ข้ามไปเนื้อหา

สตรีบรรพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตรีบรรพ ในภาษาฮินดี
สตรีบรรพ ในภาษาฮินดี

สตรีบรรพ (อักษรโรมัน: Stri Parva, สันสกฤต: सौप्तिक पर्व) แปลว่า "บรรพแห่งผู้หญิง" เป็นหนังสือบรรพที่ 11 ของ มหาภารตะ ประกอบไปด้วย 2 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 27 ตอน[1][2][3][4] เป็นเรื่องราวของพระนางคานธารี นางกุนตี และหญิงคนอื่น ๆ ต่างโศกเศร้ากับความตายของเหล่านักรบทั้งสองฝ่าย[5][6][5][7] บรรพนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก เสาปติกบรรพ ส่วนบรรพต่อไปจากนี้คือ ศานติบรรพ

เนื้อเรื่อง และบรรพย่อย

[แก้]

สตรีบรรพ แปลว่า "บรรพแห่งผู้หญิง" เป็นหนังสือบรรพที่ 11 ของ มหาภารตะ ประกอบไปด้วย 2 บรรพย่อย รวมทั้งหมด 27 ตอน[1][8] ดังนี้[9]

  1. สตรีวิลาปบรรพ
  2. ชราประตนิกาบรรพ

กล่าวถึงเรื่องราวหลังจากสงครามยุติลงพวกปาณฑพได้พบกับท้าวธฤตราษฎร์และพระนางคานธารี ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเการพที่หลงเหลืออยู่เพียงสองคน ซึ่งทั้งสองก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และลืมความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแต่หนหลังจนหมดสิ้น[ต้องการอ้างอิง]

หลังจากนั้นบรรดาสตรีจากราชสำนักก็เดินทางออกจากกรุงหัสตินาปุระ ไปยังสมรภูมิรบพร้อม ๆ กันในการเดินทางไปยังสมรภูมิรบนั้น พระนางคานธารี ซึ่งเป็นแม่ของพวกพี่น้องเการพทั้งหนึ่งร้อยคน ซึ่งผูกผ้าปิดตามองไม่เห็นอะไรได้ฟังคำอธิบายถึงภาพอันเลวร้ายที่ลูกชายทั้งหมดนอนตายกลางสนามรบโดยมีสุนัขจิ้งจอก และสัตว์กินเนื้ออื่น ๆ มาแทะศพจนแหลกเหลว บรรดาลูกสะใภ้ของพระนางคานธารีต่างก็ร้องไห้ระงมกับศพของสามีแต่ละคน[1] สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความเสียใจให้กับพระนางคานธารีอย่างมากและถึงจุด ๆ หนึ่ง พระนางคานธารีก็หันมาทางพระกฤษณะพร้อมกับโทษว่ากฤษณะเป็นต้นตอของเรื่อง และโทษว่ากฤษณะไม่พยายามยุติความเลวร้ายที่เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้ พร้อมกับสาปแช่งพระกฤษณะว่านับจากนี้ไปเป็นเวลา 36 ปี พระกฤษณะกับบรรดาญาติพวกตระกูลยาทพจะต้องรบราฆ่าฟันกันเอง และสำหรับตัวพระกฤษณะนั้น พระนางคานธารีสาปให้ต้องรับกรรมด้วยการซัดเซพเนจรเข้าไปในป่าและจบชีวิตลงในป่าคนเดียวอย่างโดดเดี่ยว

เมื่อทุกคนคลายความเศร้าโศกตัดใจลงได้ การทำพิธีศพให้กับทุกคนก็ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ส่วนคนที่รอดตายจากสงครามก็พักผ่อนและล้างบาปกรรมของตัวเองด้วยการบำเพ็ญโยคะอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะเวลาหนึ่ง[2]

พระนางกุนตีได้เปิดเผยความเป็นมาที่แท้จริงของกรรณะให้กับพี่น้องปาณฑพได้ทราบ ผลก็คือทำให้พวกปาณฑพเสียใจเป็นอันมากที่ต้องมาฆ่าพี่ชายร่วมสายเลือดของตัวเอง[ต้องการอ้างอิง]


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Ganguli, K.M. (1883-1896) "Stri Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
  2. 2.0 2.1 Dutt, M.N. (1902) The Mahabharata (Volume 11): Stree Parva. Calcutta: Elysium Press
  3. van Buitenen, J.A.B. (1973) The Mahabharata: Book 1: The Book of the Beginning. Chicago, IL: University of Chicago Press, p 477
  4. Debroy, B. (2010) The Mahabharata, Volume 1. Gurgaon: Penguin Books India, pp xxiii - xxvi
  5. 5.0 5.1 Satya P. Agarwal (1 January 2002). Selections from the Mahābhārata: Re-affirming Gītā's Call for the Good of All. Motilal Banarsidass. pp. 123–. ISBN 978-81-208-1874-3. สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
  6. van Nooten, B. A. (1972) The Mahabharata. Twayne Publishers. ISBN 978-0805725643
  7. James L. Fitzgerald, The Mahabharata, Volume 7, University of Chicago Press, ISBN 0-226-25250-7, pages 27-74
  8. Stri Parva The Mahabharata, Translated by Manmatha Nath Dutt (1897)
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bd

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]