำหรับผู้อ้างที่มีสิทธิที่แท้จริงในราชบัลลังก์ เช่น กรณีผู้อ้างหลายคนระหว่างสงครามดอกกุหลาบ หรือผู้ประดิษฐ์ข้ออ้างขึ้นเองในกรณีของแลมเบิร์ต ซิมเนล (Lambert Simnel) ผู้อ้างว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ บุคคลในกลุ่มหลังนี้มักจะอ้างใช้ชื่อของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือพระญาติพระวงศ์ที่หายสาบสูญไป ซึ่งบางที่ก็จะเรียกว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติเท็จ” (false pretender) รัชทายาทที่ได้รับสมมุติของพระสันตะปาปา เรียก “พระสันตะปาปาเท็จ” (antipope)

ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์

[แก้]

ทวีปยุโรป

[แก้]
ประเทศ รูป ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด ภาพ
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย เจ้าชายเลกา เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2554 ราชวงศ์โซกู เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย กษัตริย์แอลเบเนียพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2471–2482 พระเจ้าซ็อกทรงถูกอิตาลีล้มล้างและทรงอ้างสิทธิจนกระทั่ง พ.ศ. 2504 จึงสวรรคต พระราชนัดดาอ้างสิทธิสืบต่อจากเจ้าชายเลกา มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย พระบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2554 สเกนเดอร์ โซกู พ.ศ. 2476
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี คาร์ล ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2554 ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย จักรพรรดิออสเตรียพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2459–2460 จักรพรรดิคาร์ลถูกล้มล้างราชบัลลังก์ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2465 พระราชนัดดาอ้างสิทธิสืบต่อจากอ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย พระบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2554 แฟร์ดีนันท์ ซโวนีมีร์ ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน พ.ศ. 2540
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย ซีโมน แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พ.ศ. 2480 พ.ศ. 2489 ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา เป็นสมเด็จพระเจ้าซาร์พระองค์สุดท้ายของบัลแกเรียในพระปรมาภิไธย ซีเมออนที่ 2 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2486–2489 ทรงถูกล้มล้างราชบัลลังก์ภายหลังจากกองทัพสหภาพโซเวียตยกพลเข้าราชอาณาจักรและทำรัฐประหารสถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ เจ้าชายบอริส เจ้าชายแห่งทาร์โน พ.ศ. 2540
ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย แอ็นสท์-โยฮันน์ เจ้าชายไบรอนแห่งคลาวแลนด์ พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2525 ราชวงศ์ไบรอน เป็นสันตติวงศ์ชั้นที่ 7 ในดยุกแอ็นสท์ โยฮันน์ ฟ็อน ไบรอน ซึ่งเป็นพระบิดาในดยุกปีเตอร์ ฟ็อน ไบรอน ดยุกแห่งคูร์ลันด์องค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2312–2338 ดยุกปีเตอร์สูญเสียราชบัลลังก์ภายหลังการแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สามโดยถูกจักรวรรดิรัสเซียผนวกดินแดน เจ้าชายแอ็นสท์อ้างสิทธิสืบต่อจากคาร์ล ฟ็อน ไบรอน พระบิดาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2525 ไมเคิล ไบรอน พ.ศ. 2487
ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย คาร์ล ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2554 ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย กษัตริย์โครเอเชีย-สลาโวเนียพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2459–2460 ในพระปรมาภิไธย คาร์ลที่ 4 จักรพรรดิคาร์ลถูกล้มล้างราชบัลลังก์ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2465 พระราชนัดดาอ้างสิทธิสืบต่อจากอ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย พระบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2554 แฟร์ดีนันท์ ซโวนีมีร์ ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน พ.ศ. 2540
รัฐเอกราชโครเอเชีย เจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลีย พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2564 ราชวงศ์ซาวอย เป็นพระราชนัดดาในเจ้าชายไอโมน ดยุกที่ 4 แห่งออสตา กษัตริย์โครเอเชียพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2484–2486 ในพระปรมาภิไธย โทมิสลาฟที่ 2 พระเจ้าโทมิสลาฟทรงถูกบังคับสละราชบัลลังก์ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองและทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2491 พระราชนัดดาอ้างสิทธิสืบต่อจากเจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งออสตา มกุฎราชกุมารแห่งโครเอเชีย พระบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2564 เจ้าชายอุมแบร์โตแห่งเพียดมอนด์ พ.ศ. 2552
ราชอาณาจักรอังกฤษ
(สายแจกเคอไบต์)
