เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
พระประมุขแห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี
ดำรงตำแหน่ง31 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน
(43 ปี 149 วัน)
ก่อนหน้าไม่มี
ประสูติ31 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
กรุงเตะราน ประเทศอิหร่าน
พระวรชายายัสมิน อาเตมัด-อามินี
พระราชบุตรเจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี
มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
พระนามเต็ม
ไซรัส เรซา ปาห์ลาวี
ราชวงศ์ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระราชบิดาพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
พระราชมารดาจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี
ลายพระอภิไธย

เจ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (เปอร์เซีย: رضا پهلوی, ปัจจุบันคือ ไซรัส เรซา ปาห์ลาวี, พระราชสมภพ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1960) มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของอิหร่านราชวงศ์ปาห์ลาวี พระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยมายังสหรัฐในปี ค.ศ. 1979 หลังการเกิดการปฏิวัติอิหร่าน และประทับอยู่ที่นั่นตลอดมา[1]

พระราชประวัติ[แก้]

เจ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที 31 ตุลาคม ค.ศ. 1960 พระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี มีพระขนิษฐาและพระอนุชา คือ เจ้าหญิงฟาราห์นาซ, เจ้าชายอาลี เรซา และเจ้าหญิงไลลา และมีพระเชษฐภคินีต่างชนนีคือ เจ้าหญิงชาห์นาซ

พระองค์ออกจากอิหร่านมีมีพระชันษาได้ 17 ปี เพื่อศึกษาในวิทยาลัยวิลเลียมส์แต่พระองค์ต้องออกจากโรงเรียนเนื่องจากปัญหาความวุ่นวายของประเทศอิหร่าน หลังจากการปฏิวัติอิสลามในปี ค.ศ. 1979 ระบอบการปกครองถูกยึดอำนาจ หลังจากนั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็ไม่ได้เสด็จนิวัติกลับไปยังอิหร่านอีกเลย พระองค์ได้สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส[2] พระองค์เคยเป็นอดีตนักบินเครื่องบินเจ็ตของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาประจำการในรัฐเท็กซัส และปฏิบัติหน้าที่ในสงครามอิหร่าน-อิรักในปี ค.ศ. 1980[3]

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

อดีตมกุฎราชกุมารไซรัส เรซา ปาห์ลาวี ได้อภิเษกสมรสกับสุภาพสตรีชาวอิหร่านคือ นางสาวยัสมิน อาเตมัด-อามินี ธิดาของนายอับดุลละห์ อามินี กับนางฟอรุก อัฟเตการี[4] เธอสำเร็จการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน เธอทำงานเป็นทนายสำหรับสำนักกฎหมายเยาวชน และมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้สนับสนุนกฎหมายเยาวชน ทั้งคู่สมรสกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1986 ทั้งสองมีพระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ได้แก่[4]

  1. เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี ประสูติ 3 เมษายน ค.ศ. 1992 พระนามมีความหมายว่า แสง
  2. เจ้าหญิงอีมาน ปาห์ลาวี ประสูติ 12 กันยายน ค.ศ. 1993 พระนามมีความหมายว่า ศรัทธา
  3. เจ้าหญิงฟาราห์ ปาห์ลาวี ประสูติ 17 มกราคม ค.ศ. 2004 พระนามมีความหมายว่า ความสุขและเบิกบานใจ

การสืบราชบัลลังก์[แก้]

เจ้าฟ้าชายไซรัส เรซา ได้ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารในราชวงศ์ปาห์ลาวี เนื่องจากเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี ระบอบกษัตริย์แห่งอิหร่านได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1979 พระองค์ต้องใช้พระนามเป็น นายเรซา ปาห์ลาวี และหลังจากการสวรรคตของชาห์โมฮัมหมัด เรซา ในปี ค.ศ. 1980 พระองค์จึงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ต่อจากพระมารดาในปี ค.ศ. 1981 (พระมารดาอ้างสิทธิแทนเนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) แต่ด้วยพระองค์ทรงมีเพียงพระธิดาสามพระองค์โดยไม่มีพระโอรสเลย ประกอบกับพระอนุชาคือ เจ้าชายอาลี เรซาที่สอง (1966 - 2011) ไม่ทรงเสกสมรสและไม่มีพระโอรสธิดา ดังนั้นลำดับการสืบราชสมบัติจึงตกไปในสายของเจ้าชายอาลี แพทริก ปาห์ลาวี พระโอรสเพียงพระองค์เดียวในเจ้าชายอาลี เรซาที่หนึ่ง พระอนุชาของชาห์โมฮัมหมัด เรซา

พระเกียรติยศ[แก้]

พระราชอิสริยยศ[แก้]

  • เจ้าฟ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (1960–1979)
  • เจ้าฟ้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (อ้างสิทธิ์ 1979-ปัจจุบัน)
  • นายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี (พระนามปัจจุบัน 1979-ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Shah's daughter laid to rest". BBC News. 2001-06-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
  2. record.williams.edu/wp/?p=13293
  3. Middle East News
  4. 4.0 4.1 "การอภิเษกสมรสของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-14. สืบค้นเมื่อ 2011-01-08.
  5. 5.0 5.1 5.2 {{cite web|url=http://www.4dw.net/royalark/Persia/pahlavi3.htm%7Ctitle=4dw.nwet}}
ก่อนหน้า เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน ถัดไป
มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา
มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
(ราชวงศ์ปาห์ลาวี)

(ค.ศ. 19601979)
ตำแหน่งสิ้นสุด
ไม่มี
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อิหร่าน
(ราชวงศ์ปาห์ลาวี)

ปัจจุบัน
เจ้าชายอาลี แพทริก ปาห์ลาวี