อักษรน่าซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรตงปา และ อักษรกีบา
ชนิดและ อักษรพยางค์อักษรภาพ
ภาษาพูดภาษาน่าซี
ช่วงยุคประมาณ พ.ศ. 1543 (ค.ศ. 1000)–ปัจจุบัน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรน่าซีคืออักษรที่ใช้เขียนภาษาน่าซีมีสามแบบได้แก่

อักษรตงปา[แก้]

อักษรตงปาประกอบด้วยสัญญลักษณ์ 1,400 ตัวโดย 90% เป็นพิกโตแกรม ประดิษฐ์โดยกษัตริย์มัวเบา อซอง เมื่อราว พ.ศ. 1800 ใช้ในการอ่านออกเสียงหนังสือทางศาสนาและและการรักษาโรคของหมอผี การใช้ภาษาน่าซีและอักษรตงปาถูกขัดขวางในช่วงที่เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. 2492 และถูกควบคุมเข้มงวดยิ่งขึ้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม พ.ศ. 2503 – 2512 หนังสือจำนวนมากถูกเผาทำลาย ในปัจจุบันมีหมอผีที่ยังอ่านอักษรตงปาได้ราว 60 คน ทั้งหมดอายุมากกว่า 70 ปี ที่อายุน้อยที่สุดคือ 30 ปี

ในการฟื้นฟูอักษรนี้ขึ้นใหม่ ผู้ใช้อักษรนี้ได้ที่มีอายุน้อยจะถูกเชิญให้ไปสอนในโรงเรียน หนังสือพิมพ์ในช่วงพ.ศ. 2530 พิมพ์ด้วยอักษรตงปาและอักษรละติน เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของชาวน่าซี หนังสือมากกว่า 30 เล่มถูกตีพิมพ์ ความพยายามนี้ประสบความสำเร็จมากในช่วงแรกโดยใน พ.ศ. 2525 มีชาวน่าซี 200 คน สามารถอ่านภาษาน่าซีที่เขียนด้วยอักษรละติน และเพิ่มเป็น 1,700 คน เมื่อ พ.ศ. 2528 รัฐบาลจีนค่อยๆเลิกการสอนภาษาน่าซีในราว พ.ศ. 2531 – 2532 ในปัจจุบันเริ่มกลับมาสอนอีกครั้งหนึ่ง

อักษรกีบา[แก้]

อักษรกีบา

อักษรเกอปา (哥巴文) มีโครงสร้างใกล้เคียงกับอักษรจีน ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่มาจากภาษาจีนและคิดขึ้นเอง รวมทั้งสัญลักษณ์จากอักษรตงปา ตัวอย่างหนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้มีน้อยและเข้าใจได้น้อย เขียนในแนวนอนจากซ้ายไปขวา การอ่านออกเสียงไม่แน่นอนขึ้นกับผู้ใช้

อักษรละติน[แก้]

อักษรละตินสำหรับภาษาน่าซี มีพื้นฐานมาจากพินอินของอักษรจีน เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 และปรับปรุงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2527

อ้างอิง[แก้]