เจ้าชายฟรันซ์ ดยุกแห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค ทรงเป็นพระราชสันตติวงศ์ชั้นที่ 11 ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ กษัตริย์อังกฤษครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2228–2231 พระเจ้าเจมส์ทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์ภายหลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์และทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2244 เจ้าชายฟรันซ์อ้างสิทธิสืบต่อจากเจ้าชายอัลเบ็รชท์ ดยุกแห่งบาวาเรีย พระบิดาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2539 เจ้าชายแม็กซ์ ดยุกในบาวาเรีย พ.ศ. 2480
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
(สายแจกเคอไบต์)
เจ้าชายฟรันซ์ ดยุกแห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค ทรงเป็นพระราชสันตติวงศ์ชั้นที่ 17 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ กษัตริย์อังกฤษ-ฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1965–1996 ในพระปรมาภิไธย อ็องรีที่ 2 พระเจ้าเฮนรีทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์ภายหลังแพ้สงครามแลงแคสเตอร์และทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2014 เจ้าชายฟรันซ์อ้างสิทธิสืบต่อจากเจ้าชายอัลเบ็รชท์ ดยุกแห่งบาวาเรีย พระบิดาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2539 เจ้าชายแม็กซ์ ดยุกในบาวาเรีย พ.ศ. 2480
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
(สายบูร์บง)
หลุยส์ อัลฟอนส์เซร์ ดยุกแห่งอ็องฌู พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2532 ราชวงศ์บูร์บง ทรงเป็นพระราชสันตติวงศ์ชั้นที่ 11 ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพระราชบรรพบุรุษชั้นที่ 8 ของอ็องรีแห่งอาร์ตัว กษัตริย์ฝรั่งเศสสายบูร์บงพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ใน พ.ศ. 2373 ในพระปรมาภิไธย อ็องรีที่ 5 พระเจ้าอ็องรีทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์ภายหลังจากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมและทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2426 เจ้าชายหลุยส์อ้างสิทธิสืบต่อจากเจ้าชายอัลฟอนโซ ดยุกแห่งอ็องฌูและกาดิซ พระบิดาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2532 เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ พ.ศ. 2553
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
(สายออร์เลอ็อง)
ฌ็อง เคานต์แห่งปารีส พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2562 ราชวงศ์ออร์เลอ็อง เป็นลืดในพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพระอัยกาธิราชของเจ้าชายฟีลิป เคานต์แห่งปารีส กษัตริย์ฝรั่งเศสสายออร์เลอ็องพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ใน พ.ศ. 2391 ในพระปรมาภิไธย หลุยส์-ฟีลิปที่ 2 พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์ภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์และทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2437 ลืดอ้างสิทธิสืบต่อจากเจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส พระบิดาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2562 เจ้าชายกัสตอน พ.ศ. 2552
จักรวรรดิฝรั่งเศส ชาร์ล เจ้าชายนโปเลียน พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2540 ราชวงศ์โบนาปาร์ต เป็นลืบในการ์โล บูโอนาปาร์เต ซึ่งเป็นพระราชบิดาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพระอัยกาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จักรพรรดิฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2395–2413 จักรพรรดินโปเลียนทรงถูกถอดจากราชบัลลังก์ภายหลังการพ่ายแพ้ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2416 ลืบอ้างสิทธิสืบต่อจากหลุยส์ เจ้าชายนโปเลียน พระบิดาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2540 ฌ็อง-คริสต็อฟ เจ้าชายนโปเลียน พ.ศ. 2529
ราชอาณาจักรกรีซ เจ้าชายปัฟโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2566 ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-เซอเนอร์ปอร์-กลึคส์บวร์ค เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ กษัตริย์กรีซพระองค์สุดท้าย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2507–2516 สมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสถูกถอดออกจากราชบัลลังก์ภายหลังจากการลงประชามติสาธารณรัฐและทรงอ้างสิทธิจนสวรรคตใน พ.ศ. 2566 ซึ่งพระราชโอรสได้อ้างสิทธิต่อจากนั้น เจ้าชายคอนสแตนติน อเล็กซิออสแห่งกรีซและเดนมาร์ก พ.ศ. 2541
ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ดยุคฟรานซ์แห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์วิตเตลส์บาค ทรงเป็นเชื้อสายลำดับที่ 11 ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เจ้าชายแม็กซ์ ดยุคในบาวาเรีย พ.ศ. 2480
ราชอาณาจักรลิทัวเนีย วิลเฮล์ม อัลเบิร์ต ดยุคแห่งอูราค พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2534 ราชวงศ์อูราค เป็นพระนัดดาในพระเจ้ามินดัวกัสที่ 2 แห่งลิทัวเนีย กษัตริย์เพียงในนามในปีพ.ศ. 2461 จนกระทั่งมีการก่อตั้งสาธารณรัฐลิทัวเนียจึงทำให้ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง เจ้าชายคาร์ล ฟิลลิปแห่งอูราค พ.ศ. 2535
