จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย
จักรพรรดิแห่งเวียดนาม
จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหงียน
ครองราชย์8 มกราคม ค.ศ. 1926 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1945
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ
รัชกาลถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์
ประมุขรัฐแห่งรัฐเวียดนาม
ครองราชย์13 มิถุนายน ค.ศ. 1949 – 26 ตุลาคม ค.ศ. 1955
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
เหงียน วัน ซวน
(ในฐานะรัฐบาลเฉพาะกาล)
ถัดไปโง ดิ่ญ เสี่ยม
(ในฐานะประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม)
ประสูติ22 ตุลาคม ค.ศ. 1913(1913-10-22)
เว้, อินโดจีนฝรั่งเศส
สวรรคต30 กรกฎาคม ค.ศ. 1997(1997-07-30) (83 ปี)
ปารีส, ฝรั่งเศส
ฝังพระศพสุสานปาซี
คู่อภิเษกเหงียน หืว ถิ ลาน
ฟี อั๊ญ
ฮหว่าง เตี๋ยว ลาน
บู่ย หม่ง เดี่ยป
มอนิก โบโด
พระราชบุตรมกุฎราชกุมารบ๋าวล็อง
เจ้าหญิงเฟือง มาย
เจ้าหญิงเฟือง เลียน
เจ้าหญิงเฟือง ซุง
เจ้าชายบ๋าว ทั้ง
เจ้าหญิงเฟือง ถาว
เจ้าหญิงเฟือง มิญ
เจ้าชายบ๋าว เอิน (ประสูติ ค.ศ. 1953)
เจ้าชายบ๋าว ฮหว่าง
เจ้าชายบ๋าว เซิน
เจ้าหญิงเฟือง ตื่อ
ปาทริก เอดเวิร์ด บล็อก
พระนามเต็ม
เหงียน ฟุก หวิญ ถวิ
ราชวงศ์ราชวงศ์เหงียน
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ
พระราชมารดาฮหว่าง ถิ กุ๊ก
ศาสนาโรมันคาทอลิก (ก่อนหน้า พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ควบคู่ ลัทธิขงจื๊อ)
ลายพระอภิไธย
ชื่อภาษาเวียดนาม
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามBảo Đại
ฮ้าน-โนม
ชื่อเกิดเวียดนาม
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือNguyễn Phúc Vĩnh Thụy
ฮ้าน-โนม

จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย (จื๋อโกว๊กหงือ: Bảo Đại, จื๋อโนม: 保大, แปลว่า ผู้เก็บรักษาความยิ่งใหญ่; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1913 - 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1997) พระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13 และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1926 - ค.ศ. 1945 ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอันนัม ในช่วงนี้พระองค์ทรงได้รับความคุ้มครองจากฝรั่งเศสโดยอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 ของเวียดนามในปัจจุบัน พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1932

ญี่ปุ่นได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนนี้ในปี ค.ศ. 1945 และใช้อำนาจการปกครองผ่านจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในช่วงนี้พระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "เวียดนาม" อีกครั้ง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ในเดือนสิงหาคมเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม พระองค์ยังทรงเป็นประมุขรัฐเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนกระทั่ง ค.ศ. 1955 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับฝรั่งเศสเกินไปและประทับอยู่นอกเวียดนามเป็นเวลานานในรัชสมัยของพระองค์ โง ดิ่ญ เสี่ยม นายกรัฐมนตรีได้ขับไล่พระองค์ในการลงประชามติปลดจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ออกจากการเป็นประมุขแห่งรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1955

แม้จะเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าเวียดมินห์หรือโฮจิมินห์เป็นผู้วางรากฐานเอกราชให้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่อย่างไรก็ตาม สแตนลีย์ คาร์โนว์ (Stanley Karnow) ได้โต้แย้งในหนังสือ Vietnam - A History ว่า "ไม่มีอะไรที่ช่วยส่งเสริมขบวนการเวียดมินห์ไปมากกว่าการตัดสินพระทัยสละราชสมบัติกลับไปกลับมาของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ด้วยท่าทีของพระองค์ "อาณัติสวรรค์" จึงถูกส่งมอบให้แก่โฮ โดยเขาได้รับความชอบธรรมที่มีอยู่ในองค์จักรพรรดิมาแต่เดิมในสายตาของชาวเวียดนาม, สแตนลีย์ คาร์โนว์"

ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ[แก้]

เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม
พิธีราชาภิเษกในพระราชวังหลวงแห่งเว้

สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ประสูติในพระยศเจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ถวิ (Nguyễn Phúc Vĩnh Thụy, 阮福永瑞) ณ พระราชวังดวาน-จาง-เวียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเมืองต้องห้ามสีม่วง ซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น ภายหลังพระองค์ได้เปลี่ยนพระนามเป็น เหงียน หวิญ ถวิ (Nguyễn Vĩnh Thụy) พระราชบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ แห่งอันนัม พระมารดาของพระองค์เป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ของพระจักรพรรดิคือ เจ้าหญิงตื่อ กุง ผู้ซึ่งได้เปลี่ยนพระนามเป็น ดวาน ฮวี เมื่อพระนางทรงอภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1913 พระองค์ได้ไต่เต้าเลื่อนตำแหน่งต่าง ๆ ในช่วงหลายปีนี้ซึ่งบ่งบอกได้ว่าพระองค์เป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามี จนกระทั่งพระนางได้เป็นสมเด็จพระพันปีหลวงในปี ค.ศ. 1933 เวียดนามถูกปกครองจากเว้โดยราชวงศ์เหงียนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1802 รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งได้ควบคุมภูมิภาคนี้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ได้แบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คือ รัฐอารักขาตังเกี๋ย, รัฐอารักขาอันนัม และอาณานิคมโคชินไชนา ราชวงศ์เหงียน ยังได้ปกครองอันนัมตามปกติ

เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ถูกส่งไปยังฝรั่งเศส เพื่อศึกษาที่โรงเรียนมัธยมปลายกงดอร์แซ (Lycée Condorcet) และหลังจากนั้นเข้าศึกษาในสถาบันรัฐศึกษาปารีส (Institut d'Études Politiques de Paris) ในปี ค.ศ. 1923 ต่อมาในปี ค.ศ. 1926 พระองค์ทรงครองราชสมบัติหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบิดา ในพระนาม บ๋าว ดั่ย (Bảo Đại "ร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่" หรือ "ผู้เก็บรักษาความยิ่งใหญ่") แต่พระองค์ทรงไม่ได้ขึ้นครองราชย์อย่างเต็มรูปแบบ ทรงต้องกลับไปศึกษาที่ฝรั่งเศส

อภิเษกสมรส[แก้]

ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1934 ณ พระราชวังหลวงแห่งเว้ สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงอภิเษกสมรสกับมารี-เตแรซ เหงียน หืว ถิ ลาน สามัญชนคาทอลิกชาวเวียดนามในตระกูลผู้มั่งมี พระนางทรงเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า "นาม เฟือง" หรือ "น้ำหอมแห่งแดนใต้" ทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่

พระนางทรงได้รับพระราชทานพระยศ "สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเวียดนาม" ในปี ค.ศ. 1945

พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย มีพระมเหสีอีก 4 พระองค์ โดย 3 พระองค์แรกทรงรับเป็นพระมเหสีในระหว่างการอภิเษกสมรสกับพระจักรพรรดินีนาม เฟืองได้แก่

  • เจ้าหญิงฟี อั๊ญ (Phi Ánh) ผู้เป็นพระญาติทางพระราชมารดา ทรงอภิเษกสมรสราวปี ค.ศ. 1935 ที่ฮ่องกง
  • เจ้าหญิงฮหว่าง เตี๋ยว ลาน (Hoàng Tiểu Lan) หรือเจนนี่ วุง (Jenny Woong) สตรีเชื้อสายจีน ทรงอภิเษกสมรสกันในปี ค.ศ. 1946 ที่เมืองไซ่ง่อน มีพระธิดา 1 พระองค์ คือ เจ้าหญิงเฟือง ถาว หรือแกลร์ เฟือง ถาว (Claire Phuong Tao)
  • เจ้าหญิงบู่ย หม่ง เดี่ยป (Bùi Mộng Điệp) อภิเษกสมรสกันในปี ค.ศ. 1955 มีพระโอรส-ธิดารวม 2 พระองค์คือ เจ้าหญิงเฟือง มิญ และเจ้าชายบ๋าว เอิน
  • เจ้าหญิงทาย เฟือง หรือมอนิก โบโด (Monique Baudot) พลเมืองชาวฝรั่งเศส อภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1972 ได้รับพระยศชั้นเจ้าหญิง และเปลี่ยนพระนามเป็นหวิญ ถวิ และได้รับการเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีทาย เฟือง แห่งเวียดนามหลังพระสวามีเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1997

