ข้ามไปเนื้อหา

เอสเธอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเธอร์
אֶסְתֵּר
เกิดฮาดาชาห์ (הדסה‎)
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ตำแหน่งราชินีแห่งเปอร์เซียและมีเดีย
คู่สมรสอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เซีย
บิดามารดา
    • อาบีฮาอิล (บิดาผู้ให้กำเนิด)
    • โมรเดคัย (บิดาบุญธรรม)

เอสเธอร์ (อังกฤษ: Esther, /ˈɛstər/; ฮีบรู: אֶסְתֵּר, อักษรโรมัน: 'Estēr; พระนามเดิม ฮาดาชาห์) เป็นวีรสตรีในหนังสือเอสเธอร์ซึ่งมีชื่อตามพระนามของพระองค์ เรื่องราวในหนังสือเอสเธอร์เล่าเรื่องราวที่ อาหสุเอรัสกษัตริย์ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิดตกหลุมรักเอสเธอร์หญิงรูปงามชาวยิวแล้วตั้งให้เป็นราชินี[1] ฮามานขุนนางผู้ใหญ่ของกษัตริย์เปอร์เซียไม่พอใจโมรเดคัยที่เป็นลูกพี่ลูกน้องและผู้อุปถัมป์ของเอสเธอร์เพราะโมรเดคัยไม่ยอมกราบแสดงความเคารพฮามาน ฮามานวางแผนจะให้ชาวยิวทั้งหมดในเปอร์เซียถูกฆ่า จึงทูลโน้มน้าวอาหสุเอรัสให้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้กวาดล้างชาวยิว แต่เอสเธอร์ขัดขวางแผนการของฮามานโดยเปิดเผยแผนของฮามานต่ออาหสุเอรัส อาหสุเอรัสจึงทรงสั่งประหารชีวิตฮามานและออกพระราชกฤษฎีกาใหม่อนุญาตให้ชาวยิวสามารถสังหารศัตรูเพื่อปกป้องตัวเองได้[2]

หนังสือเอสเธอร์ให้คำอธิบายเกี่ยวกับที่มาของธรรมเนียมการฉลองเทศกาลปูริม ซึ่งเฉลิมฉลองในวันเดียวกันกับที่พระราชกฤษฎีกาจากการทูลเสนอของฮามานมีผลบังคับใช้ ซึ่งในวันนั้นชาวยิวได้สังหารศัตรูของพวกเตนหลังแผนการของฮามานถูกเปิดเผย ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1890 นักวิชาการส่วนใหญ่ "เห็นพ้องกันที่จะเห็นว่า[หนังสือ]เอสเธอร์มีฐานะเป็นเรื่องปรัมปราหรือพิธีกรรมที่อิงประวัติศาสตร์" และโดยทั่วไปสรุปว่าเทศกาลปูริมมีต้นกำเนิดมาจากเรื่องปรัมปราหรือเทศกาลของบาบิโลเนียหรือเปอร์เซีย (แม้ยังเป็นที่ถกเถียงว่ามาจากของบาบิโลเนียหรือของเปอร์เซีย)[3][4]

หนังสือเอสเธอร์ปรากฏใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบขนาดสั้นจากคัมภีร์ภาษาฮีบรูไบเบิลในศาสนายูดาห์และคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโปรเตสแตนต์ กับรูปแบบขนาดยาวจากคัมภีร์ภาษากรีกคอยนีในคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโรมันคอทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[5]

พระนาม

[แก้]

ตอนที่เริ่มเล่าถึงพระนางในหนังสือเอสเธอร์ 2:7 ตอนแรกมีการเรียกขานด้วยพระนามภาษาฮีบรูว่า ฮาดาชาห์[6] ซึ่งหมายถึง "ต้นเมอร์เทิล"[7] พระนามนี้ไม่ปรากฏในเอกสารตัวเขียนฉบับภาษากรีกตอนต้น แม้ว่าจะปรากฏในตำรา targumic และน่าจะเพิ่มในตำราฮีบรูเร็วสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เพื่อเน้นความเป็นยิวของวีรสตรี[8] พระนาม "เอสเธอร์" น่าจะมาจากอิชตาร์ พระนามเทพีบาบิโลน หรือจากศัพท์ภาษาเปอร์เซียที่เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำว่า "star" ในภาษาอังกฤษ (เป็นนัยถึงความเชื่อมโยงกับอิชตาร์) แม้ว่านักวิชาการบางส่วนโต้แย้งว่าคำนี้เกี่ยวข้องกับศัพท์ภาษาเปอร์เซียที่แปลว่า "ผู้หญิง" หรือ "ต้นเมอร์เทิล"[9]

เรื่องราว

[แก้]
เอสเธอร์ประณามฮามาน (ค.ศ. 1888) โดย Ernest Normand

ในปีที่สามแห่งรัชสมัยพระเจ้าอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เซีย พระองค์ทรงเนรเทศราชินีวัชทีและสืบหาราชินีองค์ใหม่ เหล่าสาวพรหมจารีผู้งดงามรวมตัวกันที่ฮาเร็มในเมืองป้อมสุสาภายใต้การควบคุมของขันทีเฮกัย[1]

เอสเธอร์ ลูกพี่ลูกน้องของโมรเดคัย เป็นสมาชิกในชุมชนชาวยิวในสมัยเนรเทศที่อ้างว่ามีบรรพบุรุษคือคีช คนเบนยามินผู้ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยจากเยรูซาเลม เธอเป็นบุตรีกำพร้าของลุงโมรเดคัยที่เป็นคนเบนยามินนามอาบีฮาอิล เอสเธอร์ถูกนำตัวไปที่ราชวังตามคำสั่งของกษัตริย์ โดยเฮกัยจัดเครียมให้เธอเพื่อพบกับกษัตริย์ แม้ว่าเธอไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงสุดในฮาเร็ม "ชโลมกายด้วยน้ำมัน...และด้วยเครื่องเทศและเครื่องสำอาง..." เธอยังคงอยู่ใต้คำสั่งจากโมรเดคัยผู้พบเธอทุกวันอย่างเคร่งครัด เพื่อปกปิดต้นกำเนิดชาวยิวของเธอ กษัตริย์ทรงตกหลุมรักเธอและแต่งตั้งเธอเป็นราชินี[1]

หลังเอสเธอร์ขึ้นเป็นราชินี โมรเดคัยรู้แผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาหสุเอรัสของบิกธานและเทเรช โมรเดคัยพูดเรื่องนี้แก่เอสเธอร์ ซึ่งพระนางตรัสเรื่องนี้แก่กษัตริย์ในนามของโมรเดคัย และพระองค์รอดจากเหตุการณ์นี้ เรื่องราวนี้ได้รับการบันทึกในหนังสือพงศาวดารเฉพาะพระพักตร์กษัตริย์

หลังโมรเดคัยช่วยชีวิตกษัตริย์ ฮามานคนอากักได้รับการแต่งตั้งเป็นวิเซียรสูงสุดของอาหสุเอรัส และสั่งให้ทุกคนก้มตัวลงต่อหน้าเขา เมื่อโมรเดคัย (ผู้ยืนประจำอยู่บนถนนเพื่อให้คำแนะนำเอสเธอร์) ไม่ก้มคำนับเขา ฮามานจึงถวายเงิน 10,000 ตะลันท์แก่พระเจ้าอาหสุเอรัส เพื่อขอสิทธิ์ในการกำจัดชาวยิวทั้งหมดในอาณาจักรของพระองค์

ความเป็นประวัติศาสตร์

[แก้]

