ข้ามไปเนื้อหา

ขมิ้นอ้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขมิ้นอ้อย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Curcuma
สปีชีส์: Curcuma spp.
ชื่อทวินาม
Curcuma spp.
(Christm.) Roscoe

ขมิ้นอ้อยหรือขมิ้นขึ้น ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma spp. เป็นพืชในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุกโตเร็ว ลำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก ผิวเหง้าด้านนอกสีเทา เนื้อสีขาวแกมเหลืองไปจนถึงเหลืองสด มีรากมาก รากกลมมีเนื้อนุ่มภายใน ก้านใบหุ้มกันแน่นเป็นลำต้นเทียม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม มีแถบสีน้ำตาลแดงตรงกลางใบ ใบแก่แถบสีจางลงช่อดอกเจริญจากเหง้าโดยตรงมีริ้วประดับเรียงเวียน โคนช่อเป็นสีเขียว กลางช่อเป็นสีม่วง ดอกสีขาวแกมเหลือง ผลเป็นแคบซูลรูปไข่ ผิวเรียบ แตกด้านข้าง เมล็ดรูปรี สีเทา

ขมิ้นอ้อยมีลักษณะคล้ายว่านชักมดลูกต่างกันที่กลีบดอก ขมิ้นอ้อยเป็นสีขาวแกมเหลือง แถบสีน้ำตาลแดงบนใบมีสองด้าน ว่านชักมดลูกเป็นสีชมพู แถบสีน้ำตาลแดงบนใบมีด้านเดียว สีเหง้าของขมิ้นอ้อยสีอ่อนกว่า ช่อดอกขนาดเล็กกว่า ขมิ้นอ้อยต่างจากขมิ้นชันที่ใบมีขนนิ่มด้านล่าง เหง้าขนาดใหญ่กว่า เนื้อในสีเหลืองอ่อนกว่า เหง้ามักโผล่พ้นดิน กลิ่นฉุนน้อยกว่า[1]

กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนและไต้หวัน เหง้าใช้ทำแป้งโชติซึ่งเป็นแป้งย่อยง่ายเหมาะสำหรับทารก ในอินโดนีเซียนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผัก อินเดียใช้เหง้าทำเครื่องหอม เป็นยาสมุนไพร ใช้เป็นยาขับลมและขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร ใช้ล้างรักษาแผล เหง้าใช้เคี้ยวดับกลิ่นปาก น้ำต้มเหง้าแก้ปวดท้อง ในทางไสยศาสตร์เชื่อว่าเป็นว่านที่ทำให้คงกระพันชาตรี[2]

อ้างอิง

[แก้]
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544 หน้า 99 - 101
  1. อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 98 – 100
  2. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ว่าน. กทม. เศรษฐศิลป์. 2553

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]