อักษรไทยฝักขาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรฝักขาม
รายละเอียดอักษรฝักขามในจารึกวัดเชียงมั่น (CM1)
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ, อีสาน และอื่น ๆ
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1400 - 1600[1]
ระบบแม่
ระบบลูกไทน้อย,[1] ไทญ้อ, ไทยนิเทศ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรไทยฝักขาม อักษรฝักขาม หรืออักษรไทยล้านนา[2] เป็นอักษรที่เคยใช้ในล้านนาและภาคอีสานของไทย เชียงตุง และสิบสองปันนา คาดว่าพัฒนาไปจากอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และแพร่หลายเข้าสู่ล้านนาในสมัยพญาลิไท พบจารึกภาษาไทยเขียนด้วยอักษรฝักขามในล้านนาชิ้นแรกคือจารึกวัดพระยืน อายุราว พ.ศ. 1954 ถือว่าเป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในล้านนา และคาดว่าใช้มาจนถึงประมาณ พ.ศ. 2124 จึงเปลี่ยนมาใช้อักษรธรรมล้านนา แทนอักษรชนิดนี้เป็นต้นแบบของอักษรเง่อันในประเทศเวียดนามด้วย

ในทางศาสนา อักษรฝักขามเป็นอักษรที่ใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์เก่า ส่วนอักษรธรรมใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์ใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชขึ้นเสวยราชย์เมือ พ.ศ. 1984 ทรงสนับสนุนนิกายลังกาวงศ์ใหม่ และน่าจะเริ่มมีจารึกด้วยอักษรธรรมในรัชกาลนี้ เมื่อสิ้นรัชกาล กษัตริย์เชียงใหม่องค์ต่อมาให้ประชาชนนับถือศาสนาตามใจชอบ ทำให้ฟื้นฟูนิกายลังกาวงศ์เก่าขึ้นมาอีกและใช้อักษรฝักขามอีกครั้ง จนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2000 นิกายลังกาวงศ์ใหม่ฟื้นฟูการเขียนคัมภีร์ทางศาสนาด้วยอักษรธรรมประกอบกับเป็นช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ล้านนาจึงใช้อักษรธรรมเป็นหลักเรื่อยมา ในสมัยพระเจ้ากาวิละพยายามฟื้นฟูอักษรฝักขามขึ้นอีกแต่ไม่สำเร็จ

รูปพยัญชนะ[แก้]

อักษรฝักขามมีพยัญชนะ 41 ตัว, สระ 22 ตัว, ตัวเลข 10 ตัว และเครื่องหมายเสริมสัทอักษร 6 แบบ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Lorrillard, Michel (Jan 2004). "The Diffusion of Lao Scripts. The literary heritage of Laos". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. กรรณิการ์, วิมลเกษม (2527). อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ. บุรินทร์การพิมพ์.
  3. Vimonkasam, Kannika (1981). "Fakkham scripts found in Northern Thai inscriptions". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)