แม้ว่ารายละเอียดฉากจะดูสมเหตุสมผล และเรื่องราวอาจมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์จริง แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกันว่าหนังสือเอสเธอร์เป็นผลงานนวนิยาย (fiction)[10][a] กษัตริย์เปอร์เซียไม่อภิเษกสมรสกับผู้ที่อยู่นอกตระกูลขุนนางเปอร์เซียทั้ง 7 ตระกูล ทำให้ไม่น่าจะมีเอสเธอร์ ราชินีชาวยิว อยู่ในนั้นด้วย[11][5][b] นอกจากนี้ พระนาม อาหสุเอรัส สามารถแปลเป็น เซิร์กซีส ได้ เนื่องจากทั้งสองพระนามมีต้นตอจากภาษาเปอร์เซียว่า Khshayārsha[12][13] อาหสุเอรัสในหนังสือเอสเธอร์มักระบุในแหล่งข้อมูลสมัยใหม่เพื่ออ้างถึงจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1[14][15] ผู้ครองราชย์เมื่อ 486 ถึง 465 ปีก่อน ค.ศ.[12] เนื่องจากเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในหนังสือเอสเธอร์มีความใกล้เคียงกับกษัตริย์พระองค์นี้มากที่สุด[13][16] อย่างไรก็ตาม การที่ราชินีของเซิร์กซีสที่ 1 คืออาเมสตริส ยิ่งเน้นย้ำถึงความเป็นเรื่องราวสมมติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น[11][5][c]

นักวิชาการบางส่วนคาดการณ์ว่าเรื่องราวนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เหตุผลในการที่ชาวยิวนำเทศกาลที่ไม่ใช่ของชาวยิวมาใช้[17] เทศกาลที่ในหนังสือระบุไว้คือปูริม ซึ่งได้รับการอธิบายว่าหมายถึง "ฉลาก" จากศัพท์บาบิโลนว่า puru ทฤษฎีหนึ่งที่เป็นที่นิยมระบุว่า เทศกาลดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากตำนานหรือพิธีกรรมของชาวบาบิโลนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งโมรเดคัยและเอสเธอร์เป็นตัวแทนเทพเจ้ามาร์ดุกกับอิชตาร์ของบาบิโลน ในขณะที่บางคนสืบย้อนพิธีกรรมนี้ถึงวันปีใหม่เปอร์เซีย และนักวิชาการได้สำรวจทฤษฎีอื่น ๆ ในงานของพวกเขา[18] นักวิชาการบางส่วนได้ปกป้องเรื่องราวนี้ว่าเป็นประวัติศาสตร์จริง[19] แต่ความพยายามในการค้นหาแก่นแท้ทางประวัติศาสตร์ของเรื่องราวนี้ "มีแนวโน้มว่าจะไร้ประโยชน์"[18]