และมีพระสนมลับ 1 พระองค์คือ นักเต้นรำชาวเวียดนามจากฮานอย ชื่อ ลี้ เหละ ห่า (Lý Lệ Hà)

การประกาศเอกราชและการสละราชสมบัติ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1940 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประจวบกับเหตุการณ์ที่กองทัพเยอรมนีบุกฝรั่งเศส กองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส ขณะที่ได้ขับไล่คณะบริหารอาณานิคมของฝรั่งเศส ผู้มีอำนาจในญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองโดยมีระบอบวีชีอยู่เบื้องหลัง

ญี่ปุ่นได้ให้สัญญาว่าจะไม่ก้าวก่ายกิจการของราชการเว้ แต่ใน ค.ศ. 1945 ได้บีบบังคับให้จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงประกาศอิสรภาพต่อฝรั่งเศสและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นในวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ประเทศจึงกลายเป็นจักรวรรดิเวียดนาม ญี่ปุ่นได้มีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เวียดนามคือ เจ้าชายเกื่อง เด๋ ได้เตรียมการที่จะเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่โดยทำการกำจัดจักรพรรดิองค์ปัจจุบันด้วยการสนับสนุนของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 และเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ต้องการปลดปล่อยเวียดนามให้เป็นอิสระ เขาได้รับการรวมกลุ่มโดยสมาคมชาวญี่ปุ่น โฮจิมินห์ได้โน้มน้าวให้พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย สละราชบัลลังก์ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เพื่อเพิ่มพลังอำนาจให้เวียดมินห์ พระองค์ได้เป็น "ที่ปรึกษาสูงสุด" ให้กับเวียดนามเหนือของโฮจิมินห์ในฮานอย ที่ซึ่งเรียกร้องอิสรภาพในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 แต่โดนเพิกถอนจากฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946

กลับคืนสู่พระราชอำนาจและสงครามอินโดจีน[แก้]

ขณะที่เวียดนามได้เข้าสู่สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เสด็จออกจากเวียดนามหลังจากหนึ่งปีในบทบาทเป็นที่ปรึกษา พระองค์พำนักอยู่ทั้งฮ่องกงและจีน แต่ฝรั่งเศสได้ชักชวนให้พระองค์กลับประเทศในปี ค.ศ. 1949 เพื่อให้เป็นประมุขแห่งเวียดนาม (quốc trưởng โกว๊กเจื๋อง) ไม่ใช่ยศพระจักรพรรดิ (Hoàng Đế ฮหว่างเด๊) พระองค์กลับฝรั่งเศสในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม พระองค์ไม่ได้สนพระทัยในกิจการการต่าง ๆ ของประเทศมากนักเมื่อความสนพระทัยส่วนพระองค์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง

ชัยชนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ในจีนในปี ค.ศ. 1949 ได้ปลุกกระแสศรัทธาต่อคอมมิวนิสต์ในเวียดมินห์ สหรัฐอเมริกาได้เสนอการยอมรับแผนทางการทูตให้รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1950 หลังจากที่ชาติคอมมิวนิสต์ให้การยอมรับรัฐบาลของโฮจิมินห์ การปะทุขึ้นของสงครามเกาหลี ในเดือนมิถุนายน ทำให้กองทัพสหรัฐสนับสนุนฝรั่งเศสในสงครามที่อินโดจีน ทำให้พวกต่อต้านคอมมิวนิสต์มีมากกว่าการต่อต้านอาณานิคม แต่การต่อสู้ระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเวียดมินห์ยังคงดำเนินต่อไปและสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1954 สั้นๆหลังจากชัยชนะของเวียดมินห์ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู เกิดการเจรจาสันติภาพในปี ค.ศ. 1954 ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ในการประชุมที่เจนีวา ทำให้มีการแบ่งแยกเวียดนามออกเป็นสองส่วนตามแบบเกาหลีคือ รัฐบาลคอมมิวนิสต์บริหารเวียดนาม "ตอนเหนือ" และรัฐบาลรัฐเวียดนามบริหารเวียดนาม "ตอนใต้" พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เดินทางไปพำนักที่ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีพระยศใหม่คือประมุขแห่งรัฐเวียดนาม ทรงแต่งตั้งนักชาตินิยมคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก คือ โง ดิ่ญ เสี่ยมเป็นนายกรัฐมนตรี

ถูกขับออกจากอำนาจเป็นครั้งที่ 2[แก้]

