มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
ละติน: Universitas Columbiae
ชื่อเดิมKing's College
(1754–1784)
Columbia College
(1784–1896)[1]: 53–60 
คติพจน์In lumine Tuo videbimus lumen  (ละติน)
คติพจน์อังกฤษ
"In Thy light shall we see light"[2]
ประเภทRoyal college (1754–1776)
เอกชน มหาวิทยาลัยวิจัย (1776–ปัจจุบัน)
สถาปนา25 พฤษภาคม 1754; 269 ปีก่อน (1754-05-25)
ได้รับการรับรองMSCHE
สังกัดวิชาการ
ทุนทรัพย์$14.35 พันล้าน (2021)[3]
ประธานLee Bollinger
ผู้เป็นประธานMary Cunningham Boyce
อาจารย์4,370[4]
ผู้ศึกษา33,413 (ฤดูใบไม้ร่วง 2019)[5]
ปริญญาตรี6,398 (ฤดูใบไม้ร่วง 2019)[n 1][5]
บัณฑิตศึกษา24,412 (ฤดูใบไม้ร่วง 2019)[5]
ที่ตั้ง, ,
สหรัฐ

40°48′27″N 73°57′43″W / 40.80750°N 73.96194°W / 40.80750; -73.96194พิกัดภูมิศาสตร์: 40°48′27″N 73°57′43″W / 40.80750°N 73.96194°W / 40.80750; -73.96194
วิทยาเขตเมืองใหญ่, 299 เอเคอร์ (1.21 ตารางกิโลเมตร)
หนังสือพิมพ์Columbia Daily Spectator
สีฟ้าโคลัมเบีย และ ขาว[8]
         
ฉายาไลออนส์
เครือข่ายกีฬา
มาสคอต
Roar-ee the Lion
เว็บไซต์columbia.edu
Alma Mater

มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University in the City of New York) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์กในส่วนของชุมชนมอร์นิงไซด์บริเวณส่วนเหนือของเกาะแมนแฮตตัน ก่อตั้งก่อนการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) ในชื่อของ วิทยาลัยคิงส์ (King's College) โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ ภายหลังสหรัฐอเมริกาปฏิวัติ โคลัมเบียได้รับการสนับสนุนในฐานะเอกลักษณ์ทางปรัชญาของรัฐตั้งแต่ปี 2327 - 2330

ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 102 ท่าน ถือว่ามากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก (Fortune Global 500) จำนวน 45 ท่าน และมีผู้ชนะรางวัลออสการ์ 28 ท่าน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้มอบรางวัลพูลิตเซอร์ แก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลงในสาขาวารสารศาสตร์ เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ซึ่งวิทยาลัยวิชาการหนังสือพิมพ์ของโคลัมเบียนับได้ว่าโดดเด่นมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน

ห้องสมุดButler, จัดให้อยู่หนึ่งในอันดับห้องสมุดที่สวยที่สุดของสหรัฐอเมริกา [9]

โคลัมเบียได้รับความนิยมจากผู้นำประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้นำของสหรัฐอเมริกาอย่าง ทีโอดอร์ รูสเวลต์และแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ทั้งคู่ต่างก็จบการศึกษาจากวิทยาลัยกฎหมายของที่นี่ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ เคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยก่อนจะไปดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หรือแม้แต่บารัก โอบามาและ ไมก์ เกรเวิล ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปี 2008 ก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รวมถึงวุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาคองเกรสอีกจำนวนหนึ่ง

Union Theological Seminary

มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดให้บริการคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม โดยดำเนินรายการด้านมานุษยวิทยาและการเมือง วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาปริญญาโท ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของวิชาพันธุศาสตร์สมัยใหม่ นอกจากนี้ในงานวิจัยเพื่อปรับปรุงการระเบิดในระดับอะตอมที่วิทยาเขตมอนิ่งไซต์ ยังได้ค้นพบการแตกตัวของธาตุยูเรเนียมอีกด้วย สำหรับวรรณกรรมและศิลปศาสตร์ยุคหลังการล่าอาณานิคม ภายหลังศตวรรษที่ 20 ทั้งหมดได้รับการรวบรวมและสามารถพบเห็นได้ภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้

มหาวิทยาลัยโคลัมเบียดำเนินการ่วมกับวิทยาลัยบาร์นาร์ด (Barnard College) , วิทยาลัยครู (Teachers College) และโรงเรียนสอนศาสนา (Union Theological Seminary - UTS) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับวิทยาเขตมอร์นิ่งไซด์ นอกจากนี้ยังเปิดหลักสูตรปริญญาตรีโดยร่วมมือกับโรงเรียนสอนศาสนายิวแห่งอเมริกา (Jewish Theological Seminary of America) และโรงเรียนจูลเลียต (Juilliard School)

Panorama view of the Morningside Heights campus as seen from Butler Library and facing Low Memorial Library.

วิทยาเขต[แก้]

วิทยาเขตมอร์นิ่งไซด์ (Morningside Heights)[แก้]

ห้องสมุดโล เมมโมเรียล

หลักสูตรส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเปิดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตมอร์นิงไซด์แห่งนี้ ภายใต้แนวคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ว่าทุกสาขาวิชาควรเปิดสอนในวิทยาเขตเดียวกัน วิทยาเขตนี้ได้รับการออกโดยศิลปินผู้มีชื่อเสียง ชาร์ลส์ ฟอลเลน แมคคิม, มีด และ ไวท์ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของพวกเขา

Washington Heights

วิทยาเขตนี้มีพื้นที่มากกว่า 6 บล็อกหรือประมาณ 32 เอเคอร์ (132,000 ตารางเมตร) ในย่านมอร์นิงไซด์ ตั้งอยู่ระหว่างฮาร์เล็มและอัปเปอร์เวสต์ไซต์บนเกาะแมนฮัตตันซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของบ้านพักในย่านมอร์นิงไซด์กว่า 7,000 แห่งสำหรับเป็นบ้านพักของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และนักศึกษา ซึ่งประมาณ 20 หอพัก (ทั้งที่เป็นหอพักและดัดแปลง) ตั้งอยู่ภายในวิทยาเขต

ระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีหนังสือมากถึง 9 ล้านเล่ม ห้องสมุดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเอเวอรี่ (Avery Architectural and Fine Arts Library) เป็นห้องสมุดสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ใช่ที่สุดในโลก ห้องสมุดดังกล่าวมีหนังสือรวมกว่า 4 แสนเล่ม ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเป็นหนังสือนอกหลักสูตร และห้ามไม่สามารถยืมได้ จุดเด่นของห้องสมุดสถาปัตยกรรมแห่งนี้คือดัชนีวารสารสถาปัตยกรรมเอเวอรี่ (the Avery Index to Architectural Periodicals) ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลระดับสากลที่สำคัญที่สุดในการอ้างอิงวารสารสถาปัตยกรรมและเรื่องที่เกี่ยวข้องในงานวรรณกรรม ดัชนีวารสารนี้ครอบคลุมรายชื่อวารสารสถาปัตยกรรมตั้งแต่ทศวรรษที่ 194 เป็นต้นมา

Lawrence A. Wien Stadium

อาคารจำนวนมากในวิทยาเขตนี้ได้รับการบันทึกเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ห้องสมุดโล เมมโมเรียล (Low Memorial Library) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย ได้รับการบันทึกด้วยความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม ฟิลอสโซฟี ฮอล (Philosophy Hall) ได้รับการบันทึกในฐานะที่เป็นต้นกำเนิดของวิทยุเอฟเอ็ม เช่นเดียวกับพูพิน ฮอล (Pupin Hall) และบริเวณภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ซึ่งได้รับการบันทึกเป็นจุดเด่นของประเทศ (National Historic Landmark) ซึ่งที่นี่เป็นที่ที่เอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi) ค้นพบการแตกตัวของอะตอมธาตุยูเรเนียมหลังการค้นพบการแตกตัวในระดับอะตอมครั้งแรกในโลกที่ประเทศเดนมาร์กเพียงสิบวัน

วิทยาลัยครู
King's College Hall, 1770

วิทยาเขตอื่นๆ[แก้]

  • สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Health-related schools) ในศูนย์การแพทย์ (Medical Center) บนเนื้อที่ 20 เอเคอร์ติดกับวอชิงตันไฮต์ (Washington Heights)
  • เบเกอร์ฟีล (Baker Field) เนื้อที่ 26 เอเคอร์ ประกอบด้วยสนามกีฬาลอเรนซ์ (the Lawrence A. Wien Stadium)
  • เวสต์แบงก์ แม่น้ำฮัตสัน (the west bank of the Hudson River) พื้นที่ 157 เอเคอร์
  • หอสังเกตการณ์ทางธรณีวิทยา Lamont-Doherty 157 เอเคอร์ใน Palisades นิวยอร์ก
  • ห้องทดลองวิทยาศาสตร์เนวิส 60 เอเคอร์ในไอร์วิงตัน
  • Reid Hall ในปารีสซึ่งเรียนรู้ผ่านระบบดาวเทียม
  • อาร์เดนเฮาส์ในฮาร์ริแมน (The Arden House in Harriman) นิวยอร์ก สำหรับนักศึกษาบริหารธุรกิจโปรแกรมพิเศษ

โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย[แก้]

โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจากความร่วมมือของสถาบันการแพทย์ (Medical Schools) มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell university) เป็นโรงพยาบาลคุณภาพอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 สำหรับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย อ้างอิงจากสำนักข่าวในสหรัฐอเมริกาและผลการจัดอันดับโรงพยาบาลโลกปี 2550 สถาบันการแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นหน่วยงานพันธมิตรกับสถาบันจิตวิทยานิวยอร์ก (New York State Psychiatric Institute) นอกจากนั้นยังเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาล 19 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาและอีก 4 แห่งในต่างประเทศ

Hamilton Hall was occupied by protesting students in 1968

ประวัติ[แก้]

The Gothic Revival Law School building on the Madison Avenue campus

มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐนิวยอร์ก ก่อตั้งในชื่อของวิทยาลัยคิงส์ (King's College) เมื่อพ.ศ. 2297 เก่าแก่เป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกา (ตามวันที่ก่อตั้ง อันดับที่ 5 ตามวันที่ได้รับอนุญาต) ภายหลังการปฏิวัติสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยคิงส์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยโคลัมเบียก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในพ.ศ.ปี 2327 และ 2439 ตามลำดับ โคลัมเบียเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วยสถาบันมากถึง 20 สถาบัน

Earl Hall

วิทยาลัยคิงส์ (King's College) : 2297-2319[แก้]

การพิจารณาจัดตั้งมหาวิทยาลัยในนิวยอร์กเริ่มขึ้นในราวปี 2257 แต่มาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงศตวรรษที่ 176 ในยุคที่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยลและสมาชิกของกลุ่มศาสนาในนิวยอร์ก (ขณะนั้นคือ Church of England ปัจจุบันคือ Episcopal) เริ่มตื่นตัวเมื่อทราบข่าวการก่อตั้งวิทยาลัยนิวเจอร์ซี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน) ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าวิทยาลัยนิวเจอร์ซีก่อตั้งโดยกลุ่มศาสนา new-light Presbyterians ซึ่งมีนิกาย the evangelical Great Awakening สนับสนุน ทั้งยังตั้งอยู่ในท้องที่ ตรงข้ามแม่น้ำฮัตสัน ด้วยเกรงว่านิวยอร์กจะเป็นเมืองด้อยพัฒนาทั้งทานด้านศิลปะและวิทยาการ พวกเขาจึงร่วมกันก่อตั้งสถาบันริมแม่น้ำของพวกเขาในชื่อวิทยาลัยคิงส์ (King's College) มีนายซามูเอล จอห์นสัน (Samuel Johnson) ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก เริ่มเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 17 กรกฎาคม 2297 ในโบสถ์ซึ่งมีนายซามูเอลดูแลเพียงคนเดียวเท่านั้น จากนั้นไม่นาน วันที่ 31 ตุลาคมปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าจอร์ชที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรได้พระราชทานงบสนับสนุนให้แก่วิทยาลัยคิงส์ ต่อมาในปี 2303 วิทยาลัยคิงส์ย้ายไปตั้งในพื้นที่ของตนเองในปาร์คเพลส (Park Place) ใกล้กับศาลากลาง และในปี 2310 วิทยาลัยได้ก่อตั้งสถาบันแพทย์ขึ้นเป็นแห่งแรกโดยเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา

ดร.Samuel Johnson อธิการบดีท่านแรกของวิทยาลัยคิงส์

ข้อมูลมหาวิทยาลัย[แก้]

The Thinker (Le Penseur) ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

การเข้าศึกษา[แก้]

ในปี 2554 วิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia College) มีอัตราการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อทั้งหมด 6.9% จากจำนวนผู้สมัครทั้งหมด กล่าวได้ว่าเข้ายากที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา รองเพียงมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่อัตาราการรับ 6.2% โดยถ้าไม่ดูจำนวนนักศึกษาที่สมัครแบบEarly Decision อัตราการรับนักศึกษาจะตํ่าลงถึง 5.7% (อัตราการรับตํ่าที่สุดในสหรัฐอเมริกาและเท่ากับมหาวิทยาลัยเยลในปีนั้น)

เงินทุนช่วยเหลือ[แก้]

โคลัมเบียเป็นวิทยาลัยแห่งความหลากหลาย ด้วยจำนวนนักเรียนผิวสีมากถึง 49% มากกว่าครึ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับเงินทุนช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย (ได้รับในปี 2554) โดยปกตินักศึกษาจะได้รับเงินทุนช่วยเหลือประมาณ $27,000 ขึ้นไปต่อคน และเงินช่วยเหลืออีกส่วนหนึ่งตั้งแต่ $20,000 ขึ้นไป

วิทยาลัย[แก้]

World Leaders Forum ที่ห้องสมุด Low Memorial

ระดับปริญญาบัณฑิต[แก้]

  • วิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia College - CC)
  • วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (the Fu Foundation School of Engineering and Applied Science - SEAS)
  • วิทยาลัยศึกษาทั่วไป (the School of General Studies - GS) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อหลังจากหยุดพักการเรียนไป 1-2 ปี
  • วิทยาลัยบาร์นาร์ด (Barnard College) ซึ่งเป็นวิทยาลัยสำหรับผู้หญิง

ระดับบัณฑิตศึกษา[แก้]

  • วิทยาลัยกฎหมาย (Columbia Law School) วิทยาลัยกฎหมายชื่อดังของโลก
  • วิทยาลัยธุรกิจ (Columbia Business School - CBS) วิทยาลัยธุรกิจชื่อดังของโลก
  • วิทยาลัยการต่างประเทศและการสาธารณะ (School of International and Public Affairs - SIPA) วิทยาลัยบริหารภาครัฐและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชื่อดังของโลก[10]
  • วิทยาลัยวารสารศาสตร์ (the Graduate School of Journalism - J-School or CJS) โรงเรียนด้านสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงของโลก
  • วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (Columbia's medical school)
  • วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์ (Columbia University School of Nursing)
  • วิทยาลัยสาธารณสุขเมล์แมน (Mailman School of Public Health)
  • วิทยาลัยทันตแพทย์ศาสตร์ (Columbia College of Dental Medicine)
  • วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ (the Graduate School of Architecture, Planning and Preservation - GSAPP)
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (the Graduate School of Arts and Sciences - GSAS)
  • วิทยาลัยศิลปศาสตร์ (the Columbia University School of the Arts - SoA)
  • วิทยาลัยสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Columbia University School of Social Work)
  • วิทยาลัยครู (Teachers College, Columbia University)
  • วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (the Fu Foundation School of Engineering and Applied Science - SEAS)
  • วิทยาลัยศึกษาต่อ (Columbia University's School of Continuing Education) สำหรับบุคคลภายนอก ตั้งแต่หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต, หลักสูตรประกาศนียบัตร, หลักสูตรภาษา, หลักสูตรศึกษาต่อต่างประเทศ, หลักสูตรภาคฤดูร้อน, และหลักสูตรมัธยมปลาย

อันดับโลก[แก้]

Vanamquad

ในปี 2550 ระดับปริญญาบัณฑิต

  • อันดับ 9 ร่วมของโลก (ร่วมกับมหาวิทยาลัยชิคาโก้) โดย U.S. News and World Report (USNWR)
  • อันดับ 7 ของโลก และอันดับ 6 ของอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Jiao Tong University)
  • อันดับ 11 ของโลก และอันดับ 7 ของทวีปอเมริกาเหนือ โดย Times Higher Education (THES)
  • อันดับ 10 ของโลก โดย Newsweek
  • อันดับ 1 ของโลก โดย The Center for Measuring University Performance
  • อันดับ 8 ของอเมริกา โดย the National Research Council
Pupin Hall (right), Riverside Church (left)

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียยังร่วมมือกับเครือข่ายวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (University and College Accountability Network - U-CAN) ของสมาคมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งชาติ (the National Association of Independent Colleges and Universities - NAICU) อีกด้วย

สำหรับวิทยาลัยในระดับบัณฑิตศึกษาของโคลัมเบีย จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดของสหรัฐอเมริกา ด้วยผลการจัดอันดับที่เกือบทั้งหมดอยู่ในกลุ่ม Top10 ของประเทศ

  • อันดับ 1 วิทยาลัยวารสารศาสตร์ (ที่มาของรางวัลพูลิตเซอร์) โดย U.S. News and World Report (USNWR)
  • อันดับ 3 วิทยาลัยครู โดย U.S. News and World Report 2010
  • อันดับ 2 วิทยาลัยการต่างประเทศและการสาธารณะ (สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) และอันดับ 3 (สาขานโยบาย)
  • อันดับ 3 วิทยาลัยสังคมสงเคราะห์ โดย U.S. News and World Report
  • อันดับ 3 วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยนิตยสารด้านสถาปัตยกรรมฉบับพฤศจิกายน 2550
  • อันดับ 5 วิทยาลัยกฎหมาย
  • อันดับ 6 วิทยาลัยสาธารณสุขเมล์แมน
  • อันดับ 9 วิทยาลัยธุรกิจ (อันดับ 2 โดย The Financial Times และอันดับ 6 โดยนิตยสาร Fortune)
  • อันดับ 10 วิทยาลัยแพทย์

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมีศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบลจำนวน 43 ท่าน(ถ้ารวมอาจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลด้วยจำนวน 102 ท่าน ซึ่งเป็นมหาลัยที่มีจำนวนศิษย์เก่าและอาจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุดอันดับ2 ของโลก รองจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่มี 151 ท่าน) ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ จำนวน 126 ท่าน และศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก(Fortune 500 companies)จำนวน 45 ท่าน

  • ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
  • แฟรงกลิน รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นประธานาธิบดีอสหรัฐเมริกาที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด(4สมัย) แนวคิดของเขายังก่อให้เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือ สหประชาชาติ
  • ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
  • บารัก โอบามา ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา
  • วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักธุรกิจและซีอีโอ เป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับสามในปี 2554 และบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก
  • ซามูเอล ร็อบสัน วอลตัน ทายาทผู้ก่อตั้งห้าง Walmart
  • เจมส์ กอร์แมน CEO ของบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ ที่ให้บริการทางการเงินระดับโลก
  • บิล เดอ บลาซิโอ นายกเทศมนตรีของนครนิวยอร์กสมัยปัจจุบัน
  • อีริค การ์เซ็ตติ นายกเทศมนตรีของนครลอสแอนเจลิสสมัยปัจจุบัน
  • เจมส์ แฟรนโก นักแสดงชาวอเมริกัน ผู้กำกับ นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ และศิลปิน
  • โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์ นักแสดงชาวอเมริกัน ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ และนักเขียน
  • แมกกี จิลเลนฮอล นักแสดงชาวอเมริกัน
  • เจค จิลเลินฮาล นักแสดงชาวอเมริกัน
  • จูเลีย สไตลส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
School of Arts

ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • ดร. เสนาะ อูนากูล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรี จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์
  • ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารสหธนาคาร
  • ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง อาจารย์สุรชาติจบปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์
  • นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จบ Master of International Affairs ที่ School of International and Public Affairs (SIPA)
  • สาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ผู้บริหารระดับกลางของแบงค์ชาติ จบปริญญาโทสาขาการเงิน เคยทำงานที่ Bank of America โด่งดังมากในช่วงที่ดูแลการฟื้นฟูสถาบันการเงินยุควิกฤตเศรษฐกิจ
  • ดร. เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน นักเศรษฐศาสตร์เลือดใหม่ของแบงค์ชาติ จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์
  • สงกรานต์ กระจ่างเนตร จบปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ
  • คุณหญิง กนิษฐา วิเชียรเจริญ เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยแม่ชี ร่วมก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และได้รับรางวัลสตรีดีเด่น 1 ใน 10 คนของโลกในโอกาสวันสตรีสากลฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Sacred Souls Award ( 1 ใน 5 คน ) จากสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลดีเด่นในด้านพุทธศาสนาประจำปี 2545
  • กฤษฏิ์ ปัญญาวงศ์ขันติ ทนายความ จบปริญญาโทสาขานิติศาสตร์


St. Paul's Chapel

มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในโลกบันเทิง[แก้]

ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เป็นนักเรียนมัธยมปลายที่โดนแมงมุมกัดในห้องทดลอง ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และต่อมาเป็นฉากที่เขาเข้าเรียนในชั้นเรียนที่โคลัมเบีย โดยภาพยนตร์ก็ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 โดยโคลัมเบียพิกเจอร์ส ภาพยนตร์ได้เสียงตอบรับด้านคำวิจารณ์ที่ดี และยังทำสถิติบ็อกซ์ออฟฟิส โดยเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกในปี 2002 ทำรายได้ 822 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก ไอ้แมงมุม ถือเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก The Dark Knight และยังติดอันดับ 18 ของหนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาล จากความสำเร็จทำให้มีภาคต่อในไอ้แมงมุม2 และไอ้แมงมุม3

Tree-Lighting at College Walk
สกาเล็ต โจแฮนเซ่น กำลังถ่ายภาพยนตร์เรื่อง The Nanny Diaries

ตัวอย่างรายชื่อภาพยนตร์ของอเมริกาที่ถ่ายทำภายในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย[แก้]

  • Enchanted
  • Ghostbusters
  • Ghostbusters II
  • Hitch
  • Malcolm X
  • Mona Lisa Smile
  • The Nanny Diaries
  • New York Minute
  • How to Lose a Guy in 10 Days
  • Premium Rush
  • The Princess Diaries
  • The Pride of the Yankees
  • The Producers: The Movie Musical
  • P.S.
  • The Sisterhood of the Traveling Pants
  • Spider-Man
  • Spider-Man 2
  • Kills Your Darling
Access to Columbia is enhanced by the Columbia University subway station.

รายชื่อละครที่ถ่ายทำภายในมหาวิทยาลัยหรือตัวละคร[แก้]

  • Gossip Girl - ในภาคที่3 แบลร์ วอลดอร์ และเซเรน่า แวนเดอร์ วูดเซน ได้ลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  • How I Met Your Mother - มาร์แชลล์ อีริกสัน เป็นนักศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เท็ด มอสบี้ กลายเป็นอาจารย์ของสถาปัตยกรรมในตอนท้ายของภาคที่4
  • Law & Order - อัยการ เจมี่ รอสส์ เข้าเรียนสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  • Lost - แมทธิว ฟ็อกซ์ และดร. แจ็ค Shephard ของเขา เป็นศิษย์เก่าโคลัมเบีย
  • Secret Garden - คิม จู วอน จบการศึกษาจากโคลัมเบีย
  • What I Like About You- วาเลอรี ไทเลอร์ เป็น ศิษย์เก่า ของ โคลัมเบียและ น้องสาวของเธอ ฮอลลี่ ได้สมัครเข้าเรียนที่โคลัมเบียเช่นเดียวกัน
  • Will & Grace - วิลล์ ทรูแมน และเกรซ แอดเลอร์ ได้พบกันที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Moore, Nathanal Fischer (1846). A Historical Sketch of Columbia. New York, New York: Columbia University Press.
  2. 36:9&src=KJV Psalms 36:9
  3. As of June 30, 2021."Consolidated Financial Statements; June 30, 2021 and 2020" (PDF). finance.columbia.edu. Columbia University. October 20, 2021. p. 25. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ October 21, 2021.
  4. "Full-time Faculty Distribution by School/Division, Fall 2009–2019" (PDF). Office of the Provost. Columbia University. สืบค้นเมื่อ 23 March 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Fall Headcount Enrollment by School, 2009–2018" (PDF). Columbia University Office of Provost. May 23, 2019.
  6. "Columbia University". usnews.com. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2017. สืบค้นเมื่อ July 30, 2021.
  7. "How many students attend Columbia? | Columbia Undergraduate Admissions". undergrad.admissions.columbia.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  8. Columbia University Brand Guide (PDF). December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ August 9, 2018.
  9. Wienerbronner, Danielle (November 9, 2010). "Most Beautiful College Libraries". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ November 22, 2011.
  10. [1][ลิงก์เสีย]Foreign Policy, March/April 2007, pp.62-68.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "n" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="n"/> ที่สอดคล้องกัน