วิชิต ปลั่งศรีสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชิต ปลั่งศรีสกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535—2544)
ไทยรักไทย (2544—2549)
เพื่อไทย (2551—2565)
กล้าธรรม (2565—ปัจจุบัน)

วิชิต ปลั่งศรีสกุล (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494) ประธานยุทธศาสตร์พรรคเศรษฐกิจไทย รองหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย อดีตรองประธานคณะอนุกรรมมาธิการฝ่ายค้าน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะทำงานของพรรคไทยรักไทย และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง และทีมกฎหมายของพรรคไทยรักไทย และทนายความของ ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นเลขาธิการมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย[1] และที่ปรึกษากฎหมายพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

วิชิต ปลั่งศรีสกุล เกิดวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

งานการเมือง[แก้]

วิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ในปี พ.ศ. 2548 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง เช่น กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, เลขานุการคณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคไทยรักไทย, กรรมาธิการการแรงงาน, ประธานอนุกรรมการวิปรัฐบาล ด้านกฎหมายอาญา, กรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค, ประธานอนุกรรมาธิการการแรงงาน ด้านกฎหมายแรงงาน, ประธานอนุกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้อำนวยการโครงการอาสาสมัครที่ปรึกษากฎหมายประจำเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย, เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล), ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร สภาผู้แทนราษฎร

วิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้ทำกิจกรรมในด้านการสาธารณะกุศล และการอบรมให้ความรู้ประชาธิปไตยแก่บุคคลทั่วไปทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดโดยร่วมงานกับคณะผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตยของมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย เคยเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร่วมกับ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ที่เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 วิชิต ปลั่งศรีสกุลได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 79[2]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและย้ายมาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย”
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ฮือฮา! เศรษฐกิจไทยขนดาราลงส.ส. เปิดตัว'เมธี 'อดีตดาราแดงฮาร์ดคอร์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]