อำเภอพยุหะคีรี
อำเภอพยุหะคีรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phayuha Khiri |
สถานีรถไฟเนินมะกอก ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอพยุหะคีรี | |
คำขวัญ: สามหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตพระเครื่อง นามกระเดื่องช่างฝีมือ เลื่องระบือเกษตรกรรม | |
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอพยุหะคีรี | |
พิกัด: 15°29′14″N 100°8′24″E / 15.48722°N 100.14000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 740.8 ตร.กม. (286.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 60,506 คน |
• ความหนาแน่น | 81.68 คน/ตร.กม. (211.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 60130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6010 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรี เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
พยุหะคีรี เป็น 1 ใน 15 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ เดิมมีพื้นที่กว่า 2,165.50 ตารางกิโลเมตร ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอตาคลี[1] อำเภอตากฟ้า และบางส่วนของอำเภอเมืองอุทัยธานี[2][3] ในจังหวัดอุทัยธานี และเป็น 1 ใน 4 อำเภอที่มีทางรถไฟสายเหนือผ่านพื้นที่ โดยมีสถานีรถไฟให้บริการ 3 สถานี ได้แก่ สถานีรถไฟหัวงิ้ว สถานีรถไฟเนินมะกอก และสถานีรถไฟเขาทอง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอพยุหะคีรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครสวรรค์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าตะโกและอำเภอตากฟ้า
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอตาคลีและอำเภอมโนรมย์ (จังหวัดชัยนาท)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองอุทัยธานี (จังหวัดอุทัยธานี) และอำเภอโกรกพระ
ประวัติ
[แก้]พยุหะคีรี เดิมเป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดนครสวรรค์ มีหน้าที่เก็บเงินส่วยอากร ผู้มีหน้าที่เก็บส่วยอากรสมัยนั้นชื่อ หลวงภูมิ ได้ตั้งบุตรชายของตนชื่อ จันทร์ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองพยุหะคีรี มีที่ทำการอยู่ข้างวัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่บ้านสระเศรษฐี ตำบลน้ำทรง ตั้งที่ทำการแบบชั่วคราวมีจวนเจ้าเมือง บ้านราชการเรือนจำ (ล้อมด้วยไม้ไผ่) เจ้าเมืองคนต่อมา ชื่อ กัน และ อิ่ม ต่อมามีโจรกล่มหนึ่งคุมสมัครพรรคพวกประมาณ 40 คน เข้าทำการปล้นจวนเจ้าเมือง สถานที่ราชการ จึงได้ย้ายตัวเมืองพยุหะคีรีมาตั้งอยู่ที่คลองหลวงพิบูลย์ เมื่อสิ้นอายุเจ้าเมืองอิ่มแล้ว เจ้าเมืองคนต่อมาชื่อ ปุ้ย ได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าแร่ สร้างที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรีขึ้น ณ ตำบลพยุหะ[4]
- วันที่ - 2460 ยกฐานะตำบลตาคลี อำเภอพยุหะคีรี ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอตาคลี ขึ้นกับอำเภอพยุหะคีรี
- วันที่ 11 พฤศจิกายน 2466 ตั้งตำบลหัวหวาย แยกออกจากตำบลหนองโพ[5]
- วันที่ 26 กรกฎาคม 2480 โอนพื้นที่ตำบลหนองโพ อำเภอพยุหะคีรี ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอตาคลี[6]
- วันที่ 2 สิงหาคม 2480 ยกฐานะตำบลตาคลี ตำบลสร้อยทอง ตำบลช่องแค ตำบลหัวหวาย ตำบลหนองหม้อ ตำบลจันเสน และตำบลหนองโพ กิ่งอำเภอตาคลี อำเภอพยุหะคีรี เป็น อำเภอตาคลี[1]
- วันที่ 22 สิงหาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 1 บ้านเกาะตานิว (ในขณะนั้น) ของตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี ไปขึ้นกับตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ และโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านหนองพรมหน่อ (ในขณะนั้น) ของตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี ไปขึ้นกับตำบลเนินกว้าว อำเภอโกรกพระ[7]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลท่าน้ำอ้อย แยกออกจากตำบลพยุหะ[8]
- วันที่ 22 มีนาคม 2492 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลม่วงหัก ไปขึ้นกับตำบลท่าน้ำอ้อย[9]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพยุหะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลพยุหะ[10]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำอ้อย ในท้องที่ตำบลท่าน้ำอ้อย[11]
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2502 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ กับจังหวัดอุทัยธานี โดยโอนพื้นที่หมู่ 1–7 เฉพาะฝั่งตะวันตกของคลองอีเติ่ง (ในขณะนั้น) กับพื้นที่หมู่ที่ 8 เฉพาะด้านตะวันตกของสันเขาพะแวง ของตำบลน้ำทรง ไปขึ้นกับอำเภอเมืองอุทัยธานี[2]
