ฮาเร็ม
ฮาเร็ม (อังกฤษ: Harem; เปอร์เซีย: حرمسرا, อักษรโรมัน: haramsarā; อาหรับ: حَرِيمٌ ḥarīm, แปลว่า "สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ล่วงละเมิดไม่ได้; ฮาเร็ม; สมาชิกหญิงในครอบครัว")[1][2] สื่อถึงพื้นที่บ้านที่สงวนเฉพาะผู้หญิงในบ้านของครอบครัวมุสลิม[3][4][5] ผู้ที่อยู่ในฮาเร็มอาจมีทั้งภรรยาหรือบรรดาภรรยาของฝ่ายชาย เด็กผู้ชายก่อนเข้าวัยหนุ่มวัยสาว ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน หญิงรับใช้ในบ้าน และญาติหญิงฝ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ได้แต่งงาน ในอดีตมีนางบำเรอทาสก็อยู่ในนี้ด้วย บางฮาเร็มในอดีตจะมีขันทีเฝ้าดูผู้ที่สมควรเข้าข้างใน โครงสร้างฮาเร็มและขอบเขตของการมีคู่สมรสคนเดียวหรือมีภรรยาหลายคนนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบุคลิกของครอบครัว สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และประเพณีท้องถิ่น[3] สถาบันที่คล้ายคลึงกันนี้พบได้ทั่วไปในอารยธรรมแถบเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มราชวงศ์และชนชั้นสูง[4] และบางครั้งใช้คำนี้ในความหมายอื่นด้วย[6]
แม้ว่าสถาบันนี้จะประสบกับการมีจำนวนลดลงอย่างมากในสมัยใหม่ เนื่องจากโอกาสทางการศึกษาและเศรษฐกิจสำหรับผู้หญิงที่เพิ่มขึ้น และอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก การแยกผู้หญิงยังคงปรากฏในบางพื้นที่ เช่นแถบชนบทของประเทศอัฟกานิสถาน และรัฐอนุรักษ์นิยมในอ่าวเปอร์เซีย[4][7]
ส่วนฮาเร็มในมุมมองของนักบูรพทิศชาวตะวันตกเป็นโลกซ่อนเร้นที่มีการกดขี่ข่มเหงทางเพศ โดยผู้หญิงจำนวนมากเอนกายในท่าทางที่ชี้นำทางเพศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อภาพวาด การผลิตละครเวที ภาพยนตร์ และงานวรรณกรรมมากมาย[3][4] ภาพวาดสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายุคแรกบางส่วนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แสดงผู้หญิงในฮาเร็มออตโตมันเป็นบุคคลที่มีสถานะและมีความสำคัญทางการเมือง[8] ผู้หญิงในฮาเร็มตามประวัติศาสตร์อิสลามในหลายยุค ใช้อำนาจทางการเมืองในหลายระดับ[9]
ภูมิหลังก่อนอิสลาม[แก้]
แนวคิดฮาเร็มหรือการแยกผู้หญิงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากมุฮัมมัดหรือศาสนาอิสลาม[9] การแยกผู้หญิงเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในชุมชนตะวันออกใกล้โบราณหลายแห่ง โดยเฉพาะในบริเวณที่สามารถมีคู่ครองหลายคนได้[10] ในอัสซีเรียและเปอร์เซียก่อนอิสลาม ราชสำนักส่วนใหญ่มีฮาเร็มของตนเอง โดยบรรดามเหสีและพระสนมของผู้นำอาศัยอยู่ในนั้นร่วมกับพนักงานหญิงและขันที[9] Encyclopædia Iranica ใช้คำว่า ฮาเร็ม เพื่อสื่อถึงวิถีปฏิบัติของตะวันออกใกล้ในสมัยโบราณ[11]
ในวัฒนธรรมอิสลาม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มุมมองตะวันตก[แก้]
ภาพจินตนาการอันแตกต่างของฮาเร็มเกิดขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อชาวยุโรปเริ่มตระหนักว่าในฮาเร็มของชาวมุสลิมมีผู้หญิงจำนวนมากอาศัยอยู่ ในสมัยการล่าอาณานิคมของยุโรปมีการสร้าง "ฮาเร็มในจินตนาการ" เพื่อใช้เป็นตัวแทนสิ่งที่นักวิชาการบูรพาทิศมองเป็นสถานะที่ถูกเหยียดหยามและกดขี่ของสตรีในอารยธรรมอิสลาม แนวคิดเหล่านี้ทำหน้าที่หล่อหลอมให้ตะวันตกเป็นประเทศที่เหนือกว่าทางวัฒนธรรมและสร้างความชอบธรรมให้กับบริษัทอาณานิคม[4] ฮาเร็มมักถูกมองว่าเป็นซ่องโสเภณีส่วนตัวที่มีผู้หญิงจำนวนมากนอนเล่นในท่าทางที่ส่อไปในทางชี้นำทางเพศ ชี้นำเรื่องเพศที่รุนแรงแต่ถูกกดขี่ต่อชายโสดในรูปแบบของ "ความรักใคร่เชิงแข่งขัน" (competitive lust) ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ อาหรับราตรี[3][4]