เกาะแมน ซีโมน อิเกอตัน สโคป พ.ศ. 2477 ไม่ปรากฏ ตระกูลสโคป เป็นเชื้อสายในวิลเลียม เลอ สโคป แฮร์รี สโคป พ.ศ. 2517
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร มกุฎราชกุมารนิโคลัส พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2529 ราชวงศ์เปโทรวิช-นีเจกอส เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีนิโคลัสที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร กษัตริย์มอนเตเนโกรตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2461 ระบอบกษัตริย์สิ้นสุดหลังจากรวมเข้ากับราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย เจ้าชายบอริส พ.ศ. 2523
ราชอาณาจักรโปรตุเกส เจ้าชายดูอาร์ท ปิโอ ดยุกแห่งบรากันซา พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2519 ราชวงศ์บราแกนซา เป็นพระปนัดดาในพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส กษัตริย์โปรตุเกสตั้งแต่ พ.ศ. 2371 ถึง พ.ศ. 2377 ระบอบกษัตริย์สิ้นสุดในรัชสมัยพระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส ทรงถูกล้มล้างราชบัลลังก์โดยสาธารณรัฐ อาฟงซู เจ้าชายแห่งไบรา พ.ศ. 2539
ราชอาณาจักรโรมาเนีย เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งโรมาเนีย พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2560 ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟรีดิชแห่งโฮเฮนโซเลน
(ประมุขแห่งราชวงศ์ ลำดับต่อไปตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิม)
พ.ศ. 2467
เจ้าหญิงเอเลนาแห่งโรมาเนีย
(ทายาทโดยสันนิษฐานลำดับต่อไปตามกฎแห่งราชวงศ์เดิม)
พ.ศ. 2493
ราชอาณาจักรโรมาเนีย
(ไม่ได้รับการรับรอง)
พอล-ฟิลิป โฮเอินโซลเลิร์น พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2549 ตระกูลลามบริโน
(เชื้อสายจากการหย่าร้างของบุคคลในโฮเฮนโซเลิร์น)
เป็นบุตรในคาโรล ลามบริโน ซึ่งเป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียกับพระชายาองค์แรกคือ ซีซิ ลามบริโนซึ่งเป็นสามัญชน อเล็กซานเดอร์ โฮเฮนโซลเลิร์น พ.ศ. 2504
จักรวรรดิรัสเซีย แกรนด์ดัสเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2535 ราชวงศ์โรมานอฟ ทรงเป็นเชื้อสายในพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย ซึ่งครองราชย์ในปีพ.ศ. 2398 ถึงพ.ศ. 2424 พระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซียคือพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงถูกปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิกและถูกปลงพระชนม์พร้อมพระราชวงศ์ แกรนด์ดยุกจอร์จ มิไคโลวิชแห่งรัสเซีย พ.ศ. 2524
จักรวรรดิรัสเซีย เจ้าชายอันเดรย์ อันเดรเยวิช พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2559 ราชวงศ์โรมานอฟ ทรงเป็นเชื้อสายในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย ซึ่งครองราชย์ในปีพ.ศ. 2368 ถึงพ.ศ. 2398 เจ้าชายอเล็กซิส อันเดรเยวิช โรมานอฟ พ.ศ. 2496
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ดยุคฟรานซ์แห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์วิตเตลส์บาค ทรงเป็นเชื้อสายลำดับที่ 11 ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เจ้าชายแม็กซ์ ดยุคในบาวาเรีย พ.ศ. 2480
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
(สายโอเบรโนวิช)
มกุฎราชกุมารนิโคลัส พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2529 ราชวงศ์เปโทรวิช-นีเจกอส เป็นพระนัดดาในเจ้าชายเมอร์โกแห่งมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นพระญาติในสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย เจ้าชายบอริส พ.ศ. 2523
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
(สายคาราดอร์เดวิค)
มกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์ พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2513 ราชวงศ์คาราดอร์เดวิค เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งครองราชย์ในปีพ.ศ. 2477 ถึงพ.ศ. 2488 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าฟ้าชายปีเตอร์ พ.ศ. 2523
ราชอาณาจักรสเปน
(สายการ์ลิสต์)
คาร์ลอส ฮูโก ดยุคแห่งปาร์มา พ.ศ. 2473 พ.ศ. 2520 ราชวงศ์บูร์บง เป็นพระโอรสในซาเวียร์ ดยุคแห่งปาร์มา พระบิดาได้รับการประกาศให้เป็นผู้สำเร็จราชการการ์ลิสต์โดยอัลฟองโซ คาร์ลอสแห่งบูร์บง ดยุคแห่งซาน เจม เจ้าชายคาร์ลอสแห่งเพียเซนซา พ.ศ. 2513
ราชอาณาจักรสเปน
(สายการ์ลิสต์)
เจ้าชายซิกส์ตุส อองรีแห่งบูร์บง-ปาร์มา พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2522 ราชวงศ์บูร์บง เป็นพระโอรสในซาเวียร์ ดยุคแห่งปาร์มา พระบิดาได้รับการประกาศให้เป็นผู้สำเร็จราชการการ์ลิสต์โดยอัลฟองโซ คาร์ลอสแห่งบูร์บง ดยุคแห่งซาน เจม เจ้าชายซิกส์ตุสแห่งบาร์ดี พ.ศ. 2515
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย มกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์ พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2513 ราชวงศ์คาราดอร์เดวิค เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งครองราชย์ในปีพ.ศ. 2477 ถึงพ.ศ. 2488 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าฟ้าชายฟิลิป พ.ศ. 2525

