หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง9 มกราคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-01-09)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย
รักษาพระองค์
พระที่นั่งอัมพรสถาน 904
ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดส่วนราชการในพระองค์
เอกสารหลัก
  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
เว็บไซต์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นหน่วยงานในหน่วยราชการในพระองค์ระดับกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขา และถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์

รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธีตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน[1] ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ ตลอดจนวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการ และกำกับงานในหน้าที่ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]

ประวัติ[แก้]

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เดิมมีฐานะเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการกองทัพไทย [3]ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สถาปนาเป็น หน่วยทหารรักษาพระองค์ โดยใช้ชื่อว่า หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการยกฐานะหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นนิติบุคคล ระดับกรม สังกัดกระทรวงกลาโหม[5] โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ

ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[6] ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี "หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์" เป็นส่วนราชการในพระองค์[2] โดยโอนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถวายความปลอดภัยมารวมกัน อาทิ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และกรมราชองครักษ์ เดิมสังกัดกระทรวงกลาโหม สำนักนายตำรวจราชสำนักประจำ (สง.นรป.) เดิมเป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[7]

หน่วยงานในสังกัด[แก้]

ยุคสังกัดกระทรวงกลาโหม[แก้]

เครื่องหมายราชการของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมัยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม[8]

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ มีหน่วยงานในสังกัด 4 หน่วยงาน ได้แก่ (แยกส่วนออกมาจากกองทัพไทย)

  • ส่วนบัญชาการ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขาและถวายพระเกียรติสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธีตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน ตลอดจนวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการ และกำกับงานในหน้าที่ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  • สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการ และกำกับดูแลในเรื่องของการประสานสนองตอบความต้องการของผู้บังคับบัญชา ตลอดจนปฏิบัติงานโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสายงานที่เกี่ยวข้อง มีหัวหน้าสำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  • สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการ ตามภารกิจที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมาย ถวายงานในการสนับสนุนพระราชกรณียกิจและพระราชกิจทั้งปวง ตลอดจนควบคุมอำนวยการปฏิบัติเพื่อให้ภารกิจบรรลุผลสำเร็จและเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตรงตามพระราชโองการหรือพระราชประสงค์ มีหัวหน้าสำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  • หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการถวายพระเกียรติ การถวายความปลอดภัย การถวายอารักขา และการปฏิบัติตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในโดยรอบเขตพระราชฐานในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีกองบังคับการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา อำนวยการ ประสานงาน และกำกับดูแลหน่วยขึ้นตรงของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีผู้บัญชาการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ยุคส่วนราชการในพระองค์[แก้]

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้[9]

  • สำนักงานผู้บังคับบัญชาแต่ละหน่วยงาน
  • สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์
  • สำนักงานราชองครักษ์ประจำพระองค์
  • กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  • กองบัญชาการนายตำรวจราชองครักษ์ประจำพระองค์
  • ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยประกาศหน่วยบัญชาการฯ

ผู้บริหาร[แก้]

ผู้บัญชาการ[แก้]

ลำดับที่ รายพระนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 9 มกราคม พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน[10]

รองผู้บัญชาการ[แก้]

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

ลำดับที่ รายพระนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560[11]
1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[12]

ข้าราชการในพระองค์[แก้]

ลำดับที่ รายนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 พลอากาศเอก สุบิน ชิวปรีชา 4 มกราคม พ.ศ. 2554[13] - ไม่ทราบปี[14]
2 พลอากาศเอก ทศพล สง่าเนตร 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[15] - ไม่ทราบปี[16]
3 พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555[17]- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560
1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[18] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2563[19]
4 พลอากาศเอก ชาญชาย เกิดผล 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[18] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2563[19]
5 พลอากาศเอก อำนาจ จีระมณีมัย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[18] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2563[19]
6 พลเอก จักรภพ ภูริเดช 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[18]
7 พลตำรวจเอก อรรถกร ทิพยโสธร 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน [20]
8 พลเรือเอก วีระศักดิ์ อ๊อกกังวาล 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[21] - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2557 เล่ม 131 ตอนที่ 38 ก วันที่ 5 เมษายน 2557 หน้า 1
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชอาณาจักรสยาม ,พระราชภาระหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร[ลิงก์เสีย],http://www.kingdom-siam.org เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตสถาปนาหน่วยทหารเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 เล่ม 130 ตอนที่ 109 ก วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 หน้า 1
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
  7. "สำรวจโครงสร้าง "ราชการในพระองค์" ก่อนปรับโครงสร้างใหม่". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 273) เล่ม 131 ตอนพิเศษ 58 ง วันที่ 25 เมษายน 2557 หน้า 1
  9. พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  12. "พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 309 ง): 1. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  14. "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.อ.สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ อัญเชิญกระเช้าผลไม้พระราชทาน ถวายแด่พระธรรมมงคลญาณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 "พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 309 ง): 2–3. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  19. 19.0 19.1 19.2 "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งข้าราชการในพระองค์และนายทหารราชองครักษ์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 63 ง): 1–2. 18 มีนาคม พ.ศ. 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  20. พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง
  21. โปรดเกล้าฯ 'พล.ร.อ.วีระศักดิ์' เป็น ผบ.สนง.ราชองครักษ์ ประจำพระองค์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยฯ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]