ภาพ[แก้]
ศิลปินตะวันตกหลายคนวาดภาพฮาเร็มตามจินตนาการของตน
- ภาพวาดฮาเร็ม Harems
ฉากจากฮาเร็ม, Jean-Baptiste van Mour (ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18)
ฉากในฮาเร็ม, โดย Guardi
ฮาเร็มตามจินตนาการของศิลปินชาวยุโรป, The Dormitory of the Concubines, โดย Ignace Melling, 1811.
ฉากฮาเร็มโดย Dominique Ingres
The Reception, John Frederick Lewis, 1805–1875, อังกฤษ
ฉากจากฮาเร็ม โดย Fernand Cormon, ป. 1877
ฉากฉาเร็ม, Quintana Olleras, 1851–1919, สเปน
โปสเตอร์ Belle of Nelson whiskey (1878), อิงจากฉากฮาเร็มโดย Jean-Léon Gérôme.
ดูเพิ่ม[แก้]
บุคคล[แก้]
อื่น ๆ[แก้]
- วัฒนธรรมของจักรวรรดิออตโตมัน
- ฮาเร็ม (แนว)
- Hypergamy
- ระบบฮาเร็มจีนสมัยจักรวรรดิ
- ฮาเร็มจักรวรรดิออตโตมัน
- การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรสในมุมมองของอิสลาม
- Kippumjo
- Mughal Harem
- พื้นที่เฉพาะผู้หญิง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Wehr & Cowan 1976, pp. 171–172.
- ↑ Harem at WordReference.com
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Cartwright-Jones 2013, "Harem".
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Anwar 2004, "Harem".
- ↑ Harem in Merriam-Webster Dictionary
- ↑ Haslauer 2005, "Harem".
- ↑ Doumato 2009, "Seclusion".
- ↑ Madar 2011.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Britannica 2002.
- ↑
. สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 12 (11 ed.). 1911. pp. 950–952.
- ↑ A. Shapur Shahbazi (2012). "HAREM i. IN ANCIENT IRAN". Encyclopaedia Iranica.
ข้อมูล[แก้]
- Anwar, Etin (2004). "Harem". ใน Richard C. Martin (บ.ก.). Encyclopedia of Islam and the Muslim World. MacMillan Reference USA.
- Britannica (2002). "Harem". Encyclopaedia Britannica.
- Cartwright-Jones, Catherine (2013). "Harem". The Oxford Encyclopedia of Islam and Women. Oxford: Oxford University Press. doi:10.1093/acref:oiso/9780199764464.001.0001. ISBN 9780199764464.
- Doumato, Eleanor Abdella (2009). "Seclusion". ใน John L. Esposito (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press.
- Haslauer, Elfriede (2005). "Harem". The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. doi:10.1093/acref/9780195102345.001.0001. ISBN 9780195102345.
- Madar, Heather (2011). "Before the Odalisque: Renaissance Representations of Elite Ottoman Women". Early Modern Women. 6: 1–41. doi:10.1086/EMW23617325. S2CID 164805076.
- Wehr, Hans; Cowan, J. Milton (1976). A Dictionary of Modern Written Arabic (3rd ed.). Spoken Language Services.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฮาเร็ม |
- Harem in the Ottoman Empire (English)
- Some paintings of harems
- Popular culture depictions of harems
- Harem Novel From Aslı Sancar
- Godwin, Parke (1879). . The American Cyclopædia.
![]() |
บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |