เอสเธอร์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเธอร์ 2
สำเนาต้นฉบับม้วนหนังสือเอสเธอร์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่มีภาพประกอบอย่างประณีต
หนังสือหนังสือเอสเธอร์
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์17

เอสเธอร์ 2 (อังกฤษ: Esther 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือเอสเธอร์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือเอสเธอร์เป็นใคร นักวิชาการสมัยใหม่พิสูจน์ได้ว่าขั้นสุดท้ายของต้นฉบับภาษาฮีบรูน่าจะถูกเขียนเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล[2] บทที่ 1 และ 2 มีฐานะเป็นบทเปิดเรื่องของหนังสือเอสเธอร์[3] บทที่ 2 เป็นการแนะนำโมรเดคัยและเอสเธอร์บุตรสาวบุญธรรมผู้มีความงามที่ชนะใจกษัตริย์อาหสุเอรัสและได้สวมมงกุฎเป็นราชินีแห่งเปอร์เซีย (วรรค 17)[4] โมรเดคัยล่วงรู้ถึงแผนการปลงพระชนม์กษัตริย์ของผู้ประสงค์ร้าย จึงทูลเอสเธอร์ให้นำความขึ้นทูลเตือนกษัตริย์ (วรรค 21–22) ผู้คิดการลอบปลงพระชนม์จึงถูกประหารชีวิตบนตะแลงแกง และกษัตริย์ทรงติดหนี้ชีวิตต่อโมรเดคัย[4]

ต้นฉบับ[แก้]

ต้นฉบับภาษากรีกของเอสเธอร์ 2:3–8 ในฉบับซีนาย

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5][a]

ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[7]

การตัดสินพระทัยของกษัตริย์ที่จะแสวงหาราชินีองค์ใหม่ (2:1–4)[แก้]

เพื่อจะหาผู้มาเป็นราชินีแห่งเปอร์เซียหลังการปลดวัชทีจากตำแหน่ง กษัตริย์จึงทรงตัดสินพระทัยจะให้หาหญิงงามจากทั่วแผ่นดินเพื่อตัดสินใจหาผู้จะขึ้นเป็นราชินีตามคำแนะนำของข้าราชการของพระองค์[8]

วรรค 3[แก้]

และขอกษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้แทนพระองค์ในทุกมณฑลแห่งราชอาณาจักรของพระองค์ ให้รวบรวมหญิงสาวพรหมจารีที่งดงามทุกคนมายังฮาเร็มในสุสาเมืองป้อม ให้อยู่ในอารักขาของเฮกัย ขันทีของกษัตริย์ผู้ดูแลสตรี และขอประทานเครื่องสำอางแก่พวกนาง[9]
  • "สุสา": หรือ "ซูซาน"[10]
  • "เมืองป้อม" (THSV11): จากคำภาษาฮีบรู בִּירָה (birah)[11]

เอสเธอร์ได้รับเข้าราชสำนัก (2:5–11)[แก้]

วรรค 5[แก้]

ยังมียิวคนหนึ่งในสุสาเมืองป้อม ชื่อโมรเดคัย บุตรยาอีร์ ผู้เป็นบุตรชิเมอี ผู้เป็นบุตรคีช คนเบนยามิน[12]

วรรค 6[แก้]

คือคีช ผู้ถูกเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์บาบิโลนกวาดต้อนจากเยรูซาเล็มไปพร้อมกับเชลยและเยโคนิยาห์กษัตริย์ยูดาห์[13]

วรรค 7[แก้]

ท่านได้เลี้ยงดูฮาดาชาห์คือ เอสเธอร์ บุตรหญิงของลุงของท่านเพราะเธอไม่มีบิดามารดา หญิงสาวคนนี้รูปงามและชวนมอง เมื่อบิดามารดาของเธอสิ้นชีวิตแล้ว โมรเดคัยก็รับเธอมาเป็นบุตร[14]

วรรค 10[แก้]

