อักษรลายตัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรญ้อ)
อักษรลายตัย
ศัพท์ "ไทญ้อ" เขียนด้วยอักษรลายตัย
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดภาษาญ้อ
ช่วงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16[1] – ปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบพี่น้องสุโขทัย, ขอมไทย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรลายตัย หรือ อักษรท้ายลายตัย (เวียดนาม: Chữ Thái Lai Tay) เป็นระบบการเขียนของชาวไทญ้อในจังหวัดเหงะอาน ประเทศเวียดนาม[2] ที่ใช้เขียนภาษาญ้อ รูปร่างคล้ายอักษรไทยฝักขามที่เคยใช้ในล้านนา

ชื่อ[แก้]

อักษรนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น อักษรญ้อลายตัย,[3] อักษรเหงะอาน, อักษรไทญ้อ, อักษรท้ายลายตัย, อักษรกวี่เจิว[4]

ต้นกำเนิด[แก้]

เบื้องต้นมีแชล แฟร์ลุส (Michel Ferlus) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสจัดให้อักษรลายตัยอยู่ในกลุ่มอักษรเขมร โดยแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือ อักษรสุโขทัยและฝักขาม (ซึ่งพัฒนาไปเป็นอักษรไทยและลาว) และอีกกลุ่มคือ อักษรไทเวียด ลายตัย และลายปาว ของชาวไทในเวียดนาม[4] แฟร์ลุสกล่าวอีกว่าชาวไทรับรูปแบบอักษรเขมรทั้งหมดไปใช้โดยขาดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ในเวลาต่อมาเมื่อชาวไทกระจายทั่วภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์ พวกเขาก็ยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมของอักษรเขมรยุคก่อนพระนครไว้ได้ หากแต่ไม่มีการเรียงลำดับอักษร หรือการใช้ตัวเลข[4] อย่างไรก็ตาม ชาวไทในเวียดนามมีอักษรใช้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศวรรษที่ 16 เป็นต้นมา[1]

รูปลักษณ์[แก้]

อักษรลายตัยมี 29 พยัญชนะ โดยมี 8 ตัวที่สามารถพบในตำแหน่งท้ายพยางค์ และมีสัญลักษณ์สระ 13 แบบ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งใต้พยัญชนะ หรือบางส่วนตั้งอยู่ทางขวาของพยัญชนะ[4][3] อักษรลายตัยยังคงเป็นอักษรสระประกอบแท้ และพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระจะออกเสียงด้วยสระลดรูป <o>, [ɔ] ซึ่งต่างจากระบบการเขียนอักษรไทอื่น ๆ[3] อักษรนี้ยังมีตัวแฝดสำหรับสระและตัวผสมพยัญชนะท้ายอีก 9 ตัว[3]

อักษรนี้เขียนจากบนลงล่างและจากขวาไปซ้าย แบบเดียวกับอักษรจีน เพราะชาวไทเหล่านี้เคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาของตนมาก่อนที่จะรับรูปแบบการเขียนอักษรฝักขามจากล้านนาและลาว

อักษรลายตัยไม่มีวรรณยุกต์ ส่วนใหญ่มักเขียนโดยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน แต่อาจพบในเอกสารตัวเขียนบางอันที่มีเครื่องหมายวรรคตอนเหมือนกับของจีน อักษรนี้ไม่มีตัวเลข โดยจะเขียนตัวเลขเป็นรูปตัวอักษร[3]

การใช้งาน[แก้]

ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้งานอักษรนี้แล้ว แต่มีเอกสารตัวเขียนมากพอที่จะให้นักภาษาศาสตร์ศึกษาได้ นักวิชาการไทญ้อที่มีอายุมากบางคนสามารถอ่านเอกสารเหล่านี้ได้[4] ชุมชนไทญ้อในปัจจุบันมีการสอนและศึกษาอักษรนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นและบรรดาครู[3]

ยูนิโคด[แก้]

ทางยูนิโคดเสนอให้ลงรหัสอักษรนี้ลงไป[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Mukdawijitra, Yukti. "LANGUAGE IDEOLOGIES OF ETHNIC ORTHOGRAPHY IN A MULTILINGUAL STATE: THE CASE OF ETHNIC THÁI ORTHOGRAPHIES IN VIETNAM" (PDF). p. 95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 มกราคม 2023.
  2. Sầm Công Danh (2020). "Summarized version of Tai Yo script (updated)". Academia.edu. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Nguyen, Viet Khoi; Sam, Cong Danh; van de Kasteelen, Frank (13 กรกฎาคม 2022). "Preliminary Proposal to encode the Yo Lai Tay Script" (PDF). สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Ferlus, Michel (กันยายน 1999). "Sur l'ancienneté des écritures thai d'origine indo-khmère".

บรรณานุกรม[แก้]

  • ประเสริฐ ณ นคร (2006). ตัวอักษรไทเหนือและไทอาหม. อักษร ภาษา จารึก วรรณกรรม. กทม.: มติชน. p. 66. ISBN 974-323-588-4.