สถานีช่องนนทรี

พิกัด: 13°43′25.63″N 100°31′46.00″E / 13.7237861°N 100.5294444°E / 13.7237861; 100.5294444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่องนนทรี
S3

Chong Nonsi
สถานีช่องนนทรีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′25.63″N 100°31′46.00″E / 13.7237861°N 100.5294444°E / 13.7237861; 100.5294444
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS3
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25642,710,252
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ศาลาแดง สายสีลม เซนต์หลุยส์
มุ่งหน้า บางหว้า
การเชื่อมต่ออื่น
สถานีก่อนหน้า รถโดยสารด่วนพิเศษ สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง   สายสาทร–ราชพฤกษ์
เชื่อมต่อที่ สาทร
  อาคารสงเคราะห์
มุ่งหน้า ราชพฤกษ์
ที่ตั้ง
แผนที่
ชานชาลาสถานีช่องนนทรี

สถานีช่องนนทรี (อังกฤษ: Chong Nonsi station; รหัส: S3) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับเหนือถนนนราธิวาสราชนครินทร์บริเวณใจกลางย่านธุรกิจถนนสาทรและสีลม ในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ที่สถานีสาทร

ที่ตั้ง[แก้]

อยู่บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ บริเวณซอยพิพัฒน์ 2 (ย่านการค้าซอยละลายทรัพย์) ระหว่างทางแยกสีลม–นราธิวาส กับทางแยกสาทร–นราธิวาส ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีสะพานทางเดินยกระดับข้ามทางแยกสาทร–นราธิวาส เชื่อมต่อกับรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ของกรุงเทพมหานครที่สถานีต้นทางสาทร บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้ถนนสาทรใต้

บริเวณที่ตั้งของสถานีช่องนนทรีถือเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ เนื่องจากประชาชนจากย่านถนนพระรามที่ 3 ในพื้นที่เขตยานนาวาสามารถเดินทางมาตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เข้าสู่ใจกลางเมืองได้โดยตรง จึงเคยมีการวางแผนให้สถานีแห่งนี้เป็นต้นทางของโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายช่องนนทรี–พระรามที่ 3 ตามแนวถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ได้ยกเลิกโครงการไปในเวลาต่อมา ก่อนที่จะเกิดเป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ตามแนวถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ในปัจจุบัน

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (เซนต์หลุยส์)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ศาลาแดง)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อมต่อรถโดยสารด่วนพิเศษ
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ซอยพิพัฒน์ 2, ทางแยกสาทร–นราธิวาส, ทางแยกสีลม–นราธิวาส
อาคารสาทรนคร, สาทรธานี คอมเพล็กซ์

รูปแบบของสถานี[แก้]

สกายวอล์กช่องนนทรี

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

อนึ่ง สถานีช่องนนทรีเป็นสถานีแห่งแรกที่มีการติดตั้งจอไดโอดเปล่งแสง (แอลอีดี) เหนือชานชาลาฝั่งละ 5 จอ ความยาวรวมฝั่งละ 45 เมตร โดยต่อมาได้มีการติดตั้งเพิ่มเติมที่สถานีศาลาแดง, อโศก และพร้อมพงษ์[1]

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 อาคารสาธรสแควร์ และโรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ (สะพานเชื่อม), ดิ อินฟินิตี้ โกลเด้นแลนด์, ดิ อินฟินิตี้
  • 2 อาคารสาธรธานี (สะพานเชื่อม), โรงแรมไอ-เรสซิเด้นท์ สีลม, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สำนักงานใหญ่, ถนนสาทร, โรงแรมฟูรามา เอกซ์คลูซีฟ สาทร (ทางเดินเชื่อมสะพานลอยต่อรถโดยสารด่วนพิเศษ)
  • 3 อาคารคิง เพาเวอร์ มหานคร (เดอะ เรสซิเดนเซส แอท คิง เพาเวอร์ มหานคร, โรงแรมเดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร, มหานครสกายวอล์ก), มหานคร คิวบ์ (สะพานเชื่อม), ป้ายรถประจำทางไปสีลม
  • 4 อาคารไดมอนด์ ทาวเวอร์, เชียงการีลา สวีท, โรงแรมเดอะเฮอริเทจ สีลม, ซอยพิพัฒน์ 2, พี.เอ็ม.ที แมนชั่น, โกลว์ ตรินิตี้ สีลม, ป้ายรถประจำทางไปสาทร (บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าสาธรสแควร์ และ ทางออก 3 หน้าอาคารคิง เพาเวอร์ มหานคร

สำหรับทางเข้า-ออกที่ 3 และ 4 นอกจากจะเชื่อมต่อกับทางเท้าสองฝั่งถนนนราธิวาสฯ แล้ว ยังมีบันไดทางลงสู่เกาะกลางถนนริมคลองช่องนนทรี ซึ่งสร้างเตรียมไว้เป็นหนึ่งในสถานีจอดรถในโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที (สายสาทร-ราชพฤกษ์) แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน เพราะกรุงเทพมหานครเกรงว่าการเดินรถผ่านทางแยกมารับผู้โดยสารใต้สถานี จะส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรทางแยกสาทร-นราธิวาสซึ่งติดขัดอยู่ก่อนแล้ว เส้นทางของรถโดยสารดังกล่าวจึงสิ้นสุดที่ทางแยกสาทร-นราธิวาสใกล้ถนนสาทรใต้เท่านั้น

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[2]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.39 00.24
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.45 00.05
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.52

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อาคารสูงและศูนย์การค้า[แก้]

โรงแรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "VGI เปิดตัวจอดิจิทัล IMMERSE ยาว 45 เมตร รองรับสื่อโฆษณาสุดครีเอทีฟ ปักหมุด BTS ใจกลางเมือง". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]