เอสเธอร์ไม่ได้เปิดเผยเรื่องชาติกำเนิดของเธอ เพราะโมรเดคัยกำชับเธอไม่ให้บอกใคร[15]
  • "เปิดเผย" (THSV11; TNCV; NTV; THA-ERV): หรือ "บอกให้ทราบ" (TH1971; ThaiKJV) เอสเธอร์ทรงสามารถปกปิดชาติกำเนิดของพระองค์ที่เป็นชาวยิวได้เป็นอย่างดี บ่งบอกว่าพระองค์ไม่ได้ทรงปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับอาหารและศาสนาของชาวยิวอย่างสม่ำเสมอ (ตรงกันข้ามกับดาเนียล)[16]
  • "ชาติกำเนิดของเธอ": ในภาษาฮีบรูแปลตรงตัวว่า "ประชาชนของเธอและญาติของเธอ"[17] วลีเดียวกันในภาษาฮีบรูนี้ปรากฏในเอสเธอร์ 2:20 เช่นกันแต่สลับลำดับคำเป็น "ญาติของพระนางและประชาชนของพระนาง"[18] ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11) แปลเป็น "ชาติกำเนิดของเธอ" ในวรรค 10 และ "ชาติกำเนิดของพระนาง" ในวรรค 20

เอสเธอร์ขึ้นเป็นราชินี (2:12–18)[แก้]

ราชินีเอสเธอร์ (ค.ศ. 1879) โดยเอ็ดวิน ลอง

ส่วนนี้ประกอบด้วยคำอธิบายของระเบียบการเสริมความงามเป็นเวลา 12 เดือนสำหรับหญิงผู้จะรับการคัดเลือกเป็นราชินีแห่งเปอร์เซีย และยังบ่งบอกถึงลักษณะของเอสเธอร์ว่าอาจมี 'เสน่ห์มาแต่กำเนิด' ทำให้เอสเธอร์แตกต่างจากหญิงคนอื่น ๆ และท้ายที่สุดจึงได้รับเลือกเป็นราชินี[19]

วรรค 12[แก้]

เมื่อถึงเวร หญิงสาวทุกคนจะเข้าไปเฝ้ากษัตริย์อาหสุเอรัส หลังจากได้เตรียมตัวตามระเบียบของหญิงเป็นเวลาสิบสองเดือนแล้ว (และนี่เป็นเวลาปกติสำหรับประทินผิว คือชโลมกายด้วยน้ำมันกำยานหกเดือน และด้วยเครื่องเทศและเครื่องสำอางของผู้หญิงอีกหกเดือน)[20]
  • "ตามระเบียบของหญิง": จากภาษาฮีบรู "ตามกฎหมายของหญิง"[21]

วรรค 16[แก้]

เขาได้พาเอสเธอร์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์อาหสุเอรัสในพระราชสำนัก ในเดือนสิบซึ่งเป็นเดือนเทเบทในปีที่เจ็ดแห่งรัชกาลของพระองค์[22]

เวลาที่อ้างถึงในวรรคนี้อยู่ในช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ของ 478 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งคงเป็นช่วงเวลาไม่นานหลังจากกษัตริย์เซอร์ซีสเสด็จกลับมายังสุสาหลังสงครามกับชาวกรีก ดังนั้นความล่าช้าในการตั้งราชินีแทนที่วัชทีจึงสามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะกษัตริย์เซอร์ซีสทรงไม่อยู่เป็นเวลานานเพราะเสด็จไปทำศึกกับกรีก[23]

โมรเดคัยล่วงรู้แผนปลงพระชนม์กษัตริย์ (2:19–23)[แก้]

การสวมมงกุฎของเอสเธอร์ (ซ้าย) โดยโมรเดคัยอยู่ที่ประตู ได้ยินบิกธานและเทเรชสมคบคิดจะปลงพระชนม์กษัตริย์ (ขวา) ภาพโดย Gerard de Jode (ค.ศ. 1579)

ส่วนนี้บันทึกถึงเรื่องที่โมรเดคัยได้ยินแผนการลอบพระชนม์กษัตริย์จึงนำความทูลเอสเธอร์ เอสเธอร์จึงทรงสามารถช่วยชีวิตกษัตริย์จากข้อมูล "ในนามของโมรเดคัย" (วรรค 22)[19] เหตุการณ์นี้บอกล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งมีกลายเป็นเหตุที่ืทำให้โมรเดคัยได้รางวัลในบทที่ 6[19]

วรรค 20[แก้]