เยอรมนี

[แก้]
ประเทศ รูป ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์' เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด รูป
จักรวรรดิเยอรมัน เจ้าชายกียอร์ก ฟรีดริช เจ้าชายแห่งปรัสเซีย พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2537 ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น เป็นลื่อ (ลูกของเหลน) ในสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี จักรพรรดิเยอรมนีตั้งแต่ พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2461 ทรงถูกล้มล้างราชบัลลังก์หลังจากทรงพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสาธารณรัฐ เจ้าชายคาร์ล ฟรีดริชแห่งปรัสเซีย พ.ศ. 2556
ราชอาณาจักรบาวาเรีย ดยุคฟรานซ์แห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์วิตเตลส์บาค เป็นพระปนัดดาในพระเจ้าลูทวิชที่ 3 แห่งบาวาเรีย กษัตริย์บาวาเรียตั้งแต่พ.ศ. 2456 ถึง พ.ศ. 2461 โดยระบอบกษัตริย์ได้ถูกล้มล้างในการปฏิวัติเยอรมัน เจ้าชายแม็กซ์ ดยุคในบาวาเรีย พ.ศ. 2480
ราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ เจ้าชายเอิร์นส์ ออกัสที่ 5 แห่งฮาโนเวอร์ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2530 ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ เป็นลื่อ (ลูกของเหลน) ในพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งฮาโนเวอร์ กษัตริย์ฮาโนเวอร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2421 ระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลงโดยยอมเข้ารวมกับเยอรมนี เจ้าชายเอิร์นส์ ออกัสแห่งฮาโนเวอร์ พ.ศ. 2526
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เจ้าชายจอร์จ ฟรีดิชแห่งปรัสเซีย พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2537 ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น เป็นลื่อ (ลูกของเหลน) ในสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี กษัตริย์ปรัสเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2461 โดยเปลี่ยนพระอิศริยยศเป็นจักรพรรดิ จากนั้นทรงถูกล้มล้างราชบัลลังก์หลังจากทรงพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสาธารณรัฐ เจ้าชายคาร์ล ฟรีดริชแห่งปรัสเซีย พ.ศ. 2556
ราชอาณาจักรแซกโซนี มาเรีย เอ็มมานูเอล มาร์เกรฟแห่งเมสเซน พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2511 ราชวงศ์เวททิน เป็นพระปนัดดาในพระเจ้าเฟรเดอริค ออกุสตัสที่ 3 แห่งแซกโซนี กษัตริย์แซกโซนีตั้งแต่ พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2461 ทรงถูกล้มล้างราชบัลลังก์จากการปฏิวัติเยอรมัน เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกโซนี พ.ศ. 2477
ราชอาณาจักรเวสต์ฟาเลีย เจ้าชายชาร์ลส์ นโปเลียนแห่งฝรั่งเศส พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2540 ราชวงศ์โบนาปาร์ต ทรงมีศักดิ์เป็นลื่อ (ลูกของเหลน) ของพระเจ้าเจโรมที่ 1 แห่งเวสต์ฟาเลีย กษัตริย์เวสต์ฟาเรียในปีพ.ศ. 2350 ถึงพ.ศ. 2356 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรฮาโนเวอร์และรัฐเฮสส์ เจ้าชายฌอง คริสตอฟ นโปเลียน พ.ศ. 2529
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค คาร์ล ดยุคแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค พ.ศ. 2479 พ.ศ. 2518 ราชวงศ์เวือร์ทเทิมแบร์ค เป็นพระนัดดาในพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค กษัตริย์เวือร์ทเทิมแบร์คในปีพ.ศ. 2434 ถึงพ.ศ. 2461 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติเยอรมัน ฟรีดิช ดยุครัชทายาทแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค พ.ศ. 2504

อิตาลี

[แก้]
ประเทศ รูป ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด รูป
ราชอาณาจักรอิตาลี

เจ้าชายวิกเตอริโอ เอ็มมานูเอลแห่งเนเปิลส์

เจ้าชายไอมอน ดยุคแห่งอะพิวลา
พ.ศ. 2480



พ.ศ. 2510

พ.ศ. 2526



พ.ศ. 2564

ราชวงศ์ซาวอย เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี กษัตริย์แห่งอิตาลีในพ.ศ. 2489 จากนั้นประชาชนมีประชามติให้ล้มล้างระบอบกษัตริย์

พระญาติในสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี กษัตริย์แห่งอิตาลีในพ.ศ. 2489
เจ้าชายเอ็มมานูเอล ฟิลิแบร์โตแห่งเวนิซและเพียดมอนท์

เจ้าชายอุมแบร์โต้แห่งซาวอย โอสตา
พ.ศ. 2515

พ.ศ. 2552




ราชอาณาจักรเนเปิลส์ โจอาคิม เจ้าชายมูราท์ที่ 8 พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2487 ราชวงศ์มูราท์ เชื้อสายในโจอาคิม มูราท์ กษัตริย์แห่งเนเปิลส์ตั้งแต่พ.ศ. 2351 ถึงพ.ศ. 2358 โจอาคิม เจ้าชายแห่งปอร์เตโคร์โว พ.ศ. 2516
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

เจ้าชายคาร์ลอส ดยุคแห่งคาลาเบรีย

เจ้าชายคาร์โล ดยุคแห่งคัสโตร
พ.ศ. 2481

พ.ศ. 2506
พ.ศ. 2507

พ.ศ. 2551
ราชวงศ์บูร์บง เชื้อสายในพระเจ้าแฟร์ดีนันด์ที่ 2 แห่งซิซิลีทั้งสอง กษัตริย์แห่งซิซิลีทั้งสองในพ.ศ. 2373 ถึงพ.ศ. 2402 จากนั้นในรัชสมัยของพระเจ้าฟรานซิสที่ 2 แห่งซิซิลีทั้งสอง ทรงถูกล้มล้างระบอบกษัตริย์โดยการรวมชาติอิตาลีภายใต้ราชวงศ์ซาวอย เจ้าชายเปโดร ดยุคแห่งโนโต