- วันที่ 2 มิถุนายน 2502 โอนพื้นที่หมู่ 7 เฉพาะฝั่งตะวันออกของคลองอีเติ่ง (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินแจง อำเภอเมืองอุทัยธานี ไปตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลน้ำทรง โอนพื้นที่หมู่ 8 เฉพาะด้านตะวันออกองสันเขาพะแวง (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินแจง อำเภอเมืองอุทัยธานี ไปรวมกับหมู่ 8 ของตำบลยางขาว และโอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินแจง อำเภอเมืองอุทัยธานี ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลน้ำทรง[3]
- วันที่ 17 พฤษภาคม 2503 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี[12]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2503 ตั้งตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว แยกออกจากตำบลเนินมะกอก[13]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลเขากะลา แยกออกจากตำบลเขาทอง[14]
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลสระทะเล แยกออกจากตำบลย่านมัทรี[15]
- วันที่ 13 ตุลาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าน้ำอ้อย ในท้องที่หมู่ 1 บ้านยายล่า หมู่ 2 บ้านวัดเหล็ก หมู่ 3 บ้านท่าดาน หมู่ 4 บ้านทุ่งอ้ายดอก หมู่ 5 บ้านท่าน้ำอ้อย หมู่ 6 บ้านท่าตราทอง หมู่ 7 บ้านท่าลานเตียน และหมู่ 8 บ้านเขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย กับหมู่ 1 บ้านบน หมู่ 2,4 บ้านม่วงหัก หมู่ 6 บ้านเขาไม้เดนบน หมู่ 7 บ้านม่วงหักบน และหมู่ 8 บ้านหางน้ำหนองแขม ตำบลม่วงหัก[16]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพยุหะ และสุขาภิบาลท่าน้ำอ้อย เป็นเทศบาลตำบลพยุหะ และเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย ตามลำดับ[17] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำอ้อย และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงหัก รวมกับเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย[18]
- วันที่ 27 มีนาคม 2556 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย เป็น เทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก[19]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอพยุหะคีรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 125 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | พยุหะ | (Phayuha) | 9 หมู่บ้าน | 7. | เขาทอง | (Khao Thong) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
2. | เนินมะกอก | (Noen Makok) | 12 หมู่บ้าน | 8. | ท่าน้ำอ้อย | (Tha Nam Oi) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
3. | นิคมเขาบ่อแก้ว | (Nikhom Khao Bo Kaeo) | 16 หมู่บ้าน | 9. | น้ำทรง | (Nam Song) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ม่วงหัก | (Muang Hak) | 10 หมู่บ้าน | 10. | เขากะลา | (Khao Kala) | 19 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ยางขาว | (Yang Khao) | 9 หมู่บ้าน | 11. | สระทะเล | (Sa Thale) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
6. | ย่านมัทรี | (Yan Matsi) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอพยุหะคีรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพยุหะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพยุหะ
- เทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงหักและตำบลท่าน้ำอ้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพยุหะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพยุหะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพยุหะ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินมะกอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมเขาบ่อแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่านมัทรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านมัทรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำทรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำทรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขากะลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระทะเลทั้งตำบล
คณะสงฆ์
[แก้]รายชื่อวัดในอำเภอพยุหะคีรี
[แก้]รายนาม | วัด | ปีที่ประจำตำแหน่ง |
---|---|---|
พระครูพยุหานุสาสน์ (เงิน) | วัดพระปรางค์เหลือง | พ.ศ. 2444 |
พระครูพยุหานุศาสก์ (สิทธิ์) | วัดบ้านบน | พ.ศ. 2451 |
พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) | วัดหนองโพ | พ.ศ. 2458 |
พระครูพยุหานุศาสก์ (ชิต ชิตจิตฺโต) | วัดยางขาว | พ.ศ. 2477 |
พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (บุญธรรม ธมฺมปฺปสาโท) | วัดเขาแก้ว | พ.ศ. 2502 |
พระครูนิทัศน์ธรรมเวที (ปลด ปิยธโร) ป.ธ.๕) | วัดเขาแก้ว | พ.ศ. 2523 |
พระครูปภัสสรธรรม (ละมัย ปภสฺสโร ป.ธ.๕) | วัดคลองบางเดื่อ | พ.ศ. 2552 |
พระครูนิภาธรรมวงศ์ (ประเทือง อริยวํโส)[21] | วัดเขาทอง | พ.ศ. 2562 |
โรงเรียนของรัฐ
[แก้]- โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม ต.เขากะลา[23]
- โรงเรียนเขาทองพิทยาคม ต.เขาทอง
- โรงเรียนพยุหะพิทยาคม ต.พยุหะ
- โรงเรียนพยุหะศึกษาคาร ต.พยุหะ
- โรงเรียนอนุบาลวัดพระปรางค์เหลือง ต.ม่วงหัก
- โรงเรียนบ้านใหม่ศึกษา ต.สระทะเล
- โรงเรียนบ้านย่านมัทรี ต.ย่านมัทรี
- โรงเรียนสามแยกเจ้าพระยา ต.ย่านมัทรี
- โรงเรียนประชาอุทิศ ต.ย่านมัทรี
- โรงเรียนวัดหนองกลอย ต.เขากะลา
โรงเรียนของเอกชน
[แก้]- โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว) ต.พยุหะ
- โรงเรียนอินทารามวิทยา ต.พยุหะ
การศึกษานอกระบบ
[แก้]- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพยุหะคีรี ต.พยุหะ[24]
มหาวิทยาลัย
[แก้]- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
การขนส่ง
[แก้]สถานีรถไฟ
[แก้]
สถานที่สำคัญ
[แก้]- เมืองโบราณโคกไม้เดน
- ท่าข้าวกำนันทรง เป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานโดย นายทรง องค์ชัยวัฒนะ[25]
- วัดเขาแก้ว วัดที่ประดิษฐานองค์จำลองสามหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์เป็นหินเขียวที่ใหญ่ที่สุด
- วัดอินทาราม วัดที่ประดิษฐานองค์พระพุทธสุธัมมโสภิต และที่ตั้งหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลพยุหะ
- วัดพระปรางค์เหลือง วัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสต้น
- วัดเขาทอง
- วัดหนองโพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 851–852. วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2480
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (49 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-6. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลหมู่บ้านในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (58 ง): 1460–1461. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2502
- ↑ "ประวัติอำเภอพยุหะคีรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลหัวหวาย อำเภอกิ่งตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งแยกตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 135. วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบลหนองโพ อำเภอพยุหคีรี ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอตาคลี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 826. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2480
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1753–1754. วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (16 ง): 1176–1177. วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2492
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพยุหะ อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 78-79. วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๐๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (41 ก): 373–382. วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (56 ง): 1651–1653. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (58 ง): 1639–1644. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (95 ง): 2801–2804. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 24–26. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (ตอนพิเศษ 40 ง): 19. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556
- ↑ http://nsn.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=192:2010-01-22-08-24-02&Itemid=361[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทำเนียบพระครูสัญญาบัตร คณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์
- ↑ รายชื่อโรงเรียน พร้อมสถานที่ตั้ง ในจังหวัดนครสวรค์
- ↑ ข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. ในจังหวัดนครสวรรค์
- ↑ จำนวนนักเรียน กศน.นครสวรรค์
- ↑ "พาณิชย์ปั้นท่าข้าว "กำนันทรง" ศูนย์กลางตลาดรับเสรีอาเซียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.