ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเวียงสระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเวียงสระ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Sa
เรียงจากซ้ายไปขวา : วัดทุ่งหลวง, เทวสถานเมืองโบราณเวียงสระ วัดเวียงสระ, อ่างเก็บน้ำบางลาย
คำขวัญ: 
ชุมชนเมืองโบราณ สืบสานศรีวิชัย ตลาดใหญ่การค้า
ยางพาราชั้นดี มากมีไม้ผล ผู้คนมีน้ำใจ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเวียงสระ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเวียงสระ
พิกัด: 8°37′47″N 99°20′35″E / 8.62972°N 99.34306°E / 8.62972; 99.34306
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด427.6 ตร.กม. (165.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด62,188 คน
 • ความหนาแน่น143.43 คน/ตร.กม. (371.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84190
รหัสภูมิศาสตร์8415
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงสระ หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เวียงสระ เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คนภาคใต้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า บ้านส้อง โดยอำเภอเวียงสระเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา การสาธารณสุข การค้าและทางเศรษฐกิจของสุราษฎร์ธานีตอนใต้ และบางอำเภอในนครศรีธรรมราชทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อำเภอเวียงสระเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 69 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 693 กิโลเมตร มีพื้นที่ 427.6 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.30 ของพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รูปร่างคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมู จัดได้ว่าเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ขนาดกลางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ในตำบลเวียงสระ[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเวียงสระตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ภูมิประเทศ

[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเวียงสระเป็นที่ราบแนวยาวทางทิศตะวันออกและเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่ม มีลำคลองเล็ก ๆ ไหลผ่านหลายสาย ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำตาปี พื้นที่ประมาณร้อยละ 95.14 เหมาะแก่การทำการเกษตร อีกประมาณร้อยละ 4.96 เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ แต่ถึงแม้ว่าพื้นที่ของอำเภอเวียงสระจะเหมาะแก่การทำเกษตร แต่ระบบชลประทานยังไม่ดีพอสมควร ทำให้พืชผลทางการเกษตรยังไม่ได้ผลเต็มที่ เกษตรกรยังอาศัยน้ำฝนในการปลูกพืช นอกจากนั้นยังมีพื้นที่อีกจำนวนมาก ตามแนวริมฝั่งแม่น้ำตาปี ยังไม่ได้ปรับปรุงมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่[2]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศชุ่มชื้น อบอุ่น แบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ตลอดปีจะแบ่งเป็นฤดูฝน 9 เดือน คือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมกราคม และฤดูร้อน 3 เดือน แต่ฤดูร้อนจะมีฝนตกประปรายเสมอ[2]

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอเวียงสระเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านนาสาร ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองอำเภอบ้านนาสาร ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงสระ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ปีเดียวกัน[3]

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร ขึ้นเป็น อำเภอเวียงสระ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[4]

  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2511 แยกพื้นที่ตำบลเวียงสระ และตำบลทุ่งหลวง อำเภอบ้านนาสาร มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงสระ ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านนาสาร[3]
  • วันที่ 25 มิถุนายน 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงสระ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงสระ[5]
  • วันที่ 2 กันยายน 2512 ตั้งตำบลบ้านส้อง แยกออกจากตำบลเวียงสระ และตั้งตำบลคลองฉนวน แยกออกจากตำบลทุ่งหลวง[6]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะกิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร เป็น อำเภอเวียงสระ[4]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลเขานิพันธ์ แยกออกจากตำบลคลองฉนวน[7]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลเวียงสระ เป็นเทศบาลตำบลเวียงสระ[8] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 6 มิถุนายน 2550 จัดตั้งศาลจังหวัดเวียงสระ ในท้องที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอชัยบุรี อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอพระแสง[9][10]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเวียงสระแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน แผนที่
1. เวียงสระ Wiang Sa
10
แผนที่ตำบล
2. บ้านส้อง Ban Song
18
3. คลองฉนวน Khlong Chanuan
12
4. ทุ่งหลวง Thung Luang
16
5. เขานิพันธ์ Khao Niphan
8

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเวียงสระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

เศรษฐกิจ

[แก้]

ถึงแม้อำเภอเวียงสระจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลเวียงสระ แต่ตำบลบ้านส้องเป็นตำบลที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดในอำเภอเวียงสระ[11]

ลักษณะเศรษฐกิจของตำบลบ้านส้อง

  • เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของตำบลบ้านส้อง ทำให้ศูนย์กลางของเศรษฐกิจอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบลเนื่องจากอยู่ใกล้กับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 ทำให้ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างๆจึงกระจุกตัวอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกของตำบลบ้านส้อง
  • ทางทิศตะวันออกของตำบลบ้านส้องส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบสูงและภูเขาทำให้ทางฝั่งทิศตะวันออกจะเป็นเศรษฐกิจแบบการเกษตรมากกว่าโดยส่วนใหญ่จะปลูก ทุเรียน ยางพารา ปาลม์ ซึ่งตำบลบ้านส้องมีเศรษฐกิจโดยพึ่งการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
ความคึกคักในตัวเมืองบ้านส้องขณะช่วงเวลากลางคืนซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีน


ปัญหาต่างๆที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของตำบลบ้านส้อง

  • ภัยแล้ง ในช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ตำบลบ้านส้องประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักเนื่องจากฝนแล้ง ทำให้คลองและคูเขื่อนไม่มีน้ำเนื่องจากไม่มีน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา ส่งผลให้เศรษฐกิจด้านการเกษตรได้รับผลกระทบเป็นอย่างหนักโดยเฉพาะ ยางพารา ทุกเรียน และปาลม์ ต้นไม้ด้านเกษตรของชาวสวนล้มตายตามๆกันไปเนื่องจากขาดน้ำ ทำให้เศรษฐกิจของตำบลบ้านส้องได้รับผลกระทบอย่างหนัก
  • สภาพภูมิศาสตร์ ตำบลบ้านส้องมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายสำหรับทางทิศตะวันตก ทิศใต้ ทิศเหนือเป็นที่ราบลุ่มอยู่ใกล้แม่น้ำตาปี มีแม่น้ำคลองตาลไหลผ่านจึงเหมาะแก่การพัฒนาเมืองและการเกษตร แต่พื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบสูงภูเขา มีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่อยู่ในเขตนี้ทำให้โครงสร้างพื้นฐานบางส่วนอาจยังไม่พัฒนาได้ดีพอ แต่ในปัจจุบันปัญหาด้านนี้แทบจะไม่เหลือให้เห็นมากนักเนื่องจากบ้านน้องมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

การคมนาคม

[แก้]

ทางถนน

[แก้]

ทางรถไฟ

[แก้]

กีฬา

[แก้]

อำเภอเวียงสระมีสโมสรฟุตบอลอาชีพ ได้แก่ เอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้ ซึ่งปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก 3 โซนภาคใต้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Moows. "เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเวียงสระ: ข้อมูลทั่วไป อ.เวียงสระ". เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเวียงสระ.
  2. 2.0 2.1 Moows. "เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเวียงสระ: ข้อมูลทั่วไป อ.เวียงสระ". เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเวียงสระ.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (24 ง): 797. March 12, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. November 16, 1971. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงสระ กิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (57 ง): 1843–1844. June 25, 1968.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (78 ง): 2643–2648. September 2, 1969.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเวียงสระ และอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2456–2460. August 1, 1978.
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
  9. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (26 ก): 14–16. June 6, 2007.
  10. "พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดเวียงสระ พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (30 ก): 24–25. March 29, 2013.
  11. "เทศบาลตำบลบ้านส้อง", วิกิพีเดีย, 2024-06-30, สืบค้นเมื่อ 2024-06-30