อักษรกันนาดา–เตลูกู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรกันนาดาโบราณ)
อักษรกันนาดา-เตลูกู
จารึกแผ่นทองแดงใน อักษรกันนาดา–เตลูกู
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดกันนาดา
เตลูกู
ตูลู
กงกัณ
สันสกฤต
ช่วงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 7 -14[1][2]
ระบบแม่
ระบบลูกอักษรกันนาดา, อักษรเตลูกู
ระบบพี่น้องปยู
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมียังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรกันนาดา–เตลูกู (หรือ อักษรเตลูกู–กันนาดา) เป็นระบบการเขียนที่ใช้ในอินเดียใต้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างบางส่วน อักษรที่ใช้ในภาษากันนาดาและภาษาเตลูกูยังคงคล้ายกันและเข้าใจร่วมกันได้สูง

ประวัติ[แก้]

ตระกูลภาษาดราวิเดียนมีภาษาประมาณ 73 ภาษา รวมถึงภาษาทมิฬ, กันนาดา, เตลูกู และมลยาฬัม ราชวงศ์สาตวาหนะนำอักษรพราหมีเข้ามายังภูมิภาคที่ปัจจุบันคือบริเวณที่พุดภาษาเตลูกูและกันนาดา อักษร Bhattiprolu ที่ราชวงศ์สาตวาหนะสร้างขึ้น ก่อให้เกิดอักษรกทัมพะ[5][6][7] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 7 ราชวงศ์จาลุกยะตอนต้นและราชวงศ์กทัมพะตอนต้นใช้อักษรกันนาดารูปแบบแรกลงในจารึก ซึ่งมีชื่อว่าอักษรกทัมพะ[8] อักษรกทัมพะพัฒนาเป็นอักษรกันนาดา เมื่อจักรวรรดิจาลุกยะขยายไปถึงพื้นที่ที่พูดภาษาเตลูกู ราชวงศ์นี้จึงตั้งสาขาหนึ่งที่มีชื่อว่าราชวงศ์จาลุกยะตะวันออก ซึ่งภายหลังนำอักษรกันนาดามาใช้ในภาษาเตลูกู ก่อให้เกิดอักษรกันนาดา-เตลูกูที่กินระยะเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 11[1]

ในช่วง ค.ศ. 1100 ถึง 1400 อักษรกันนาดาและอักษรเตลูกูเริ่มแยกออกจากอักษรกันนาดา-เตลูกู ทั้งราชวงศ์สาตวาหนะและราชวงศ์จาลุกยะส่งอิทธิพลต่ออักษรกันนาดาและเตลูกู[9]

เปรียบเทียบ[แก้]

เทียบอักษรเตลูกูและกันนาดา

ตารางข้างล่างแสดงความแตกต่างระหว่างอักษรกันนาดาและอักษรเตลูกูสมัยใหม่

พยัญชนะ[แก้]

กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล
ಕ/క (ka) /ka/ ಖ/ఖ (kha) /kʰa/ ಗ/గ (ga) /ɡa/ ಘ/ఘ (gha) /ɡʱa/ ಙ/ఙ (ṅa) /ŋa/
ಚ/చ (ca) /tʃa/ ಛ/ఛ (cha) /tʃʰa/ ಜ/జ (ja) /dʒa/ ಝ/ఝ (jha) /dʒʱa/ ಞ/ఞ (ña) /ɲa/
ಟ/ట (ṭa) /ʈa/ ಠ/ఠ (ṭha) /ʈʰa/ ಡ/డ (ḍa) /ɖa/ ಢ/ఢ (ḍha) /ɖʱa/ ಣ/ణ (ṇa) /ɳa/
ತ/త (ta) /t̪a/ ಥ/థ (tha) /t̪ʰa/ ದ/ద (da) /d̪a/ ಧ/ధ (dha) /d̪ʱa/ ನ/న (na) /n̪a/
ಪ/ప (pa) /pa/ ಫ/ఫ (pha) /pʰa/ ಬ/బ (ba) /ba/ ಭ/భ (bha) /bʱa/ ಮ/మ (ma) /ma/
ಯ/య (ya) /ja/ ರ/ర (ra) /ɾa/ ಲ/ల (la) /la/ ವ/వ (va) /ʋa/ ಳ/ళ (ḷa) /ɭa/
ಶ/శ (śa) /ʃa/ ಷ/ష (ṣa) /ʂa/ ಸ/స (sa) /sa/ ಹ/హ (ha) /ha/ ಱ/ఱ (ṟa) /ra/

นอกจากนี้ยังมีอักษร ೞ/ఴ (ḻa) ที่เคยใช้แทนเสียง /ɻa/ แต่ปัจจุบันไม่ใช้งาน

สระ[แก้]

สระลอย[แก้]

กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล กันนาดา/เตลูกู (ISO) สัทอักษรสากล
ಅ/అ (a) /a/ ಆ/ఆ (ā) /aː/
ಇ/ఇ (i) /i/ ಈ/ఈ (ī) /iː/
ಉ/ఉ (u) /u/ ಊ/ఊ (ū) /uː/
ಋ/ఋ (r̥) /ɾu/ ೠ/ౠ (r̥̄) /ɾuː/
ಌ/ఌ (l̥) /lu/ ೡ/ౡ (l̥̄) /lu:/
ಎ/ఎ (e) /e/ ಏ/ఏ (ē) /eː/
ಒ/ఒ (o) /o/ ಓ/ఓ (ō) /oː/
ಐ/ఐ (ai) /aj/ ಔ/ఔ (au) /aw/

ตัวเลข[แก้]

หน่วย 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
กันนาดา
เตลูกู

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Diringer, David (1948). Alphabet a key to the history of mankind. p. 381.
  2. Salomon, Richard (1998). Indian Epigraphy. p. 41.
  3. Handbook of Literacy in Akshara Orthography, R. Malatesha Joshi, Catherine McBride(2019),p.29
  4. Salomon 1999, p. 35
  5. The Blackwell Encyclopedia of Writing Systems by Florian Coulmas, p. 228; Salomon (1998), p. 40.
  6. Handbook of Literacy in Akshara Orthography, R. Malatesha Joshi, Catherine McBride(2019),p.29
  7. Salomon 1999, p. 35
  8. "Epigraphical Studies in India - Sanskrit and Dravidian, Scripts used in India, Scripts Abroad". สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  9. "Evolution of Telugu Character Graphs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2013-07-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

จารึกในอักษรกันนาดา-เตลูกู[แก้]

วิวัฒนาการและพัฒนาการของอักษรกันนาดา-เตลูกู[แก้]