เมาฏินี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมาตินี)
เมาฏินี
คำแปล: มาตุภูมิของข้า
موطني

เพลงชาติของธงของประเทศอิรัก อิรัก
เนื้อร้องอิบรอฮีม ฏูกอน, 1934
ทำนองมุฮัมมัด ฟลัยฟิล, 1934
รับไปใช้1936 (ปาเลสไตน์)
2004 (อิรัก)
ก่อนหน้า"เมาฏินี" (อิรัก)
ตัวอย่างเสียง
เพลงชาติฉบับบรรเลงโดย U.S. Navy Band (สองบท)

"เมาฏินี" (อาหรับ: موطني, แปลตรงตัว'มาตุภูมิของข้า') เป็นเพลงชาติอิรักที่นำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004

ในอดีต เพลงนี้เป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของรัฐปาเลสไตน์ในช่วงกบฏอาหรับปาเลสไตน์ตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง ค.ศ. 1996 หลังประเทศนี้นำเพลงชาติมาใช้อย่างเป็นทางการ[1][2] ถึงแม้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยเพลงชาติอย่างเป็นทางการก็ตาม ชาวปาเลสไตน์หลายคนยังคงรู้สึกภูมิใจและถือเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการที่สอง เพลงนี้ถือเป็นหนึ่งในเพลงชาตินิยมอาหรับ

ประวัติ[แก้]

วงโยธวาทิตสหรัฐเล่นเพลง "เมาฏินี" ใน ค.ศ. 2009

เพลงนี้มีที่มาจากกวีโด่งดังที่แต่งโดยอิบรอฮีม ฏูกอน นักกวีชาวปาเลสไตน์ประมาณ ค.ศ. 1934 และประพันธ์นำนองโดยมุฮัมมัด ฟลัยฟิล นักแต่งเพลงชาวเลบานอน ตอนแรกเพลงนี้ถือเป็นเพลงชาติปาเลสไตน์โดยพฤตินัย ก่อนที่จะแทนที่ด้วย"ฟิดาอี"อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์หลายคนยังคงรู้สึกถึงความเป็นอัตลักษณ์ร่วมกับ "ฟิดาอี" และให้เพลงก่อนหน้าเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการอันที่สอง[3]

ใน ค.ศ. 2004 เพลงนี้ได้รับการรับรองให้ใช้เป็นเพลงชาติอิรักอีกครั้ง ตามคำสั่งของพอล เบรเมอร์[4] เพื่อใช้แทนเพลงเดิมคือเพลงอัรฎุลฟุรอตัยน์ อันเป็นเพลงชาติอิรักในสมัยที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนเรืองอำนาจ[5]

ภูมิหลัง[แก้]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 หลังอิรักกลายเป็นสาธารณรัฐ จึงใช้เพลงชาติ "เมาฏินี" ที่ประพันธ์โดยเลวิส แซนบากา[6] ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเดียวกันกับเพลงชาติอิรักในปัจจุบัน ทั้งสองเพลงนี้เป็นเพลงที่แตกต่างกัน[6] โดยเพลงก่อนหน้ามีแต่เสียงบรรเลง ไม่มีเนื้อร้อง[7][6]

หลังระบอบบะอัษถูกโค่นใน ค.ศ. 2003 จึงมีการใช้ "เมาฏินี" ฉบับเก่าเป้นการชั่วคราว[6] ก่อนแทนที่ด้วย "เมาฏินี" ฉบับปัจจุบันใน ค.ศ. 2004

เนื้อร้อง[แก้]

ภาษาอาหรับ[8][9] ถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน สัทอักษรสากล แปลไทย

كورال:
مَوطِنِي مَوطِنِي
الجلالُ والجمالُ والسَّنَاءُ والبَهَاءُ
في رُبَاكْ في رُبَاكْ
والحياةُ والنجاةُ والهناءُ والرجاءُ
في هواكْ في هواكْ
هلْ أراكْ هلْ أراكْ
𝄇 سالِماً مُنَعَّماً و غانما مكرما 𝄆
هلْ أراكْ في عُلاكْ
تبلُغُ السِّمَاكْ تبلغُ السِّمَاكْ
مَوطِنِي مَوطِنِي

٢
مَوطِنِي مَوطِنِي
الشبابُ لنْ يكِلَّ هَمُّهُ أنْ يستقلَّ[a]
أو يَبيدْ أو يَبيدْ
نَستقي منَ الرَّدَى ولنْ نكونَ للعِدَى
كالعَبيدْ كالعَبيدْ
لا نُريدْ لا نُريدْ
𝄇 ذُلَّنَا المُؤَبَّدا وعَيشَنَا المُنَكَّدا 𝄆[b]
لا نُريدْ بلْ نُعيدْ
مَجدَنا التّليدْ مَجدَنا التّليدْ
مَوطِنِي مَوطِنِي