การตีความ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "Today there is general agreement that it is essentially a work of fiction, the purpose of which was to justify the Jewish appropriation of an originally non-Jewish holiday. What is not generally agreed upon is the identity or nature of that non-Jewish festival which came to be appropriated by the Jews as Purim, and whose motifs are recapitulated in disguised form in Esther." (Polish 1999) "The story is fictitious and written to provide an account of the origin of the feast of Purim; the book contains no references to the known historical events of the reign of Xerxes." (Browning 2009) "Although the details of its setting are entirely plausible and the story may even have some basis in actual events, in terms of literary genre the book is not history." (Tucker 2004)
  2. "Xerxes could not have wed a Jewess because this was contrary to the practices of Persian monarchs who married only into one of the seven leading Persian families. History records that Xerxes was married to Amestris, not Vashti or Esther. There is no historical record of a personage known as Esther, or a queen called Vashti or a vizier Haman, or a high placed courtier Mordecai. Mordecai was said to have been among the exiles deported from Jerusalem by Nebuchadnezzar, but that deportation occurred 112 years before Xerxes became king." (Littman 1975:146)
  3. "Xerxes could not have wed a Jewess because this was contrary to the practices of Persian monarchs who married only into one of the seven leading Persian families. History records that Xerxes was married to Amestris, not Vashti or Esther. There is no historical record of a personage known as Esther, or a queen called Vashti or a vizier Haman, or a high placed courtier Mordecai. Mordecai was said to have been among the exiles deported from Jerusalem by Nebuchadnezzar, but that deportation occurred 112 years before Xerxes became king." (Littman 1975:146)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Solle 2006, p. 107.
  2. "Esther 7:2". www.sefaria.org.
  3. Moore, Carey A. (1971). Esther. Doubleday. See section “The Non-Jewish Origins of Purim.” Pages 46-49. “Esther's canonical status may have been opposed by those Jews who saw the book as a defense for a Jewish festival which, as its very name suggests (*the pûr [that is, the lot]", iii 7; see also ix 26), was non-Jewish in origin. Certainly modern scholars have felt the explanation for Purim's name in ix 26 to be strained and unconvincing. Moreover, the ‘secular" character of the feast suggests a pagan origin, that is, no prayers or sacrifices are specified, but drinking to the point of excess is permitted in the Talmud, Megilla 7b… pûrim is a hebraized form of a Babylonian word...Efforts to identify Purim with an earlier Jewish or Greek festival have been neither common nor convincing, and ever since the 1890s, when Heinrich Zimmern and Peter Jensen equated Mordecai and Esther with the Babylonian gods Marduk and Ishtar, and Haman and Vashti with the Elamite gods Humman and Mashti, a Babylonian origin for Purim has been popular. Though scholars like Jensen, Zimmem, Hugo Winckler, Bruno Meissner and others have each picked a different Babylonian myth or festival as the prototype for Purim, namely, the Gilgamesh Epic, the Babylonian Creation Story, the Tammuz-Ishtar Myth, and the Zagmuk Feast, respectively, they all agreed in seeing Esther as a historicized myth or ritual. More recently, however, a Persian origin for Purim has been gaining support among scholars.”
  4. Moore, Carey A. “Esther, Book of,” ed. David Noel Freedman, The Anchor Yale Bible Dictionary (New York: Doubleday, 1992), 637-638 “Certainly a pagan origin for Purim would also help to explain the "secular" way in which it was to be celebrated, i.e., with uninhibited and even inebriated behavior (cf. above Meg. 7b). Then too, a pagan origin for the festival would also help to explain the absence of various religious elements in the story…. But even more recently scholars are again looking to Palestine for the origin of the festival… Its Lack of Historicity: [R]are is the 20th-century scholar who accepts the story at face value.”
  5. 5.0 5.1 5.2 Hahn & Mitch 2019, p. 71.
  6. McKenzie 1995, p. 330.
  7. "H1919 – hăḏasâ". Strong's Hebrew Lexicon (kjv). สืบค้นเมื่อ 2024-01-30 – โดยทาง Blue Letter Bible.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
  8. Macchi 2019, p. 123.
  9. Macchi 2019, p. 141.
  10. Tucker 2004.
  11. 11.0 11.1 Fox 2010, pp. 131–140.
  12. 12.0 12.1 Baumgarten, Albert I.; Sperling, S. David; Sabar, Shalom (2007). Skolnik, Fred; Berenbaum, Michael (บ.ก.). Encyclopaedia Judaica. Vol. 18 (2nd ed.). Farmington Hills, MI: Macmillan Reference. p. 216.
  13. 13.0 13.1 Larkin, Katrina J.A. (1996). Ruth and Esther (Old Testament Guides). Sheffield, UK: Sheffield Academic Press. p. 71.
  14. Crawford, Sidnie White (1998). "Esther". ใน Newsom, Carol A.; Ringe, Sharon H. (บ.ก.). Women's Bible Commentary. Louisville: Westminster John Knox. p. 202.
  15. Middlemas, Jill (2010). Becking, Bob E.J.H.; Grabbe, Lester (บ.ก.). Between Evidence and Ideology. Leiden: Brill. p. 145. ISBN 978-9004187375.
  16. Moore 1971, p. xxxv.
  17. Macchi 2019, p. 40.
  18. 18.0 18.1 Johnson 2005, p. 20.
  19. Kalimi 2023, p. 130.

บรรณานุกรม

[แก้]