อาหสุเอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเธอร์เบื้องพระพักตร์อาหสุเอรัส (ค.ศ. 1547–48), ตินโตเรตโต, งานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวงศ์อังกฤษ

อาหสุเอรัส (อังกฤษ: Ahasuerus, /əˌhæzjuˈɪərəs/ ə-haz-ew-eer-əs; ฮีบรู: אֲחַשְׁוֵרוֹשׁ, ใหม่: ʾAḥašvērōš, ไทบีเรียน: ʾĂẖašwērōš, commonly Achashverosh;[a] กรีกคอยนี: Ἀσουήρος, อักษรโรมัน: Asouḗros ในเซปทัวจินต์; ละติน: Assuerus ในวัลเกต) เป็นพระนามในคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้เรียกกษัตริย์ 3 พระองค์ของเปอร์เซียโบราณและเป็นชื่อที่ใช้เรียกขุนนางของบาบิโลน (หรือกษัตริย์แห่งมีเดีย) ในหนังสือโทบิต ชื่อ "อาหสุเอรัส" เป็นชื่อในภาษาฮีบรูที่อาจแปลมาจากพระนามของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 หรือของอาร์ทาเซอร์ซีส ทั้งสองเป็นพระนามของกษัตริย์เปอร์เซียของราชวงศ์อะคีเมนิด

ศัพทมูล[แก้]

เชื่อกันว่ารูปคำภาษาฮีบรูของ "อาหสุเอรัส" มาจากพระนามในภาษาเปอร์เซียโบราณของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1, Xšayāršā (< xšaya 'กษัตริย์' + aršan 'ชาย' > 'กษัตริย์ของชายทั้งปวง; วีรชนท่ามกลางเหล่ากษัตริย์') ซึ่งกลายเป็นคำภาษาบาบิโลนว่า Aḫšiyâršu (𒄴𒅆𒐊𒅈𒋗, aḫ-ši-ia-ar-šu) และจากนั้นเป็น Akšîwâršu (𒀝𒅆𒄿𒈠𒅈𒍪, ak-ši-i-wa6-ar-šu) แล้วถูกยืมมาใช่ในภาษาฮีบรูว่า ฮีบรู: אֲחַשְׁוֵרוֹשׁ, อักษรโรมัน: Ăḥašwēroš จากนั้นจึงกลายเป็นภาษาละตินว่า Ahasuerus ซึ่งเป็นรูปคำดั้งเดิมที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษ[1][2] พระนามภาษาเปอร์เซียแปลเป็นภาษากรีกโบราณได้เป็น Ξέρξης Xérxēs การแปลและถอดความคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษฉบับใหม่ ๆ หลายฉบับ[3] ใช้พระนามว่า Xerxes

งานเลี้ยงของอาหสุเอรัส โดย Aert de Gelder

หนังสือเอสเธอร์[แก้]

"อาหสุเอรัส" เป็นพระนามของกษัตริย์ผู้เป็นพระสวามีของเอสเธอร์ในหนังสือเอสเธอร์ ซึ่งระบุว่าอาหสุเอรัสเป็นผู้ "ทรงครอบครอง 127 มณฑล ตั้งแต่อินเดียถึงคูช" คือทั้งจักรวรรดิอะคีเมนิด[4] ไม่มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทราบในรัชสมียของกษัตริย์เซอร์ซีสในหนังสือเอสเธอร์ บางคนเห็นว่าเรื่องเล่าในหนังสือเอสเธอร์เป็นการเล่าที่มาของเทศกาลปูริม และพระนามอาหสุเอรัสมักเข้าใจว่าหมายถึงกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 ผู้ปกครองจักรวรรดิอะคีเมนิดระหว่าง 486 และ 465 ปีก่อนคริสตกาล[5][6] บันทึกประวัติศาสตร์นอกเหนือจากหนังสือเอสเธอร์บันทึกว่ากษัตริย์เซอร์ซีสทรงสมรสกับอาเมสทริส ไม่ใช่วัชทีหรือเอสเธอร์ นอกจากนี้เป็นที่เข้าใจกันว่ากษัตริย์เปอร์เซียไม่สมรสกับหญิงนอกตระกูลขุนนางเปอร์เซียที่มีจำนวนจำกัด[7] หนังสือเอสเธอร์ในเซปทัวจินต์ระบุถึงกษัตริย์ด้วยพระนาม 'อาร์ทาเซอร์ซีส' ผู้เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของกษัตริย์เซอร์ซีส (กรีกโบราณ: Ἀρταξέρξης)[8]