เจ้าชายแอนโตนแห่งบูร์บง ซิซิลีทั้งสอง
พ.ศ. 2511

พ.ศ. 2472


ทวีปแอฟริกา

[แก้]
ประเทศ รูป ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด รูป
จักรวรรดิเบนิน พระเจ้าอีรีดิเอาวาที่ 1 โอบาแห่งเบนิน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2521 โอบาแห่งเบนิน เป็นพระปนัดดาในพระเจ้าโอวอนรามเว็น โอบาแห่งเบนิน ครองราชย์ตั้งแต่พ.ศ. 2431 ถึงพ.ศ. 2440 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างหลังจากจักรวรรดิเบนินถูกผนวกเข้ากับอาณานิคมอังกฤษ ? ? ?
ราชอาณาจักรบุรุนดี เจ้าหญิงโรส เปาลา อิริบากิซา แห่งบุรุนดี พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2520 ราชวงศ์นัทเวโต เป็นพระธิดาในพระเจ้ามวัมบุทซาที่ 4 บันกิริเชงแห่งบุรุนดี ครองราชย์ตั้งแต่พ.ศ. 2458 ถึงพ.ศ. 2509 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติโดยสาธารณรัฐ เรมี มูฮิรวา ? ?
จักรวรรดิแอฟริกากลาง เจ้าชายฌ็อง-เบแดล บอกาซา มกุฎราชกุมารแห่งแอฟริกากลาง พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์โบคาสซาร์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฌอง-บาเดล โบคาสซาร์ที่ 1 แห่งแอฟริกากลาง ครองราชย์ตั้งแต่พ.ศ. 2519 ถึงพ.ศ. 2522 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยมีการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐ เจ้าชายฌอง-เบแดล บอกาซา พ.ศ. 2528 ?
ราชอาณาจักรอียิปต์ พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2496 ราชวงศ์มุฮัมหมัด อาลี เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์ตั้งแต่พ.ศ. 2495 ถึงพ.ศ. 2496 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติอียิปต์โดยสาธารณรัฐ เจ้าชายมุฮัมหมัด อาลีแห่งซาอิด พ.ศ. 2522
จักรวรรดิเอธิโอเปีย เซรา ยาคอบ อัมฮา เซลาสซี มกุฎราชกุมารแห่งเอธิโอเป๊ย พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2540 ราชวงศ์โซโลมอน เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย จักรพรรดิแห่งเอธิโอเปียตั้งแต่พ.ศ. 2473 ถึงพ.ศ. 2507 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยเผด็จการคอมมิวนิสต์เดร็ก พอล วอซเซน ซากัด มาคอนเนน พ.ศ. 2490 ?
จักรวรรดิเอธิโอเปีย เกอมา โยฮันนิส ฮิยาซู พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2540 ราชวงศ์โซโลมอน พระนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย จักรพรรดิตั้งแต่พ.ศ. 2456 ถึงพ.ศ. 2459 ? ? ?
ราชอาณาจักรลิเบีย เจ้าชายมูฮัมหมัด อิล เซนนุสซี มกุฎราชกุมารแห่งลิเบีย พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2535 ราชวงศ์เซนุสซิ เป็นพระนัดดาในพระเจ้าอิดิสที่ 1 แห่งลิเบีย กษัตริย์ลิเบียตั้งแต่พ.ศ. 2494 ถึงพ.ศ. 2512 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยเผด็จการทหาร เจ้าชายคาเลด เอล เซนุสซี พ.ศ. 2508 ?
ราชอาณาจักรรวันดา พระเจ้ายูฮีที่ 6 แห่งรวันดา พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2560 ราชวงศ์นิดาฮินดูรวา พระภาติยะในพระเจ้าคิเกลิที่ 5 แห่งรวันดา ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยคณะปฏิวัติ ? ? ?
ราชอาณาจักรอียิปต์และซูดาน พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2496 ราชวงศ์มุฮัมหมัด อาลี เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดานตั้งแต่พ.ศ. 2495 ถึงพ.ศ. 2496 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติอียิปต์โดยสาธารณรัฐ เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด พ.ศ. 2522
ราชอาณาจักรตูนิเซีย เจ้าชายมุฮัมหมัด เบย์ พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2549 ราชวงศ์ฮูไซนิด เชื้อสายของพระเจ้ามุฮัมหมัดที่ 5 อัน-นาเซอร์ กษัตริย์แห่งตูนิเซียตั้งแต่พ.ศ. 2449 ถึงพ.ศ. 2465 กษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้ามูฮัมหมัดที่ 8 อัล อามินแห่งตูนิเซีย ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยสาธารณรัฐ เจ้าชายมูฮัมหมัด เบย์ พ.ศ. 2490 ?
รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ สุลต่านจัมซิด บิน อับดุลลาห์แห่งแซนซิบาร์ พ.ศ. 2472 พ.ศ. 2507 ราชวงศ์ซาอิด ทรงเป็นสุลต่านองค์สุดท้ายแห่งแซนซิบาร์ตั้งแต่พ.ศ. 2506 ถึงพ.ศ. 2507 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติแซนซิบาร์ เจ้าชายไซยิด อาลี บิน จัมซิด อัล บูไซดิ พ.ศ. 2499 ?

ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

[แก้]
ประเทศ รูป ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์' เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด รูป
ราชอาณาจักรอาเรากาเนียและปาตาโกเนีย เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งอาเรากาเนียและปาตาโกเนีย พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2561 ราชวงศ์ลูซ (Boiry) ผู้สืบทอดของพระเจ้าโอเลลี อองตวน แห่งตูแนนส์ (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1860-1878) อองรี ลูซ ? ?
จักรวรรดิบราซิล เจ้าชายหลุยส์แห่งออร์เลอองส์-บราแกนซา ค.ศ. 1938 ค.ศ. 1981 ราชวงศ์ออร์เลอองส์-บรากันซา สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรที่ 2 แห่งบราซิล (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1831-1889) เจ้าชายเบอร์แทรนด์แห่งออร์เลอองส์และบรากันซา ค.ศ. 1941
จักรวรรดิบราซิล เจ้าชายเปโดร กาโลส แห่งออร์เลอองส์และบรากันซา ค.ศ. 1945 ค.ศ. 2007 ราชวงศ์ออร์เลอองส์-บรากันซา สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรที่ 2 แห่งบราซิล (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1831-1889) เจ้าชายเปโดร ติเอโก แห่งออร์เลอองส์และบรากันซา ค.ศ. 1979
จักรวรรดิเม็กซิโก ? เจ้าชายแม็กซิมิเลียนแห่งเกิตเซนและอีตูร์ไบด์ ค.ศ. 1944 ค.ศ. 1949 ราชวงศ์อีตูร์ไบด์ สืบเชื้อสายมาจากเจ้าชายซัลวาดอร์แห่งอีตูร์ไบด์พระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกุสติงที่ 1 แห่งแม็กซิโก (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1822-1823) เจ้าชายเฟอร์นันโดแห่งเกิตเซนและอีตูร์ไบด์ ค.ศ. 1992
ชาติมีสกีโต นอร์ตัน คุธเบิร์ก กราเรนซ์ ? ค.ศ. 1978 ? ในช่วงปี ค.ศ. 1978 เขาได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อาณาจักรมีสกีโตโดยตั้งตนเป็นผู้นำของชนชาติมีสกีโต ? ? ?

