ขึ้นฉ่าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขึ้นฉ่าย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Apiales
วงศ์: Apiaceae
สกุล: Apium
สปีชีส์: A.  graveolens
ชื่อทวินาม
Apium graveolens
L.

ขึ้นฉ่าย (จีน: 芹菜) เป็นพืชล้มลุกชอบพื้นที่ลุ่ม อยู่ในวงศ์ Apiaceae เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป หรือ นำไปผัดเพื่อดับคาวปลา ขึ้นฉ่ายมีลำต้นและใบหลากหลายตามพันธุ์ปลูกและสถานที่ปลูกซึ่งแบ่งกว้าง ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ ขึ้นฉ่ายใบ ใช้กินใบและตกแต่งอาหาร, ขึ้นฉ่ายยักษ์ ใช้กินก้านที่อวบน้ำ และขึ้นฉ่ายหัว ที่ใช้หัวในการปรุงอาหาร เมล็ดขึ้นฉ่ายยังใช้เป็นเครื่องเทศและมีการใช้สารสกัดในยาสมุนไพร

คำว่า "ขึ้นฉ่าย" ในภาษาไทยมาจากภาษาจีนว่า 芹菜 โดยอ่านแบบแต้จิ๋วเป็น "ขึ่งไฉ่" (เพ็งอิม: keng5 cai3) ส่วนอ่านแบบจีนกลางจะเป็น "ฉินไช่" (พินอิน: qín cài)

ลักษณะ[แก้]

เป็นพืชล้มลุกมีอายุ 1–2 ปี สูง 40–60 เซนติเมตร ใบประกอบแบบ ขนนกออก ตรงข้าม สีใบเป็น สีเหลืองอมเขียว ใบย่อยเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยัก ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ ดอกช่อสีขาว เป็นช่อดอกแบบซี่ร่ม (compound umbels) ผลมีขนาดเล็กมากเป็นสีน้ำตาล

พันธุ์ปลูก ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะเด่น การใช้
ขึ้นฉ่ายใบ 唐芹 Leaf celery Apium graveolens var. secalinum
  • ใบใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ก้านใบเรียวยาว
กินใบ
ขึ้นฉ่ายยักษ์ 旱芹 Celery Apium graveolens var. graveolens
  • ใบเล็กเมื่อเทียบกับก้าน
  • ก้านอวบ ยาว ตรง
กินใบและก้านใบ
ขึ้นฉ่ายหัว[1] Celeriac Apium graveolens var. rapaceum
  • ใบเหมือนขึ้นฉ่ายใบ
  • มีหัวขนาดใหญ่มาก
กินหัว

ประโยชน์[แก้]

มีโพแทสเซียมสูง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดข้อ เช่น รูมาติกและโรคเกาต์ มีโซเดียมอินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับความเป็นกรดและด่างในเลือดให้สมดุล น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาท ทำให้รู้สึกสบาย และนอนหลับได้ดี การกินขึ้นฉ่ายจะทำให้อสุจิลดลงถึง 50% หลังจากยุติการกินแล้ว จำนวนเชื้ออสุจิจะเพิ่มกลับมาระดับปกติใน 8-13 สัปดาห์

สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้[2]

ขึ้นฉ่ายดิบ (Apium graveolens)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน67 กิโลจูล (16 กิโลแคลอรี)
2.97 กรัม (including fiber)
แป้ง0.00 กรัม
น้ำตาล 1.34 กรัม
0.00 กรัม
ใยอาหาร1.6 กรัม
0.17 กรัม
อิ่มตัว0.042 กรัม
ทรานส์0.000 กรัม
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว0.032 กรัม
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่0.079 กรัม
0.69 กรัม
วิตามิน
วิตามินเอ
(3%)
22 μg
ไทอามีน (บี1)
(2%)
0.021 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
0.057 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(2%)
0.320 มก.
(5%)
0.246 มก.
วิตามินบี6
(6%)
0.074 มก.
โฟเลต (บี9)
(9%)
36 μg
วิตามินบี12
(0%)
0.00 μg
คลอรีน
(1%)
6.1 มก.
วิตามินซี
(4%)
3.1 มก.
วิตามินดี
(0%)
0 IU
วิตามินอี
(2%)
0.27 มก.
วิตามินเค
(28%)
29.3 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
40 มก.
เหล็ก
(2%)
0.20 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
11 มก.
ฟอสฟอรัส
(3%)
24 มก.
โพแทสเซียม
(6%)
260 มก.
โซเดียม
(5%)
80 มก.
สังกะสี
(1%)
0.13 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ95.43 g
แอลกอฮอล์ (เอธานอล)0.0 g
คาเฟอีน0 mg
คอเลสเตอรอล0 mg
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

อ้างอิง[แก้]

  1. JOM (2017-01-18). "หัวขึ้นฉ่ายฝรั่ง". Thai Food.
  2. ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428