อักษรจูร์เชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรจูร์เชน ประดิษฐ์โดย วันยัน ซิยิน เมื่อ พ.ศ. 1663 ใช้เป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 1665 ต้นแบบมาจากอักษรคีตันและอักษรจีน พบอักษรนี้ ในเอกสารและจารึก ของจักรวรรดิจูร์เชน เอกสารสมัยราชวงศ์หมิง และจารึกสมัยราชวงศ์หมิง อายุราวพ.ศ. 1956

ชาวจูร์เชนอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแมนจูเรียมาก่อนพ.ศ. 1600 ในพ.ศ. 1658 ได้ปกครองดินแดนกว้างขวาง ทางภาคเหนือของจีน รวมทั้งเขตของชาวคีตัน และตั้งราชวงศ์จินขึ้น ราชวงศ์จินเสียให้มองโกลเมื่อพ.ศ. 1777 ชาวจูร์เชนเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในนามชาวแมนจู เมื่อเข้าปกครองประเทศจีน ทั้งประเทศ และตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น

ลักษณะ[แก้]

อักษรจูร์เชนมี 720 ตัว เป็นผสมของรูปอักษร ที่แสดงคำและการออกเสียง คำประสมใช้อักษร 2 ตัวขึ้นไปประสมกัน

ใช้เขียน[แก้]

  • ภาษาจูร์เชน/แมนจู มีชาวแมนจู 9 ล้านคนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แต่มีผู้พูดภาษาแมนจูเพียง 70 – 1,000 คน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนกลาง ในซินเกียงทางตะวันตกของจีน มีชาวซิโบราว 27,000 คน พูดภาษาใกล้เคียงกับภาษาแมนจู ชาวซิโบอพยพเข้าสู่ซินเกียงเมื่อราว พ.ศ. 2307

อ้างอิง[แก้]