٣
مَوطِنِي مَوطِنِي
الحُسَامُ و اليَرَاعُ لا الكلامُ والنزاعُ
رَمْزُنا رَمْزُنا
مَجدُنا و عهدُنا وواجبٌ منَ الوَفاء
يهُزُّنا يهُزُّنا
عِزُّنا عِزُّنا
𝄇 غايةٌ تُشَرِّفُ و رايةٌ ترَفرِفُ 𝄆
يا هَنَاكْ في عُلاكْ
قاهِراً عِداكْ قاهِراً عِداكْ
مَوطِنِي مَوطِنِي

I
Mawṭinī mawṭinī
al-Jalālu wa-l-jamālu wa-s-sanāʾu wa-l-bahāʾu
Fī rubāk fī rubāk
Wa-l-ḥayātu wa-n-najātu wal-hanāʾu wa-r-rajāʾu
Fī hawāk fī hawāk
Hal ʾarāk hal ʾarāk
𝄆 Sāliman munaʿʿaman wa-ġāniman mukarraman 𝄇
Hal ʾarāk fī ʿulāk
Tabluġu s-simāk tabluġu s-simāk
Mawṭinī mawṭinī

II
Mawṭinī mawṭinī
Aš-šabābu lan yakilla hammuhu ʾan yastaqilla[a]
ʾAw yabīd, ʾaw yabīd
Nastaqī mina r-radā wa-lan nakūna li-l-ʿidāʾ
Kā-l-ʿabīd, kā-l-ʿabīd
Lā nurīd lā nurīd
𝄆 Ḏullanā l-muʾabbada wa ʿayšanā l-munakkadā 𝄇
Lā nurīd bal nuʿīd
Majdanā t-talīd majdanā t-talīd
Mawṭinī mawṭinī

III
Mawṭinī mawṭinī
Al-ḥusāmu wa-l-yarāʿu lā l-kalāmu wa-n-nizāʿu
Ramzunā ramzunā
Majdunā wa ʿahdunā wa-wājibun mina l-wafāʾ
Yahuzzunā yahuzzunā
ʿIzzunā ʿizzunā
𝄆 Ġāyatun tušarrifu wa rāyatun turafrifu 𝄇
Yā hanāk fī ʿulāk
Qāhiran ʿidāk qāhirān ʿidāk
Mawṭinī mawṭinī

1
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
[æl.d͡ʒæ.læː.lʊ wæ‿l.d͡ʒæ.mæː.lʊ wæ‿s.sæ.næː.ʔʊ wæ‿l.bæ.hæː.ʔʊ]
[fɪː rʊ.bæːk fɪː rʊ.bæːk]
[wæ‿l.ħɑ.jæː.tʊ wæ‿n.næ.d͡ʒæː.tʊ wæ‿l.hæ.næː.ʔʊ wɑ‿r.rɑ.d͡ʒæː.ʔʊ]
[fiː hæ.wæːk fiː hæ.wæːk]
[hæl ʔɑ.rɑːk hæl ʔɑ.rɑːk]
𝄆 [sæː.li.mæn mʊ.nɑʕ.ʕɑ.mæn wɑ ɣæː.ni.mæn mʊ.kɑr.rɑ.mæn] 𝄇
[hæl ʔɑ.rɑːk fiː ʕʊ.læːk]
[tæb.lʊ.ɣu‿s.si.mæːk tæb.lʊ.ɣu‿s.si.mæːk]
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]

2
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
[æʃ.ʃæ.bæː.bʊ læn jæ.kɪl.læ hæm.mʊ.hu ʔæn jæs.tɑ.qɪl.læ][a]
[ʔɑw jæ.biːd ʔɑw jæ.biːd]
[næs.tɑ.qɪː mi.næ‿r.rɑ.dæː wɑ læn næ.kuː.næ lɪ‿l.ʕɪ.dæːʔ]
[kæː‿l.ʕɑ.biːd kæː‿l.ʕɑ.biːd]
[læː nʊ.riːd læː nʊ.riːd]
𝄆 [ðʊl.læ.næː‿l.mu.ʔæb.bæ.dæ wɑ ʕɑj.ʃæ.næː‿l.mʊ.næk.kæ.dæː] 𝄇
[læː nʊ.riːd bæːl nʊ.ʕiːd]
[mæd͡ʒ.dæ.næː‿t.tæ.liːd mæd͡ʒ.dæ.næː‿t.tæ.liːd]
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]

3
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]
[æl.ħʊ.sæː.mʊ wæ‿l.jɑ.rɑː.ʕʊ læː‿l.kæ.læː.mʊ wæ‿n.ni.zɑː.ʕʊ]
[rɑm.zʊ.næː rɑm.zʊ.næː]
[mæd͡ʒ.dʊ.næː wɑ ʕɑh.dʊ.næː wɑ wæː.d͡ʒi.bʊn mi.næ‿l.wɑ.fæːʔ]
[jæ.hʊz.zʊ.næː jæ.hʊz.zʊ.næː]
[ʕɪz.zʊn.næː ʕɪz.zʊn.næː]
𝄆 [ɣɑː.jæ.tʊn tʊ.ʃɑr.rɪ.fu wɑ rɑː.jæ.tʊn tʊ.rɑf.rɪ.fʊ] 𝄇
[jæː hæ.næːk fiː ʕʊ.læːk]
[qɑː.hɪ.rɑn ʕɪ.dæːk qɑː.hɪ.rɑn ʕɪ.dæːk]
[mɑw.tˤɪ.niː mɑw.tˤɪ.niː]


มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
เกียรติศักดิ์ ความงดงาม ความประเสริฐ และความรุ่งโรจน์
ล้วนอยู่ในเนินเขาของท่าน ล้วนอยู่ในเนินเขาของท่าน
ชีวิต การปลดปล่อย ความปีติยินดี และความหวัง
ล้วนอยู่ในท้องนภาท่าน อยู่ในท้องนภาท่าน
ข้าจะเห็นท่านไหมหนอ? ข้าจะเห็นท่านไหมหนอ?
𝄆เห็นซึ่งความปลอดภัย ความอบอุ่น อันแข็งแกร่งและมีเกียรติ𝄇
ข้าจะได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของท่านไหมหนอ?
จงไขว่คว้าให้ถึงเป้าหมาย จงไขว่คว้าให้ถึงเป้าหมายเถิด
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย


มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
เยาวชนจะไม่อ่อนล้า จนกว่าจะได้เอกราช
หรือม้วยมรณา หรือม้วยมรณา
เราจะดื่มจากความตาย และจะไม่เป็นอย่างศัตรูของเรา
เป็นเยี่ยงทาส เป็นเยี่ยงทาส
เราไม่ต้องการ เราไม่ต้องการ
𝄆ทั้งการถูกดูหมิ่นชั่วนิรันดร์ หรือการมีชีวิตที่น่าสังเวช𝄇
เราไม่ต้องการ แต่เราจะนำกลับคืนมา
ซึ่งเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของเรา เกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของเรา
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย


มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย
ดาบและปากกา ไม่ใช่ทั้งการเจรจาและการทะเลาะเบาะแว้ง
แต่เป็นสัญลักษณ์ของเรา แต่เป็นคือสัญลักษณ์ของเรา
เกียรติศักดิ์ สัญญา และหน้าที่แห่งความภักดี
คือสิ่งขับเคลื่อนพวกเรา คือสิ่งขับเคลื่อนพวกเรา
ศักดิ์ศรีของเรา ศักดิ์ศรีของเรา
𝄆คือเหตุอันมีเกียรติ และคือธงชัยที่โบกสะบัด𝄇
โอ ท่านจงคอยดู ความยิ่งใหญ่ของท่านเถิด
ชัยชนะของท่านจงอยู่เหนือเหล่าอริศัตรู
มาตุภูมิของข้า มาตุภูมิของข้าเอย!

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 บางครั้งเขียนเป็น تستَقِلَّ tastaqilla [tæs.tɑ.qɪl.læ],[8] ซึ่งเป็นรูปสรรพนามบุรุษที่สองแทนบุรุษที่สาม
  2. บางครั้งก็ใช้ ذِلُّنَا Ḏillunā [ðɪl.lʊ.næː][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "National Anthems".
  2. "The song that inspired the Arab world: Ibrahim Tuqan and the making of "Mawtini"". Palestinian Journeys. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-29. สืบค้นเมื่อ 2019-02-15.
  3. Wills, Emily Regan (July 2016). "Discourses and Differences: Situating Pro-Palestine Activism in Discursive Context". Theory in Action. 9 (3): 48–71. doi:10.3798/tia.1937-0237.16018.
  4. "Iraq aims to unite with new national anthem, flag". The Daily Star. September 24, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-21. สืบค้นเมื่อ 1 October 2012.
  5. "Iraq - Mawtini". NationalAnthems.me. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Schaffer, Edward; Scotland, Jan; Popp, Reinhard (2017). "Iraq (1958-1965, 2003-2004)". National Anthems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 30, 2017. Immediately after the fall of the Sadam Hussein government in 2003, 'Mawtini' was used again for a brief time as an interim anthem until a new one was adopted. (The title of this anthem is identical to the title of the anthem that replaced it in 2004).{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. Wetzel, Dan (August 24, 2004). "One last chance". Yahoo! Sports. Yahoo!. สืบค้นเมื่อ December 4, 2017. The song is 'My Country.' It is relatively short, contains no words and was composed by a man named Lewis Zanbaka...
  8. 8.0 8.1 نشيد مَوطِني. المدرسة العربية الالكترونية. April 2003.
  9. سمير الرسام - النشيد الوطني العراقي - موطني بحلته الجديدة - الحوار المتمدن. Ahewar. December 18, 2016.
  10. "National Anthem of Iraq - مَوطِنِي (Iraq anthem, 이라크의 국가)". YouTube.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]