เจ้าพรหมาภิพงษธาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพรหมาภิพงษธาดา
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ครองราชย์16 กรกฎาคม พ.ศ. 2416 - 25 มกราคม พ.ศ. 2436[1] (บางตำราว่าถึง พ.ศ. 2429[2])
รัชสมัย20 ปี
ก่อนหน้าเจ้าวรญาณรังษี
ถัดไปเจ้านรนันทไชยชวลิต[1]
เจ้าสุริยะจางวาง (พิพาท)[3]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชเจ้านรนันทไชยชวลิต
เจ้าอุปราชนครลำปาง
ดำรงพระยศพ.ศ. 2406 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2416
ก่อนหน้าเจ้าอุปราชมหาพรหม
ถัดไปเจ้าอุปราชธนัญไชย
เจ้าหลวงเจ้าวรญาณรังษี
พิราลัย10 มีนาคม พ.ศ. 2436
ชายาแม่เจ้าคำหยุย
พระนามเต็ม
เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดา สามันต์วิชิตประเททศราช บริสัษยนาถทิพจักราธิวงศ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สุเสรนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง
พระบุตร
  • เจ้าบุรีรัตน์ (โละ)
  • เจ้าหญิงอินท์ประสงค์
  • เจ้าหญิงทิพยอด
  • เจ้าหญิงกาบคำ
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำปาง
พระบิดาพระเจ้าดวงทิพย์
พระมารดาเจ้าบัวแก้ว
ศาสนาเถรวาท

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา (ไทยถิ่นเหนือ: ) เจ้านครลำปางองค์ที่ 10 ในราชวงศ์ทิพย์จักร ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2416 ถึงปี พ.ศ. 2436 (แต่ในบางตำราว่าถึงปี พ.ศ. 2429)

พระประวัติ[แก้]

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เป็นโอรสในพระเจ้าดวงทิพย์ กับเจ้าบัวแก้ว และเป็นอนุชาของเจ้าอุปราช (มหาพรหม) มีพระนามเดิมว่า เจ้าพรหมวงศ์ ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งพระยาไชยสงคราม ในสมัยเจ้าอุปราชญาณรังษี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าราชวงศ์ในปี พ.ศ. 2399 ครั้นปี พ.ศ. 2406 เจ้าอุปราช (มหาพรหม) พิราลัย เจ้าหลวงวรญาณรังษีได้มอบให้เจ้าราชวงศ์ (พรหมวงศ์) กับเจ้าราชบุตร (ไชยแก้ว) คุมเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าราชวงศ์ (พรหมวงศ์) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่เจ้าอุปราชในครั้งนั้น[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2416 (จ.ศ. 1235) เจ้าอุปราชพรหมวงศ์ ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากเจ้าวรญาณรังษี โดยรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดา สามันต์วิชิตประเททศราช บริสัษยนาถทิพจักราธิวงศ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สุเสรนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง[5]

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา มีชายาคือ แม่เจ้าคำหยุย มีราชโอรสธิดาคือ

  1. เจ้าบุรีรัตน์ (โละ) เจ้าบุรีรัตน์นครลำปาง
  2. เจ้าหญิงอินท์ประสงค์ สมรสกับหม่องป๊อก มีธิดาคือ
    • เจ้าม้วน ณ ลำปาง สมรสกับนายบุญเย็น ณ ลำปาง เป็นมารดาของพลโทจิตรพล ณ ลำปาง
  3. เจ้าหญิงทิพยอด สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เจ้าราชวงศ์นครลำปาง
  4. เจ้าหญิงกาบคำ
    1. เจ้าหญิงอินท์ประสงค์ สมรสกับนายหม่องป๊อก มีธิดาคือ
            - เจ้าม้วน ณ ลำปาง สมรสกับนายบุญเย็น ณ ลำปาง เป็นมารดาของพลตรีจิตรพล ณ ลำปาง
    2. เจ้าหญิงทิพยอด สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เจ้าราชวงศ์นครลำปาง มีโอรส-ธิดาคือ
            - พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) อดีตเจ้าเมืองสงขลา สมรสกับเจ้าหญิงวรรณรา ณ ลำพูน พระธิดาในเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
            - เจ้ายอดแก้ว ณ ลำปาง
            - เจ้าบุตร ณ ลำปาง

ระยะเวลาสิ้นสุดการครองนครลำปาง[แก้]

ระยะเวลาสิ้นสุดการครองนครลำปางของเจ้าพรหมาภิพงษธาดา ถูกกล่าวถึงในพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ของสยาม และของท้องถิ่นแตกต่างกัน โดยแยกได้เป็น 2 ระยะเวลา คือ

ประวัติศาสตร์ของสยาม[แก้]

เอกสารทางประวัติศาสตร์ของสยาม กล่าวถึงเจ้าพรหมาภิพงษธาดาว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2435 เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดาชราภาพลง จึงมอบตราตำแหน่งเจ้านครให้เจ้าราชวงษ์ (แก้วเมืองมา) รักษาและว่าราชการแทนโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริจะตั้งเจ้านครลำปางองค์ใหม่[6] ถึงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2435 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2436) เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดาจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าพรหมาภิพงษธาดา สามาสันวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถโยนรัษฎารักษ์ มเหศักข์เสนานุกูล สมบูรณ์ไวยวุฒิคุณธรรม์ ลำปางคขัณฑสีมาธิบดี จางวางเมืองนครลำปาง และเจ้าอุปราชได้รับสัญญาบัตรตั้งเป็นเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าเมืองนครลำปางสืบแทน[1]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2437) เจ้าพรหมาภิพงษธาดาประชวรด้วยพระอาการไข้ และถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 10 มีนาคมของปีเดียวกัน[7]

เอกสารของท้องถิ่น[แก้]

ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์ ใน ของเก่าเมืองละกอน กล่าวถึงเจ้าพรหมาภิพงษธาดาว่าเมื่อปี พ.ศ. 2429 เป็นปีที่เจ้าพรหมาภิพงษธาดา ถึงแก่พิราลัย ขณะอายุได้ 81 ปี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ประชุมพงศาวดารภาคที่ 3 "เรื่อง พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย"
  1. 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งเจ้าเมืองประเทศราช, เล่ม 9, หน้า 389
  2. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  3. มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
  4. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย", หน้า 120
  5. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย", หน้า 126
  6. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556, หน้า 106 - 110
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวเจ้าประเทศราชถึงแก่พิราลัย (เจ้าพรหมาภิพงษ์ธาดา จางวางเมืองนครลำปาง, เล่ม 11 ตอนที่ 18 วันที่ 29 กรกฎาคม 2436 หน้า 152
  8. มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปางบรรณกิจ. ลำปาง:2555. หน้า 167


ก่อนหน้า เจ้าพรหมาภิพงษธาดา ถัดไป
เจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2435
(บางตำราว่าถึง พ.ศ. 2429))
เจ้านรนันทไชยชวลิต
(บางตำราว่าเจ้าสุริยะจางวาง)