วัดอินทาราม (จังหวัดนครสวรรค์)
หน้าตา
วัดอินทาราม | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดอินทาราม |
ที่ตั้ง | เลขที่ 189 หมู่ 2 ตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูนิวิฐบุญขันธ์ (ฉลอง ผลปุญโญ)[1] |
เวลาทำการ | 06.00 -18.00 น. |
จุดสนใจ | พระพุทธสุธัมโมโสภิต |
กิจกรรม | ปฏิบัติธรรม ณ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลพยุหะ (อปต.พยุะ) |
การถ่ายภาพ | อนุญาตให้ถ่ายภาพได้ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นวัดประจำตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่บริเวณวัดติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นอดีตที่ตั้งของโรงเรียนอินทาราม
ประวัติ
[แก้]สันนิษฐานว่า วัดอินทารามนั้น ตั้งมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2123 สมัยอยุธยาเป็นราชธานี โดยมีเรื่องเล่าว่า วัดนี้เป็นที่สร้างโดยชาวมอญในสมัยที่ชาวมอญเรืองอำนาจ แต่จากการสันนิษฐานของกรมศิลปากร อาจจะสร้างในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา หรือกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานจาก อุโบสถหลังเก่า (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก[2][3]
ความสำคัญ
[แก้]- เป็นอดีตที่ตั้ง โรงเรียนอินทาราม
- เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลพยุหะ
- ภายในประดิษฐานพระพุทธสุธัมมโสภิต พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอพยุหะคีรี
- เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การศึกษาวัดอินทาราม [4]
- เป็นที่ตั้งสำนักงานเจ้าคณะตำบลพยุหะ-เนินมะกอก
คณะสังฆาธิการ
[แก้]- พระครูนิวิฐบุญขันธ์ (ฉลอง ผลปุญโญ) ตำแหน่ง เจ้าอาวาส,เจ้าคณะตำบลพยุหะ-เนินมะกอก,พระอุปัชฌาย์[5]
- พระประเสริฐ ญาณสุทโธ ตำแหน่ง เลขานุการเจ้าคณะตำบลพยุหะ-เนินมะกอก
อดีตพระสังฆาธิการ
[แก้]- พระครูนิภาธรโสภณ (ชี อินทังกโร) ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม,อดีตเจ้าคณะตำบลท่าน้ำอ้อย
- พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (เสียน สุธัมโม) ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม,อดีตเจ้าคณะตำบลพยุหะ-เนินมะกอก
- พระฉลวย อนลโส (ฉลวย อาภากร ณ อยุธยา) ตำแหน่ง อดีตรองเจ้าอาวาส,อดีตรักษาการเจ้าอาวาส
สถานที่
[แก้]- กุฏิคู่ (กุฏิเจ้าอาวาส)
- กุฏิอินทังกุโร (กุฏิที่ตั้งสำนักงานเจ้าคณะตำบลพยุหะ-เนินมะกอก)
- พิพิธภัณฑ์การศึกษาวัดอินทาราม
- ศูนย์การเรียนรู้ของโบราณ
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
[แก้]- ซากอุโบสถเก่าด้านทิศตะวันตกของวัด
- พระพุทธศิลาศักดิ์สิทธิ์
- พระพุทธรูปเจ้าคุณมณีรัตน์ (ปัจจุบันถูกขโมยไปแล้ว) [6]
ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | รวมเวลา |
1 | หลวงพ่อเฒ่าแก้ว[8] | ประมาณ พ.ศ. 2353 | พ.ศ. 2405 | 52 ปี |
2 | หลวงพ่อคง | ประมาณ พ.ศ. 2405 | พ.ศ. 2433 | 28 ปี |
3 | หลวงพ่อไข่ | ประมาณ พ.ศ. 2433 | พ.ศ. 2481 | 48 ปี |
4 | พระครูนิภาธรโสภณ (ชี อินทังกโร) | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2517 | 36 ปี |
5 | พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (เสียน สธัมโม) | 29 มกราคม พ.ศ. 2517 | 26 มกราคม พ.ศ. 2563 | 46 ปี |
6 | พระฉลวย อนลโส (รักษาการ) | 26 มกราคม พ.ศ. 2563 | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | 5 เดือน |
7 | พระประเสริฐ ญาณสุทโท (รักษาการ) | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | 1 กรกฎาคม 2563 | 27 วัน |
8 | พระครูนิวิฐบุญขันธ์ (ฉลอง ผลปุญโญ) | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระครูนิวิฐบุญขันธ์ (ฉลอง ผลปุญฺโญ) | พระสังฆาธิการ". sangkhatikan.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ประวัติวัดอินทาราม อนุสรณ์ครบ 5 รอบ พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ ,หน้า 10
- ↑ "ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์พาเยี่ยมวัดอินทาราม พยุหะคีรี เนื่องในวันธรรมสวนะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑ แหล่งเรียนรู้ในจังหวัดนครสวรรค์
- ↑ เขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ
- ↑ ล่าโจรบาปคราบผ้าเหลืองลักพระพุทธรูปกว่า 100 องค์
- ↑ ประวัติวัดอินทาราม อนุสรณ์ครบ 5 รอบ พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ ,หน้า 93
- ↑ หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