พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์
พระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
องค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์[1]
ครองราชย์26 กรกฎาคม 2495 – 18 มิถุนายน 2496 (324 วัน)
ก่อนหน้าพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
ถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
พระราชสมภพ16 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
พระราชวังอับดีน กรุงไคโร ราชอาณาจักรอียิปต์
พระมเหสีโดมินิก ฟรองซ์ ปิการ์ (2519–2542)
พระราชบุตรเจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด
เจ้าหญิงเฟาซียะห์-ลาติฟา แห่งอียิปต์
เจ้าชายฟากห์รุดดินแห่งอียิปต์
ฟุอาดที่ 2
ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี
พระราชบิดาพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
พระราชมารดานาร์รีมาน ซาเดก

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ (อาหรับ: الملك فؤاد الثاني; พระราชสมภพ 16 มกราคม พ.ศ. 2495) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน และองค์อธิปัตย์แห่งนูเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ แห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลีองค์สุดท้าย โดยได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ขณะที่พระองค์มีพระชันษาเพียง 7 เดือน เนื่องจากพระราชบิดา คือ พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงประกาศสละราชสมบัติ

พระราชประวัติ[แก้]

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2495 ณ พระราชวังอับดีน กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ และอดีตสมเด็จพระราชินีนาร์รีมานแห่งอียิปต์ พระองค์มีพระนามาภิไธยเดิม เจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด (أحمد فؤاد‎) พระองค์มีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาคือ เจ้าหญิงเฟริยาลแห่งอียิปต์, เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ และเจ้าหญิงฟาดียะแห่งอียิปต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีพระอนุชาต่างบิดาคือ นายอะกรัม อดัม อาเหม็ด นาจีบ[2]

ขึ้นครองราชย์[แก้]

หลังเกิดความยุ่งยากเกี่ยวกับการปกครองของอียิปต์ เนื่องจากประชาชนเริ่มไม่พอใจในการปกครองของพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ เนื่องจากในช่วงนั้นมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงในเหล่าข้าราชการ บางพวกใช้อำนาจหน้าที่ของตนสร้างความร่ำรวยแก่ตนเอง ขณะที่เหล่าราษฎรอยู่อย่างลำบากยากจน แต่ราชสำนักและเหล่าข้าราชการกลับใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย สร้างความไม่พอใจแก่เหล่าพสกนิกรทั้งหลาย จนวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 กลุ่มขบวนการ Free Officers Movement ภายใต้การนำของมุฮัมมัด นะญีบ และญะมาล อับดุนนาศิร ได้กระทำการรัฐประหารใน พ.ศ. 2495 โดยบังคับให้พระองค์สละราชสมบัติ โดยทันทีทันใดหลังจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าฟารูก ก็ได้มีการยกเจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด พระราชโอรสของพระเจ้าฟารูกที่ยังเป็นทารกอยู่เสด็จขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็น พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์

แต่เนื่องจากพระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ยังทรงพระเยาว์มาก ในรัชสมัยของพระองค์จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ เจ้าชายมูฮัมหมัด อับดุล โมนีม (Prince Muhammad Abdul Moneim) ซึ่งเป็นพระสวามีของเจ้าหญิงเนสลิชาห์แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

โดยพระเจ้าฟารูกทรงคิดว่าหากพระองค์สละราชสมบัติแล้ว อาจจะทำให้กลุ่มนักปฏิวัติและผู้ต่อต้านระบอบราชาธิปไตยภายในประเทศยุติการเคลื่อนไหวและนำความสงบสุขกลับเข้ามาในอียิปต์อีกครั้ง และยังทรงเชื่อว่ายุวกษัตริย์พระองค์น้อยองค์นี้จะสามารถยุติความรุนแรงภายในอียิปต์และซูดานได้ แต่โชคไม่ดีที่สิ่งที่พระเจ้าฟารูกต้องการนั้นไม่เป็นอย่างที่พระองค์หวังไว้เลย

พระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์
– ตำแหน่งในนาม –
พระราชวงศ์แห่งอียิปต์
พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ได้ถูกปลดจากการเป็นยุวกษัตริย์หลังจากที่พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 324 วัน และภายหลังจากการลงจากราชบัลลังก์ ประเทศอียิปต์จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ และพระองค์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และใช้ชีวิตอยู่ที่นั้น

อภิเษกสมรส[แก้]

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ เมื่อเจริญวัยแล้ว พระองค์ได้เริ่มต้นความสัมพันธ์กับนางสาวโดมินิก ฟรองซ์ ปิการ์ (สกุลเดิม โลบ) ธิดาของนายโรเบร์ โลบ และนางปอล มาเดอแลน ปิการ์ โดยได้รู้จักกันครั้งแรกใน พ.ศ. 2519 ครั้งแรกที่พระราชวังโมนาโก โดยต่อมาภายหลังทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2519 ที่กรุงปารีส แม้ว่าพระองค์จะอภิเษกสมรสภายหลังจากที่พระเจ้าฟุอาดที่ 2 พระสวามีลงจากราชบัลลังก์แล้ว แต่พระองค์ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ โดยได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนพระนามเป็น ฟาดิลา

แต่ภายหลังหลังจากการครองคู่กันมาเป็นเวลานานพระราชินีฟาดิลา และพระเจ้าฟุอาดที่ 2 ได้หย่าจากกันใน พ.ศ. 2539 โดยใน พ.ศ. 2542 พระราชินีฟาดิลาได้ดำรงอิสริยยศเป็น เจ้าฟ้าหญิงฟาดิลาแห่งอียิปต์[3] แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ได้แก่[4]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • ฮิสรอยัลไฮนิส เจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด เจ้าชายแห่งซาอิด (16 มกราคม – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)[5]
  • ฮิสมาเจสตี พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)[6]
  • ฮิสรอยัลไฮนิส เจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด ฟารูก (18 มิถุนายน พ.ศ. 2496 – ปัจจุบัน)[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Whiteman, Marjorie Millace; Hackworth, Green Haywood (1963). Digest of International Law (snippet view). Vol. 2. United States Department of State. p. 64. OCLC 79506166. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26. The Egyptian Parliament amended the Constitution by Law 176 of October 16, 1951, to provide that the title of the King should be "King of Egypt and the Sudan" instead of "King of Egypt, Sovereign of Nubia, Sudan, Kordofan, and Darfur".
  2. "Queen Narriman". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  3. Time เก็บถาวร 2010-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Monday, Oct. 17, 1977
  4. EGYPT
  5. Elbendary, Amina (7 – 13 February 2002). "Happy birthday, Your Majesty". Al-Ahram Weekly (572). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. Prince of the Sa'id (Upper Egypt) — Ahmed Fouad's title, the same his father held before assuming the throne... {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. Hofstadter, Dan (1973). Egypt & Nasser. Vol. 1. New York: Facts on File. p. 47. ISBN 9780871962034. After Farouk's abdication, the cabinet of Aly Maher said in a proclamation: "The Council of Ministers proclaims his majesty Ahmed Fuad II as king of Egypt and the Sudan...
  7. Lagnado, Lucette (18 September 2010). "The Lonely King Without a Throne". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. He has a passport from Monaco that identifies him as His Royal Highness Prince Ahmed Fouad Farouk.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ ถัดไป
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
สิ้นสุดระบอบกษัตริย์
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน

ประมุขแห่งอียิปต์
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
โมฮัมเหม็ด นาจีบ
ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์
เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เตาฟิก
ตำแหน่งรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง
(16 มกราคม – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)
เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เตาฟิก
เจ้าชายฟารูก เจ้าชายแห่งซาอิด
ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟารูก

เจ้าชายแห่งซาอิด
(16 มกราคม – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)
เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด
ผู้ดำรงตำแหน่งองค์ปัจจุบัน
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อียิปต์และซูดาน
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ลำดับที่ 1