ส่วนพระนางเอสเธอร์นั้นไม่ได้ทรงให้ใครทราบถึงชาติกำเนิดของพระนางดังที่โมรเดคัยกำชับพระนางไว้ เพราะพระนางเอสเธอร์ทรงเชื่อฟังโมรเดคัยเหมือนเมื่อครั้งที่พระนางทรงอยู่ในความดูแลของท่าน[24]
  • "ไม่ได้ทรงให้ใครทราบ": เอสเธอร์ทรงสามารถปกปิดชาติกำเนิดของพระองค์ที่เป็นชาวยิวได้เป็นอย่างดี บ่งบอกว่าพระองค์ไม่ได้ทรงปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับอาหารและศาสนาของชาวยิวอย่างสม่ำเสมอ (ตรงกันข้ามกับดาเนียล)[16]
  • "ชาติกำเนิดของพระนาง": ในภาษาฮีบรูแปลตรงตัวว่า "ญาติของพระนางและประชาชนของพระนาง" วลีเดียวกันในภาษาฮีบรูนี้ปรากฏในเอสเธอร์ 2:10 เช่นกันแต่สลับลำดับคำเป็น "ประชาชนของเธอและญาติของเธอ"[18] ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11) แปลเป็น "ชาติกำเนิดของเธอ" ในวรรค 10 และ "ชาติกำเนิดของพระนาง" ในวรรค 20
  • "โมรเดคัยกำชับพระนางไว้": ในส่วนท้ายของวลีนี้ ในคัมภีร์ไบเบิลภาษากรีกเซปทัวจินต์มีความว่า "ให้ทรงยำเกรงพระเจ้า"[25]

วรรค 21[แก้]

ในครั้งนั้น เมื่อโมรเดคัยกำลังนั่งอยู่ที่ประตูพระราชวัง บิกธานและเทเรช ขันทีสองคนของกษัตริย์ ผู้เฝ้าธรณีประตูมีความโกรธและหาโอกาสลอบปลงพระชนม์กษัตริย์อาหสุเอรัส[26]
  • "บิกธาน": เรียกด้วยชื่อ "บิกธานา" ซึ่งเป็นการสะกดชื่ออีกแบบหนึ่งในเอสเธอร์ 6:2[27][28]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หนังสือเอสรา-เนหะมีย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Halley 1965, p. 238.
  2. Meyers 2007, p. 324.
  3. Clines 1988, p. 387.
  4. 4.0 4.1 Meyers 2007, p. 327.
  5. Würthwein 1995, pp. 36–37.
  6. P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
  7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  8. Clines 1988, p. 388.
  9. เอสเธอร์ 2:3 THSV11
  10. หมายเหตุ [a] ของเอสเธอร์ 2:3 ใน NKJV
  11. หมายเหตุ [b] ของเอสเธอร์ 2:3 ใน NKJV
  12. เอสเธอร์ 2:5 THSV11
  13. เอสเธอร์ 2:6 THSV11
  14. เอสเธอร์ 2:7 THSV11
  15. เอสเธอร์ 2:10 THSV11
  16. 16.0 16.1 หมายเหตุ [a] ของเอสเธอร์ 2:20 ใน NET Bible
  17. หมายเหตุของเอสเธอร์ 2:20 ใน THSV11
  18. 18.0 18.1 หมายเหตุ [a] ของเอสเธอร์ 2:10 ใน NET Bible
  19. 19.0 19.1 19.2 Clines 1988, p. 389.
  20. เอสเธอร์ 2:12 THSV11
  21. หมายเหตุ [a] ของเอสเธอร์ 2:12 ใน NET
  22. เอสเธอร์ 2:16 THSV11
  23. Ellicott, C. J. (Ed.) (1905). Ellicott's Bible Commentary for English Readers. Esther 2. London : Cassell and Company, Limited, [1905-1906] Online version: (OCoLC) 929526708. Accessed 28 April 2019.
  24. เอสเธอร์ 2:20 THSV11
  25. หมายเหตุ [b] ของเอสเธอร์ 2:20 ใน NET Bible
  26. เอสเธอร์ 2:21 THSV11
  27. หมายเหตุ [a] ของเอสเธอร์ 2:21 ใน NKJV
  28. หมายเหตุ [a] ของเอสเธอร์ 2:21 ใน NET

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]