หนังสือเอสรา[แก้]

อาหสุเอรัสและฮามานในงานเลี้ยงของเอสเธอร์ โดยแร็มบรันต์

อาหสุเอรัสยังถูกระบุในฐานะพระนามของกษัตริย์เปอร์เซียในหนังสือเอสรา[9] นักวิจารณ์สมัยใหม่เชื่อมโยงพระนามนี้กับกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 ผู้ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 486 ถึง 465 ปีก่อนคริสตกาล มีการระบุอื่น ๆ ว่าเป็นพระนามของกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2[10] หรือบาร์ดิยา (ภาษากรีก Smerdis) ผู้ครองราชย์ (อาจเป็นผู้สวมรอยแทนพระองค์) เป็นเวลา 7 เดือนระหว่างรัชสมัยของกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 และดาริอุสที่ 1[11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Cf. เปอร์เซียเก่า: 𐎧𐏁𐎹𐎠𐎼𐏁𐎠𐎴, อักษรโรมัน: Xšaya-ṛšā; เปอร์เซีย: اخشورش, อักษรโรมัน: Axšoreš; New Persian: خشایار, อักษรโรมัน: Xašāyār; กรีกโบราณ: Ξέρξης, อักษรโรมัน: Xérxēs.

อ้างอิง[แก้]

  1. KJV, NASB, Amplified Bible, ESV, 21st Century King James Version, ASV, Young's Literal Translation, Darby Translation, Holman Christian Standard Bible, etc.
  2. Nichol, F.D., Seventh-day Adventist Bible Commentary, Volume 3, Review and Herald Publishing Association, (Washington, D.C., 1954 edition), p.459, "Historical Setting"
  3. NIV, The Message, NLT, CEV, NCV, NIRV, TNIV, etc.
  4. "Esther 1". www.sefaria.org. สืบค้นเมื่อ 25 February 2023.
  5. Browning, W. R. F., บ.ก. (2009), "Ahasuerus", A Dictionary of the Bible (ภาษาอังกฤษ) (2nd ed.), Oxford University Press, doi:10.1093/acref/9780199543984.001.0001, ISBN 978-0-19-954398-4, สืบค้นเมื่อ 17 April 2020, The story is fictitious and written to provide an account of the origin of the feast of Purim; the book contains no references to the known historical events of the reign of Xerxes.
  6. Tucker, Gene M. (2004) [1993], Metzger, Bruce M.; Coogan, Michael D. (บ.ก.), "Esther, The Book of", The Oxford Companion to the Bible (ภาษาอังกฤษ), Oxford University Press, doi:10.1093/acref/9780195046458.001.0001, ISBN 978-0-19-504645-8, สืบค้นเมื่อ 17 April 2020, Although the details of its setting are entirely plausible and the story may even have some basis in actual events, in terms of literary genre the book is not history.
  7. Littman, Robert J. (1975). "The Religious Policy of Xerxes and the "Book of Esther"". The Jewish Quarterly Review. 65 (3): 146. doi:10.2307/1454354. JSTOR 1454354. Xerxes could not have wed a Jewess because this was contrary to the practices of Persian monarchs who married only into one of the seven leading Persian families. History records that Xerxes was married to Amestris, not Vashti or Esther. There is no historical record of a personage known as Esther, or a queen called Vashti or a vizier Haman, or a high placed courtier Mordecai. Mordecai was said to have been among the exiles deported from Jerusalem by Nebuchadnezzar, but that deportation occurred 112 years before Xerxes became king.
  8. "Esther 1 And it came to pass in the days of Artaxerxes. This Artaxerxes held a hundred twenty-seven regions from India". studybible.info. สืบค้นเมื่อ 18 April 2020.
  9. เอสรา 4:5 -7
  10. Gill's Exposition of the Whole Bible, as quoted by Bible.cc/ezra/4-7.htm
  11. Clarke's Commentary on the Bible, as quoted by Bible.cc/ezra/4-7.htm

บรรณานุกรม[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]