ในปี ค.ศ. 1955 โง ดิ่ญ เสี่ยมได้จัดการลงประชามติเพื่อขับไล่พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ออกจากราชบัลลังก์และเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐโดยเขาเป็นประธานาธิบดี การรณรงค์ครั้งนี้นำไปสู่การลงประชามติที่ถูกคั่นด้วยการโจมตีเรื่องส่วนพระองค์กับอดีตจักรพรรดิ ผู้สนับสนุนของพระองค์ไม่มีวิธีใดที่จะหักล้างพวกเขาเลย เป็นผลให้มีการรณรงค์ให้พระองค์กลายเป็นสิ่งต้องห้าม 23 ตุลาคม การลงประชามติเป็นที่โจษจันกันอย่างกว้างขวางว่ามีการโกงเกิดขึ้น โดยผลการลงประชามติกลับลงความเห็นว่าร้อยละ 98 ควรเป็นสาธารณรัฐ เมื่อผลการเลือกตั้งถูกเปิดเผยขึ้น ปรากฏว่าผลการเลือกตั้งนั้น ผู้ลงคะแนนออกเสียงให้เป็นสาธารณรัฐมีมากกว่าผู้มีสิทธิลงประชามติ 380,000 คน อันเป็นสัญญาณอย่างชัดเจนว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น

ในปี ค.ศ. 1954 เมื่อพระองค์ถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐเวียดนาม พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งไซ่ง่อน ทว่าด้วยการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยในขณะที่ยังทรงดำรงตำแหน่ง ทำให้พระองค์แทบไม่เหลือทรัพย์สินเงินทองอยู่เลย ทำให้ต้องเร่ขายตำแหน่งนี้ด้วยเงินราคา 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่บรรดามาเฟียในเมืองไซ่ง่อน[1]

พระชนม์ชีพในช่วงลี้ภัย[แก้]

หลุมพระศพของสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ที่สุสานปาซี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1957 ระหว่างเสด็จเยือนแคว้นอาลซัส พระองค์ได้พบกับคริสตียาน บล็อก-การ์เซอนัก (Christiane Bloch-Carcenac) ซึ่งพระองค์ได้มีความสัมพันธ์เป็นเวลาหลายปี ความสัมพันธ์นี้ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสองค์สุดท้าย ปาทริก เอดเวิร์ด บล็อก (Patrick Edward Bloch) ซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในแคว้นอาลซัสในฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1975 ในเวลานั้น พระองค์ได้พำนักอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโมนาโก ซึ่งพระองค์จะประทับและทรงเกษมสำราญอยู่บนเรือยอร์ชส่วนพระองค์ที่เป็นหนึ่งในเรือที่ใหญ่ที่สุดของท่าเรือมอนเตคาร์โล (Monte Carlo) พระองค์ยังได้รับการกล่าวขานว่าพระองค์ยังมีอิทธิพลต่อนักการเมืองในจังหวัดกว๋างจิและจังหวัดเถื่อเทียนเว้มาก รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามเหนือได้ส่งผู้แทนมาฝรั่งเศสหวังให้พระองค์เป็นสมาชิกในรัฐบาลผสม ที่ซึ่งเป็นการรวมตัวใหม่ของเวียดนาม ในการหวังโน้มน้าวใจพระองค์ช่วยการรวมภูมิภาคที่ซึ่งพระองค์มีพระบารมีต่อผู้คนแถบนั้น

จากการพบกันครั้งนี้ พระองค์ได้พูดอย่างเป็นทางการทรงแสดงท่าทีต่อต้านทหารอเมริกันที่เข้ามาในเวียดนามใต้ในช่วง สงครามเวียดนาม พระองค์ทรงวิจารณ์ระบอบการปกครองของประธานาธิบดีเหงียน วัน เถี่ยว ของเวียดนามใต้ พระองค์เรียกร้องให้นักการเมืองทุกคนมีความคิดสร้างอิสระ เป็นกลาง และรักสันติภาพ ซึ่งจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ตึงเครียดในประเทศได้

ในปี ค.ศ. 1982 พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย, หวิญ ถวิ (พระมเหสี) และพระราชวงศ์เวียดนามได้เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา พระราชกรณียกิจของพระองค์คือการกำกับดูแลและประกอบพิธีให้ศีลให้พรแก่ชาวเวียดนามที่นับถือที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาเกาได๋ในแคลิฟอร์เนียและเท็กซัส