ทวีปเอเชีย

[แก้]
ประเทศ รูป ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์' เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด รูป
รัฐสุลต่านอาเจะฮ์ หะซัน ดิ ไทโร พ.ศ. 2473 ? ราชวงศ์ไทโร ผู้สืบเชื้อสายสุลต่านแห่งอาเจะฮ์ ? ? ?
อัฟกานิสถาน มกุฎราชกุมารอาห์หมัด ชาห์ ข่าน พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2550 ราชวงศ์บาราคไซ โอรสองค์ใหญ่ที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ของพระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน ชาห์แห่งอัฟกานิสถานระหว่าง พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2516 มุฮัมมัด ซาฮีร์ ข่าน พ.ศ. 2505 ?
เอมิเรตแห่งบูคารา ซัยยิด มีร์ อิบรอฮิม ข่าน พ.ศ. 2446 พ.ศ. 2487 ราชวงศ์มางกิต โอรสของซัยยิด มีร์ โมฮัมเหม็ด อาลิม ข่าน (เอเมียร์แห่งบุคาราระหว่าง พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2463) ? ? ?
ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เจ้าแก้ว ณ จำปาศักดิ์ พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2523 ราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ นัดดา (หลานปู่) ของเจ้าราชดนัย (เจ้ายุติธรรมธร หยุย ณ จำปาศักดิ์) (เจ้าผู้ปกครองนครระหว่าง พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2447) เจ้าไซซะนะสัก ณ จำปาศักดิ์ พ.ศ. 2489
จีน
(ราชวงศ์ชิง)
อ้ายซินเจว๋หลัว เหิงเจิน พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2540 ราชวงศ์ชิง[1] ผู้สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิเต้ากวง (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2393) อ้ายซินเจว๋กัวโร จินซิง 1977
จีน
(ราชวงศ์หยวน)
วินเซนต์ หยวน[2] พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2546 ราชวงศ์หยวน เหลนของหยวน ซื่อไข่ (ตั้งตนเป็นจักรพรรดิระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2459) จาดา หยวน ?
จีน
(ราชวงศ์หมิง)
จู หรงจี พ.ศ. 2471 ราชวงศ์หมิง (แซ่จู) [3] จู หรงจี้เองไม่เคยประกาศอ้างสิทธิในราชสมบัติ แต่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่าง พ.ศ. 2541-2546 เขาเป็นผู้สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิหงหวู่ (จูหยวนจาง)[4] (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1941)
จอร์เจีย เจ้าชายนุกซาร์ บักราติอน-กรูซินสกีแห่งจอร์เจีย พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2527 ราชวงศ์บักรัตติโอนี สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าจอร์จที่ 12 แห่งจอร์เจีย (ครอราชย์ในปี ค.ศ. 1798-1800) เจ้าหญิงแอนนา บักราติอน-กรูซินสกีแห่งจอร์เจีย พ.ศ. 2519
เจ้าชายดาวิด บักราติอนแห่งมุครานี พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2551 ราชวงศ์บักรัตติโอนี สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 แห่งจอร์เจีย (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1478-1505) กิออร์กี บักราติอนแห่งมุครานี พ.ศ. 2554
อิหร่าน
(ราชวงศ์ปาห์ลาวี)
เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2523 ราชวงศ์ปาห์ลาวี โอรสในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2522) เจ้าชายอาลี แพทริค ปาห์ลาวี พ.ศ. 2490
อิหร่าน
(ราชวงศ์กอญัร)
เจ้าชายโมฮัมหมัด หะซัน มีร์ซา ที่ 2 พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2531 ราชวงศ์กอญัร ผู้สืบเชิ้อสายพระเจ้าโมฮัมหมัด อาลี ชาห์ กอญัร (พระเจ้าชาห์ระหว่าง พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2452) เจ้าชายอาร์ซาลัน มีร์ซา ?
ราชอาณาจักรอิรัก เจ้าชายระอัด บิน เซอิด พ.ศ. 2479 พ.ศ. 2513 ราชวงศ์ฮาชิม ลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าไฟซาลที่ 2 แห่งอิรัก (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2501) เจ้าชายเซอิด ระอัด บิน เซอิด อัลฮุสเซน พ.ศ. 2507
ซารีฟ อาลี บิน อัลฮุสเซน พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2501[5] ? ? ?
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม พระเจ้าควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2518 ราชวงศ์บูร์บง ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน พ.ศ. 2511
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม หลุยส์ อัลฟองซ์ ดยุคแห่งอองชู พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2532 ราชวงศ์บูร์บง ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง พระเจ้าควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน พ.ศ. 2481
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม เจ้าชายวิกเตอริโอ เอ็มมานูเอลแห่งเนเปิลส์ พ.ศ. 2480 พ.ศ. 2526 ราชวงศ์ซาวอย ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง เจ้าชายเอ็มมานูเอล ฟิลิแบร์โตแห่งเวนิซและเพียดมอนท์ พ.ศ. 2515
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม คาร์ล ฮับส์บูร์ก-โลทริงเงิน พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2554 ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง แฟร์ดีนันด์ โซโวนีเมียร์ ฮับส์บูร์ก-โลทริงเงิน พ.ศ. 2540
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม ? อินฟานเต คาร์ลอส ดยุคแห่งคาลาเบรีย พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2507 ราชวงศ์บูร์บง ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง เจ้าชายเปโดร ดยุคแห่งโนโต 1968
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม เจ้าชายคาร์โล ดยุคแห่งคัสโตร พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2551 ราชวงศ์บูร์บง ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง เจ้าชายแอนโตนแห่งบูร์บง ซิซิลีทั้งสอง พ.ศ. 2472 ?
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม ? ชาร์ลส-แอนโตน ลามอรัล พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2548 ราชวงศ์ลิกน์ ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง เจ้าชายเอ็ดดูอัร์ด พ.ศ. 2519 ?
ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม ? แพทริค กินเนส พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2542 ตระกูลกินเนส ราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้ล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 1834 การสืบทอดราชสมบัติในที่นี้เป็นการสืบทอดเชิงทฤษฏีจากคำถามที่ว่า หากมีการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้ใดควรจะได้ครอบครองสิทธินี้โดยชอบธรรมบ้าง จัสมิน กินเนส พ.ศ. 2519 ?
ราชรัฐคาลัต อะกา สุไลมาน ยัน พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2541 ราชวงศ์อาห์มัดไซ พระโอรสในอาเหม็ด ยาร์ ข่าน (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1933-1955) ? ? ?
จักรวรรดิเกาหลี เจ้าชายอี ซ็อก พ.ศ. 2484 พ.ศ. 2549 ราชวงศ์โชซ็อน[6] พระราชนัดดา (หลานปู่) ในสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2450) แอนดรูว์ ลี ? ?
เจ้าชายวอน รัชทายาทแห่งเกาหลี พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2548 โอรสบุญธรรมของเจ้าชายโฮอุนแห่งเกาหลี ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2450) อี กวอน พ.ศ. 2541 ?
ราชอาณาจักรลาว เจ้าสุลิวงศ์ สว่าง พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2527
ราชวงศ์ล้านช้าง (ราชวงศ์ขุนลอ) พระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2502 - 2518) เจ้าธัญวงศ์ สว่าง พ.ศ. 2507
มัลดีฟส์ เจ้าชาย มูฮัมหมัด นูร์ อัด-ดิน ? พ.ศ. 2512 ราชวงศ์ฮูรา พระโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซัน นูรัดดีน ที่ 2 (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2478 - 2486) เจ้าชาย อิบราฮิม นูร์ อัด-ดิน ?
แมนจูกัว จิน ยูซาง พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2558 ราชวงศ์ชิง พระภาติยะของจักรพรรดิคังเต๋อ
(ปูยี)
(อยู่ในราชสมบัติระหว่าง 1934 - 1945)
จิน ยู่ฉวน พ.ศ. 2489
มองโกเลีย (ในความปกครองของราชวงศ์ชิง) อ้ายซินเจว๋หลัว เหิงเจิน พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2540 ผู้สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิเต้ากวง (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2393) อ้ายซินเจว๋กัวโร จินซิง พ.ศ. 2520
อาณาจักรพม่า (ราชวงศ์อลองพญา) ตอ พญา มยัต จี พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2562 ราชวงศ์อลองพญา พระปนัดดาของพระเจ้าสีป่อ (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2428) หม่อง อ่อง คีน พ.ศ. 2507
ราชอาณาจักรเนปาล สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2551 ราชวงศ์ศาห์ กษัตริย์แห่งเนปาลระหว่าง พ.ศ. 2544 - 2551 (ประเทศเนปาลเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบสาธารณรัฐ) มกุฎราชกุมารปาราสวีรวิกรมศาหเทวะ พ.ศ. 2514
รัฐสุลต่านกูไอติ กาหลิบที่ 2 พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2510 ราชวงศ์อัล-กูไอติ สุลต่านกูไอติระหว่าง พ.ศ. 2509 - 2510 เจ้าชายซาเลห์ บิน กาหลิบ อัล-กูไอติ 1977
ราชอาณาจักรริวกิว โช มาโมรุ พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์โช สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโชไท (ครองราชย์ ค.ศ. 1848-1879) Takeshi Shō ? ?
รัฐซาราวัก ลอเรนซ์ นิโคลัส บรูค พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2560 ตระกูลบรูค สืบเชื้อสายจากชาร์ล ไวเนอร์ บรูค (รายาผิวขาวแห่งซาราวักระหว่าง พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2489) เจสัน บรูค พ.ศ. 2528
ดินแดนสิงคโปร์ เติงกู ซรี อินทรา ? พ.ศ. 2539 ? ผู้สืบเชื้อสายจากสุลต่านอาลีแห่งยะโฮร์ (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง 1835-1877) ? ? ?
รัฐสุลต่านซูลู จามาลุล คีรัม ที่ 3 พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2529 ราชวงศ์คีรัม นัดดา (หลานปู่) ในสุลต่านจามาลุล คีรัม ที่ 1 (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2427 - พ.ศ. 2442) โรดินูด จูลาสพิ คีรัม ?
ราชรัฐสวัต ? เมียนกุล ออรังเซบ พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2530 ตระกูลเมียนกุล บุตรของเมียนกุล จาฮาน เซบ (ปกครองระหว่าง พ.ศ. 2492 - 2512) เมียนกุล อัดนาน ออรังเซบ พ.ศ. 2495 ?
ทิเบต เทนซิน เกียตโซ, ทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่[7] พ.ศ. 2478 พ.ศ. 2483 ทะไลลามะนับตั้งแต่ พ.ศ. 2483
จักรวรรดิออตโตมัน ฮารูน ออสมัน พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2564 ราชวงศ์ออสมัน พระราชปนัดดา (เหลน) ในสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2433 - 2452) ออร์ฮัน ออสมัน พ.ศ. 2506
จักรวรรดิเวียดนาม เจ้าชายบ๋าว เอิน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2560 ราชวงศ์เหงียน โอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2488) เหงียน ฟุก กุ๋ย คัง พ.ศ. 2521 ?
ราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมน อกีล บิน มูฮัมหมัด อัล-บาดร์ พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2539 ราชวงศ์อัล-คาซิมิ โอรสของพระเจ้ามูฮัมหมัด อัล-บาดร์ (อยู่ในราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. 2505 - 2513) มูฮัมหมัด อัล-ฮัสซัน บิน อกีล ?
ราชอาณาจักรล้านนา(นครเชียงใหม่) เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ พ.ศ. 2478 พ.ศ. 2532 ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ราชนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 (พ.ศ. 2454 - 2482) เจ้าพัฒนา ณ เชียงใหม่ ?
นครลำพูน พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2538 ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ราชนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 10 (พ.ศ. 2454 - 2486) พันเอก (พิเศษ) เจ้าวีรพงศ์ ณ ลำพูน ?
นครลำปาง เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง พ.ศ. 2558 ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ เหลน ในเจ้าหลวงพรหมาภิพงษ์ธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง ?
นครน่าน เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2542 ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ นัดดา (หลานตา) ในเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) และราชปนัดดา (เหลนตา) ในเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 (พ.ศ. 2462 - 2474)

ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย

[แก้]
ประเทศ รูป รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ เกิด ปีที่เริ่มอ้างสิทธิ ราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับบูรพกษัตริย์ ผู้สืบทอดลำดับถัดไป เกิด รูป
หมู่เกาะโคโคส จอห์น เซซิล คลูนีส์-รอสส์
(รอสส์ที่ 5)
ค.ศ. 1928 ค.ศ. 1978 ตระกูลคลูนีส์-รอสส์ อ้างตนเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการในช่วงปี ค.ศ. 1944-1978 จอห์น จอร์จ คลูนีย์-รอสส์ ค.ศ. 1957
ราชอาณาจักรฮาวาย เจ้าชายเควนติน คาวานานาโกอา ค.ศ. 1961 ค.ศ. 1998 ราชวงศ์คาวามานาโกอา สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระราชินีนาถลีลีอูโอกาลานี (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1891-1893) คินเควด คาวานานาโกอา ค.ศ. 1996
ราชอาณาจักรฮาวาย โอวานา ซาลาซาร์ ค.ศ. 1953 ค.ศ. 1988 ราชวงศ์เคโออูอา สืบเชื้อสายมาจากคาโลคูโอคาไมอีเล พระเชษฐาในพระเจ้าคาเมฮาเมฮา (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1795-1819) โนอา คาโอคูโอคาไมเล เดกีเล ค.ศ. 1981
ราชอาณาจักรเมารีนิวซีแลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีตูเฮอิเตีย ปากี ค.ศ. 1955 ค.ศ. 2006 ราชวงศ์เมารีนิวซีแลนด์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถเต อาตาอิรันกิคาอาฮูทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของชาวเมารีนิวซีแลนด์(เพียงในนาม)ซึ่งรัฐธรรมนูญนั้นยังไม่รับรอง ปัจจุบัน พำนัก ณ เกาะเหนือซึ่งบางพวกนั้นกำหนดว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำของชาวเมารีส่วนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นผู้นำของชาวอังกฤษ Whatumoana ?

อ้างอิง

[แก้]
  1. จักรพรรดิราชวงศ์ชิงทุกพระองค์ใช่แซ่ว่า "อ้ายซินเจว๋หลัว" ([爱新觉罗, „Àixīnjuéluó“)
  2. [1] Luke Chia-Liu Yuan was born in a palace in Beijing. He was the grandson of Yuan Shikai, China's president from 1912 to 1916. In addition to Jada Yuan of Manhattan, he is survived by a son, Vincent, a nuclear physicist, of New Mexico; and a brother, Yuan Jiaji, who lives in Tianjin, China.
  3. จักรพรรดิในราชวงศ์หมิงทุกพระองค์ใช้แซ่ว่า "จู" (朱, „Zhū“)
  4. Descended from Zhu Yuanzhang, the first Ming-dynasty Emperor (1368-98), the Zhu clan was a big landowner around Changsha in Hunan province, where Zhu was born in 1928 เก็บถาวร 2009-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Zhu Yuanzhang's era name was Hongwu)
  5. ไม่เป็นทางการ
  6. ราชวงศ์ลีเป็นราชวงศ์ของเหล่าผู้สืบเชื้อสายจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรโชซอนและจักรวรรดิเกาหลี
  7. ประมุขฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรอย่างเป็นทางการของทิเบต ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย นับตั้งแต่การเข้ายึดครองทิเบตโดยจีนในปี พ.ศ. 2493

ดูเพิ่ม

[แก้]