เครื่องเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องเทศนานาชนิด

เครื่องเทศ (อังกฤษ: spices) เป็นส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เมล็ด เปลือกเมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น กระวาน กานพลู จันทน์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น มะกรูด พริก พริกไทย อบเชย[1][2]แม้กระทั่ง งา หรือนำมาใช้เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย[3]

เครื่องเทศมีปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย[4][5]

ขึ้นชื่อว่าเครื่องเทศมีอยู่ 1 ชนิดที่ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นราชาของเครื่องเทศนั้นก็คือพริกไทยมีรสชาติเผ็ดร้อนนิยมใช้กันเป็นเครื่องปรุงและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารชนิดต่าง ๆ[6]

อย่างไรก็ตามในชาติตะวันตก ถือว่าเครื่องเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหาร จึงมีการเดินทางเสาะหาเครื่องเทศจากทั่วโลก ทำให้เกิดการค้าเครื่องเทศขึ้นอย่างจริงจัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเดินทางสำรวจโลกของชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด "เส้นทางสายเครื่องเทศ" ขึ้นอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

นิยาม[แก้]

นิยามตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเครื่องเทศ คือ ของหอมฉุน และเผ็ดร้อนที่ได้จากต้นไม้ สำหรับใช้ทำยาและปรุงอาหาร แต่ในทางสากลคำว่า "Spices" หมายถึง ส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็นชิ้น หรือบดเป็นผงซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นรสเผ็ด ร้อนขึ้นในอาหารหรือเครื่องดื่มทำให้เกิดความรู้สึกน่ารับประทานและรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีคำว่า Condiments ซึ่งหมายถึง เครื่องเทศที่ใช้ใส่หรือโรยอาหารที่ปรุงสุกแล้ว[7]

ประเภทของเครื่องเทศ[แก้]

เครื่องเทศสามารถแบ่งได้หลายชนิด แล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง

  • จำแนกเครื่องเทศตามแหล่งปลูก

- เครื่องเทศในเขตอบอุ่น (Temperate spices) ตัวอย่างเช่น ออริกาโน เบย์ กระเทียม

- เครื่องเทศในเขตร้อน (Tropical spices) ตัวอย่างเช่น อบเชย จัน พริกไทย กระวาน ขิง กะเพรา ตะไคร้

  • จำแนกเครื่องเทศตามลักษณะการเจริญเติบโต

- ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ (Small evergreen) ตัวอย่างเช่น กานพลู จันทร์เทศ อบเชย

- ไม้เถาอายุยืน (Perennial herbaceous) ตัวอย่างเช่น พริกไทย วานิลา

- ไม้หัวอายุยืน (Pernnial herbs rhizomatous) ตัวอย่างเช่น ข่า ขมิ้น กระวาน

- ไม้ฤดูเดียว (Annual herbs) ตัวอย่างเช่น พริก ผักชี ยี่หร่า

เครื่องเทศที่เป็นที่รู้จัก[แก้]

สูตรเครื่องพะโล้จีนมีหลายแบบ ที่นิยมได้แก่ อบเชย กานพลู โป๊ยกั๊ก เปลือกส้มแมนดารินตากแห้ง เม็ดผักชี ยี่หร่า ใบเฉาก๊วย หล่อฮังก๊วย พริกไทย พริกเสฉวน ชะเอมเทศ ซังยิ้ง ใบเฮียวเฮียะ อาจใส่เครื่องปรุงอื่นด้วย เช่น หอมแดง กระเทียม รากผักชี ข่า ขิงแห้ง กระวาน เป็นต้น อันเป็นเครื่องเทศที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ต้องระมัดระวังจากเชื้อราอันเป็นที่มาของสารพิษอะฟลาท็อกซินได้ โดยกลุ่มเชื้อราที่พบคือ เชื้อรากลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส และแอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส ซึ่งสารพิษดังกล่าวสามารถทำให้เกิดมะเร็งตับได้ และที่สำคัญความร้อนในการปรุงอาหารปรกติเช่น การหุง การต้ม การนึ่ง ก็ไม่สามารถทำลายสารพิษของ อะฟลาท็อกซิน ให้หมดได้

ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และศาสนา[แก้]

“พวกโหรจากทิศตะวันออก . . . เปิดหีบสมบัติของตนแล้วถวายทองคำ กำยาน และมดยอบเป็นของกำนัล”—มัดธาย 2:1, 11

คุณจะเลือกอะไรให้เป็นของขวัญแก่บุคคลสำคัญ? ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล เครื่องเทศบางอย่างมีค่าพอ ๆ กับทองคำและมักเป็นของขวัญที่เหมาะจะให้แก่กษัตริย์ด้วย * นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกโหรให้เครื่องเทศหอมรวมอยู่ในของขวัญที่ให้แก่ “กษัตริย์ของชาวยิว”—มัดธาย 2:1, 2, 11

คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “พระนางนั้นจึงนำเครื่องราชบรรณาการถวายกษัตริย์ คือทองคำร้อยยี่สิบตะลันต์ กับเครื่องหอมเป็นอันมาก และหินเพชรพลอยวิเศษ เครื่องหอมอย่างดีที่พระนางกษัตริย์ซะบา [ชีบา] ได้ถวายกษัตริย์ซะโลโมนั้นไม่เคยมีเลย” *(2 โครนิกา 9:9) กษัตริย์คนอื่น ๆ ก็ได้ส่งเครื่องหอมมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่โซโลมอนด้วย—2 โครนิกา 9:23, 24

น้ำมันชโลมและเครื่องหอมศักดิ์สิทธิ์ พระยะโฮวาให้สูตรการทำน้ำมันชโลมและเครื่องหอมศักดิ์สิทธิ์แก่โมเซซึ่งทั้งสองอย่างนี้ใช้เครื่องเทศทั้งหมดสี่ชนิดที่ต่างกัน (เอ็กโซโด 30:22-25, 34-38) ปุโรหิตบางคนจะชำนาญในการทำน้ำมันชโลมนี้รวมทั้งดูแลให้วัตถุดิบต่าง ๆ มีอยู่พร้อม—อาฤธโม 4:16; 1 โครนิกา 9:30

น้ำหอมและขี้ผึ้ง คนที่สามารถหามาได้ก็จะใช้ผงกำยานเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมให้กับบ้าน เสื้อคลุม ที่นอน และร่างกายของเขา (เอศเธระ 2:12;สุภาษิต 7:17; เพลงไพเราะ 3:6, 7; 4:13, 14) มาเรียพี่สาวของลาซะโรได้เท “น้ำมันหอมนาร์ดบริสุทธิ์” ลงบนผมและเท้าของพระเยซู “น้ำมันนาร์ดบริสุทธิ์” เพียงขวดเล็ก ๆ มีราคาเท่ากับค่าแรงถึงหนึ่งปี—มาระโก 14:3-5; โยฮัน 12:3-5

เตรียมศพก่อนฝัง นิโคเดมุสเอา “ผงมดยอบผสมกฤษณา” มาชโลมศพของพระเยซูก่อนนำไปฝัง (โยฮัน 19:39, 40) และสาวกบางคนของพระเยซูได้เตรียม “เครื่องหอมกับน้ำมันหอม” ไปที่อุโมงค์ฝังศพ—ลูกา 23:56–24:1

เครื่องปรุงรส ชาวอิสราเอลชอบใช้เครื่องเทศและเครื่องปรุงต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหารพวกปลาและเนื้อ ส่วนเครื่องเทศอื่น ๆ จะใช้ผสมกับเหล้าองุ่น—เพลงไพเราะ 8:2[8]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]