กะบามะเจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กะบามะเจ
คำแปล: ตราบโลกแหลกสลาย
ကမ္ဘာမကျေ

เพลงชาติของพม่า
เนื้อร้อง
ทำนองสะหย่าติ่น, 1930
เผยแพร่
  • 1930 (ในฐานะเพลงโดบะหม่า)
  • 1947 (ในฐานะเพลงชาติ)
รับไปใช้
  • 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 (โดยรัฐพม่า)
  • 22 กันยายน ค.ศ. 1947 (โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพพม่า)

กะบามะเจ (ကမ္ဘာမကျေ, [ɡəbà mə t͡ɕè]; แปลว่า ตราบโลกแหลกสลาย) มีชื่อทางการว่า เพลงชาติ[1] (နိုင်ငံတော်သီချင်း) เป็นเพลงชาติของประเทศพม่า

ประวัติ[แก้]

พม่าสมัยก่อนอาณานิคมไม่มีเพลงชาติอย่างเป็นทางการ แต่มีเพลงสรรเสริญพระบารมี หลังการผนวกพม่าเข้ากับบริติชราชใน ค.ศ. 1886 "ก็อดเซฟเดอะคิง" จึงกลายเป็นเพลงชาติของบริติชพม่า[2]: 98 

เพลงนี้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดยสะหย่าติ่น (Saya Tin - สะหย่าเป็นคำเรียกนำหน้านาม หมายถึง อาจารย์ ติ่นเป็นชื่อตัว) เพื่อใช้เป็นเพลงประจำสมาคมเราชาวพม่าเมื่อ ค.ศ. 1930[3] โดยใช้ชื่อเพลงว่า “Dohbama” แปลว่า “พม่าของเรา”[4]

รัฐพม่า รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น ใช้เพลงโดบะหม่าเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1943[5]

ในช่วงประกาศเอกราชพม่า อู้นุถาม U Sein Mya Maung ให้แต่งเพลงชาติสำหรับประเทศที่จะเป็นเอกราช U Sein Mya Maung ใช้เพลงโดบะหม่าเป็นแม่แบบ โดยยังคงทำนองเพลง แต่ดัดแปลงเนื้อร้องบางส่วน[6] เพลงชาตินี้จึงนำมาใช้เป็นเพลงชาติพม่าในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1947[2]: 99 

ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1989 สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (รัฐบาลทหารในเวลานั้น) สั่งให้เปลี่ยนคำว่า ဗမာ (ALA-LC: Bamā) ไปเป็น မြန်မာ (ALA-LC: Mranʻmā) ในเนื้อร้องเพลงชาติ โดยยืนยันว่าคำก่อนหน้าเรียกเฉพาะชาวพม่าเท่านั้น ส่วนคำหลังใช้เรียกตัวแทนทุกชาติพันธุ์[7]

รายงานจากรัฐธรรมนูญพม่า ฉบับ ค.ศ. 2008 เพลงชาติฉบับเต็มต้องประกอบด้วยส่วนเพลงแบบพม่าดั้งเดิมกับเพลงแบบตะวันตก[8]

เนื้อร้อง[แก้]

อักษรพม่า[9] ถอดเป็นอักษรโรมัน ระบบถอดอักษรโรมันของ MLC สัทอักษรสากลตามเสียงร้อง ถ่ายเสียงด้วยอักษรไทย

တရားမျှတ လွတ်လပ်ခြင်းနဲ့မသွေ၊
တို့ပြည်၊ တို့မြေ၊
များလူခပ်သိမ်း၊ ငြိမ်းချမ်းစေဖို့၊
ခွင့်တူညီမျှ၊ ဝါဒဖြူစင်တဲ့ပြည်၊
တို့ပြည်၊ တို့မြေ၊
ပြည်ထောင်စုအမွေ၊ အမြဲတည်တံ့စေ၊
အဓိဋ္ဌာန်ပြုပေ၊ ထိန်းသိမ်းစို့လေ

𝄆 ကမ္ဘာမကျေ၊ မြန်မာပြည်၊[b]
တို့ဘိုးဘွား အမွေစစ်မို့ ချစ်မြတ်နိုးပေ။ 𝄇
ပြည်ထောင်စုကို အသက်ပေးလို့ တို့ကာကွယ်မလေ၊
ဒါတို့ပြည် ဒါတို့မြေ တို့ပိုင်နက်မြေ။
တို့ပြည် တို့မြေ အကျိုးကို ညီညာစွာတို့တစ်တွေ
ထမ်းဆောင်ပါစို့လေ တို့တာဝန်ပေ အဖိုးတန်မြေ။

Tăyá hmyạ tạ lut lap chíng nệ mă đwè
Dọ pyè dọ myè‬
‪Myá lù khap đ‬é‪m nyém‪ jám zè b‪ọ‬
‪Khwịng tù nyì hmyạ wàdạ phyù sìng dẹ pyè
Dọ pyè dọ myè
Pyì dồng zụ ămwè ămyé tì dạm zè
Ădetthàn pyụ bè thén đém zọ lè.

‪𝄆 Găbà mă cè Myămà pyè
Dọ bó bwá ămwè sic mọ chic myat nó bè‬ 𝄇
Pyì dồng zụ gò ăđêk pé lọ dọ kà gwề mălè
Dà dọ pyè dà dọ myè dọ pằng nêk myè
Dọ pyè dọ myè ăcó gò nyì nyà zwà dọ dădwè
Thám xồng bà zọ lè dọ tà wùn bè ăphó tàn myè!

ta.ra: hmya. ta. lwat lap hkrang: nai. ma. swe
tui. prany tui. mre
mya: lu hkap sim: ngrim: hkyam: ce hpo.
hkwang. tu nyi hmya. wada. hpyu cang tai. prany
tui. prany tui. mre
prany htaung cu. a mwi a.mrai: tany tam. ce
a.dhithtan pru. pe htin: sim: cui. le

𝄆 kambha ma. kye / mranma prany /
tui. bhui: bwa: a.mwe cac mui. hkyac mrat nui: pe // 𝄇
prany htaung cu. kui a.sak pe: lui. tui. ka kwai ma.le /
da tui. prany da tui. mre tui. puing nak mre //
tui. prany tui. mre a.kyui: kui nyi nya cwa tui. ta.twe
htam: hcaung pa sui. le tui. ta wan pe a. hpui: tan mre //

[tɪ.já m̥ja̰.ta̰ lʊʔ.laʔ t͡ɕʰɪ́ŋ nɛ̰ mə t̪wè ǀ]
[do̰ pjè ǀ do̰ mjè ǁ]
[mjá lù kʰaʔ.t̪éɪ̯ŋ ɲéɪ̯ɰ̃.d͡ʑán zè βo̰ ǀ]
[kʰwɪ̰ŋ tù.ɲì m̥ja̰ ǀ wà.da̰ (ǀ) pʰjù.sɪ̀ŋ dḛ pjè ǀ]
[do̰ pjè ǀ do̰ mjè ǁ]
[pjì.dàʊ̯ŋ.zṵ ʔə.mwè ʔ(ə.)mjɛ́ tì.da̰ŋ zè]
[ʔ(ə.)deɪ̯ʔ.tʰàn pjṵ βè ǀ tʰéɪ̯ŋ.t̪éɪ̯ŋ zo̰ lè ǁ]

𝄆 [ɡ(ə.)βà mə t͡ɕè ǀ mjə.mà pjè ǀ]
[do̰ βó.bwá (ʔə.)mwè sɪʔ mo̰ t͡ɕʰɪʔ mjaʔ nó βè ǁ] 𝄇
[pjì.dàʊ̯ŋ.zṵ ɡò ʔ(ə.)t̪ɛʔ pé lo̰ do̰ kà ɡwɛ̀ m(ə.)lè ǀ]
[dà do̰ pjè dà do̰ mjè do̰ pàɪ̯ŋ.nɛʔ mjè ǀ]
[do̰ pjè ǀ do̰ mjè ǀ ʔ(ə.)t͡ɕó ɡò ǀ ɲì.ɲà zwà do̰ d(ə.)dwè ǀ]
[tʰán sʰàʊ̯ŋ bà zo̰ lè ǀ do̰ tà.wʊ̀ŋ bè ʔ(ə.)pʰó.tàn mjè ǁ]

ตะยา มยั้ต ต๊ะ ลุ้ต ลั้ต ชิ้น แน่ มะ เตว่
โด้ ปเหย่ โด้ มเหย่
มยา หลู่ คั้ต เต๊ยน์ เญ้ยน์ จ๊าน เส่ โบ
เซ็ย ตู่ หญี่ มยะ หว่าดะ พยู สิ่น เด ปเหย่
โด ปเหย่ โด มเหย่
ปหยี่ เด่าน์ ซู อัมเหว่ อัมเย้ ติ ดัน เสะ
อะเด็ยถ่าน ปยู เบ๊ เท็ยน์ เต็ยน์ โซ เหล่

𝄆กาบ่า มาเจ่ มยาหม่า ปเหย่
โด โบ๊ บว๊า อัมเหว่ สิ โม ชิ มยะ โน้ เบ่𝄇
ปหยี่ เด่าน์ ซู โก่ อะเตะ เป๊ โล โด กะ กแหว่ เมอเหล่
ด่า โด ปเหย่ ด่า โด มเหย่ โด ไป่น์ แด มเหย่
โด ปเหย่ โด มเหย่ เออโจ๊ โก่ หญี่ หญ่า สว่า โด ดะเหว่
ท้าน เส่าน์ บ่า โซ เหล่ โด ต่า หวุ่น เบ่ อะโพ้ ต่าน มเหย่

คำแปล[แก้]

คำแปลต่อไปนี้ถอดความจากคำแปลภาษาอังกฤษในบทความของจอ ซีน ญุน (Kyaw Zin Nyunt) ซึ่งเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ The New Light of Myanmar ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2008[10]

แห่งหนที่ปรากฏทั่วซึ่งความเป็นธรรมและเอกราช
ประเทศของเรา...แผ่นดินของเรา
แห่งหนที่ปรากฏทั่วซึ่งสิทธิอันเท่าเทียมและแนวทางที่ถูกต้อง
นำพาประชาชนไปสู่ชีวิตที่สงบสุข
ประเทศของเรา...แผ่นดินของเรา
ความเป็นสหภาพ อันเป็นมรดกตกทอดสืบมา
เราขอปฏิญาณเพื่อพิทักษ์สิ่งนี้ไว้มั่น ตราบชั่วกัลปาวสาน
ตราบโลกแหลกสลาย แผ่นดินพม่าจงคงอยู่ต่อไป
เรารักและเทิดทูนบ้านเมือง เพราะนี่คือมรดกที่แท้จริงจากบรรพชน
เราจักสละชีพ เพื่อปกป้องสหภาพของเราไว้
นี่คือชาติของเรา แผ่นดินของเรา ซึ่งพวกเราเป็นเจ้าของ
เราจะแบกรับภาระเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและแผ่นดิน
นี่คือหน้าที่ที่เราพึงทำเพื่อแผ่นดินอันทรงคุณค่าแห่งนี้

หมายเหตุ[แก้]

  1. รวม Thakin Ba Thaung, Thakin Thein Maung, Thakin Hla Baw, Thakin Tha Do, Thakin One Pe, Thakin Kyaw Tun Sein และ Thakin Po Ni
  2. ဗမာပြည်၊ ใช้ใน ค.ศ. 1948 ถึง 1989[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Article 5(a), နိုင်ငံတော်သီချင်းဥပဒေ, 2010 (ในภาษาพม่าและอังกฤษ).
  2. 2.0 2.1 မြန်မာ့ စွယ်စုံကျမ်း [Burmese Encyclopedia] (ภาษาพม่า). Vol. 6. Rangoon: Burma Translation Society. pp. 98–99.
  3. "Kaba Ma Kyei" at nationalanthems.info
  4. "The White Umbrella By Patricia Elliot, Prologue by Bertil Lintner (แปลภาษาไทย)". เว็บบอร์ดล้านนาเวิลด์. 26 กุมภาพันธ์ 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2012.
  5. Nippon News, Number 166, Nippon News, No. 166, August 11, 1943 (video) (ภาษาญี่ปุ่น). NHK International Inc. 11 สิงหาคม 1943.
  6. Zaw Aung (Monywa) (2015). "ျမန္မာႏိုင္ငံေတာ္ ကမာၻမေၾက ဦးစိန္ျမေမာင္နဲ႔ ကဗ်ာဆရာႀကီး စိုင္းခမ္းလိတ္ (ဆရာဝန္)" [Myanmar State, Kaba Ma Kyei, U Sein Mya Maung and poet Sai Kham Late (Doctor)]. MoeMaKa Burmese News & Media (ภาษาพม่า).
  7. 7.0 7.1 Exec. Order No. 2/89  (1989; (ในภาษาพม่า)) State Law and Order Restoration Council
  8. Constitution of the Republic of the Union of Myanmar (2008) Chapter 13 State Flag, State Seal, National Anthem and the Capital. Article 439 (a). Page 176. (ในภาษาพม่า)
  9. "ပြည်ထောင်စုမြန်မာနိုင်ငံတော် နိုင်ငံတော်အေးချမ်းသာယာရေးနှင့်ဖွံ့ဖြိုးရေးကောင်စီ နိုင်ငံတော်သီချင်းဥပဒေ (နိုင်ငံတော်အေးချမ်းသာယာရေးနှင့် ဖွံ့ဖြိုးရေးကောင်စီ ဥပဒေအမှတ်၁၀/၂၀၁၀) ၁၃၇၂ ခုနှစ်၊ သီတင်းကျွတ်လဆန်း ၁၃ ရက် (၂၀၁၀ ပြည့်နှစ်၊ အောက်တိုဘာလ ၂၁ ရက်)" (ภาษาพม่า). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2020.
  10. Kyaw Zin Nyunt (30 ธันวาคม 2008). "HAILING THE 61 ANNIVERSARY INDEPENDENCE DAY: It's our country, our land where justice and independence prevail" (PDF). The New Light of Myanmar (ภาษาอังกฤษ). Vol. XVI no. 256. pp. 8–9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]