ตลอดชีวิตของพระองค์ในทั้งเวียดนามและในฝรั่งเศส พระองค์ยังคงไม่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนชาวเวียดนามในขณะที่พระองค์ถูกมองว่าเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองของลัทธิล่าอาณานิคมฝรั่งเศส จากการที่พระองค์ไร้อำนาจทางการเมืองใด ๆ และให้ความร่วมมือกับฝรั่งเศสและเพื่อแนวคิดการสนับสนุนฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม พระจักรพรรดิได้ทรงชี้แจงไว้ว่า รัชกาลของพระองค์นั้นประสบกับการต่อสู้ระหว่างผู้จงรักภักดีต่อพระองค์และผู้รักชาติกับผู้ที่จงรักภักดีต่อผู้มีอำนาจฝรั่งเศสอยู่เสมอ ท้ายที่สุดแล้วพระราชอำนาจและพระราชทรัพย์ของพระองค์ก็ถูกริบ และพระองค์ก็จำเป็นต้องร่วมมือกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ และก็ต้องเผชิญหน้ากับการประเมินอิทธิพลของประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยม

สวรรคต[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เสด็จสวรรคตที่โรงพยาบาลวาล-เดอ-กรัส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1997 พระบรมศพของพระองค์ได้ฝังที่สุสานปาซี หลังจากพระองค์สวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ คือ มกุฎราชกุมารเหงียน ฟุก บ๋าว ล็อง ได้สืบทอดตำแหน่งพระประมุขของราชวงศ์เหงียน

ในวัฒนธรรมนิยม[แก้]

  • ฮหวิ่ญ อัญ ต๊วน นักแสดงชาวเวียดนาม ได้แสดงเป็นจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในละครเวียดนามปี ค.ศ. 2004 เรื่อง หง่อนเน้นฮหว่างกุง (แท่งเทียนแห่งพระราชวัง)

เหรียญจักรพรรดิบ๋าวดั่ย[แก้]

เหรียญเวียดนามเหรียญสุดท้ายของโลกได้ใช้พระนาม บ๋าว ดั่ย เป็นอักษรจีน เหรียญจักรพรรดิมีอยู่สามประเภท เหรียญที่มีค่าที่สุดมีค่าประมาณ 10 หวัน เหรียญถูกออกใช้ในปี ค.ศ. 1933

พระราชดำรัส[แก้]

  • ในปี ค.ศ. 1945 เมื่อนายพันญี่ปุ่นยึดครองป้อมปราการเว้และบอกพระองค์ว่าเขาได้ (สอดคล้องกับคำสั่งของผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตร) รับรองความปลอดภัยต่อพระราชวังของพระองค์และจะเข้าไปเพื่อจัดการถ้าหากเกิดการรัฐประหารจากกลุ่มเวียดมินห์ พระองค์กลับขับไล่ทหารเหล่านั้นและกล่าวว่า

    ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้ทหารต่างชาติต้องหลั่งเลือดประชาชนของข้าพเจ้า

  • ทรงอธิบายการสละราชสมบัติของพระองค์ว่า

    ข้าพเจ้ายินดีเป็นสามัญชนอย่างเสรีดีกว่าเป็นทาสคนหนึ่งในฐานะจักรพรรดิ

  • เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสพยายามที่จะตอบโต้ความนิยมของโฮจิมินห์และเพิ่มการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาโดยการสร้างรัฐบาลหุ่นเชิดกับพระองค์ พระองค์ตรัสว่า

    สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าวิธีการแก้ปัญหาของบ๋าว ดั่ย เมื่อตัดออกไปแล้ว จะกลายเป็นเพียงแค่วิธีการแก้ปัญหาของฝรั่งเศส

  • ในการปรากฏพระองค์ในปี ค.ศ. 1972 พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงร้องขอให้ชาวเวียดนามปรองดองกันเพื่อประเทศชาติ แถลงว่า

    โอกาสนี้ได้มาเพื่อจุดจบของสงครามฆ่าพี่ฆ่าน้อง เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความปรองดองกัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สงครามเวียดนาม, "แฟนพันธุ์แท้". เกมโชว์ทางช่อง 5: ศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม
(เหงียน)

(พ.ศ. 2469 – 2488)
สละราชบัลลังก์
เหงียน วัน ซวน
ดำรงเป็นประธานาธิบดี

ประมุขแห่งเวียดนาม
(พ.ศ. 2492 – 2498)
โง ดิ่ญ เสี่ยม
สูญเสียพระอิศริยยศ
(สละราชบัลลังก์)

ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์เวียดนาม
(เหงียน)

(พ.ศ. 2488 – 2540)
มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง