อัศวิน วิภูศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัศวิน วิภูศิริ
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม 2556 – 9 ธันวาคม 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
พรรคการเมืองมหาชน (2547–2550)
ชาติไทย (2550—2551)
ชาติไทยพัฒนา (2551–2554)
ประชาธิปัตย์ (2554—ปัจจุบัน)

อัศวิน วิภูศิริ (เกิด: 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการพรรคมหาชน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคชาติไทย อดีตเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ อดีตรองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

นายอัศวิน วิภูศิริ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายศักดิ์ และนางลำดวล วิภูศิริ มีพี่น้อง 5 คน เกิดที่อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร[2] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านสากเหล็ก มัธยมศึกษาจากโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสและหย่า มีบุตร 3 คน หนึ่งในนั้นคือนายชาญวิทย์ วิภูศิริ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชารัฐ

งานการเมือง[แก้]

นายอัศวินเป็นคนสนิทของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 2 ลำดับที่ 1 พรรคชาติไทย[3] ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ย้ายมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 33 พรรคประชาธิปัตย์ จากการทาบทามจากนายไพฑูรย์ แก้วทอง[4] ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกันนี้ยังได้ส่งนายชาญวิทย์ วิภูศิริ บุตรชาย ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 17 ด้วย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายในนายวิชาญ มีนชัยนันท์ จากพรรคเพื่อไทย ไป 3,000 คะแนน

ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12 พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

นายอัศวิน วิภูศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบลัดส่วน กลุ่มที่ 2 ลำดับที่ 1 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. "สายล่อฟ้า 20 07 59". ฟ้าวันใหม่. July 21, 2016. สืบค้นเมื่อ July 20, 2016.
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
  4. "อัศวิน วิภูศิริ"รับ"ไพฑูรย์ แก้วทอง"ทาบซบ ปชป. ชิงพื้นที่พิจิตร
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๕ (จำนวน ๕,๘๒๖ ราย) เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]