วิราฏบรรพ
วิราฏบรรพ (อักษรโรมัน: Virata Parva) แปลว่า "บรรพแห่งท้าววิราฏ" เป็นหนังสือบรรพที่ 4 ของ มหาภารตะ[1] ซึ่งในเรื่องนี้ประกอบด้วย 4 บรรพย่อย รวมทั้งสิ้น 72 ตอน[2][3][4][5] เป็นเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก วนบรรพ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงที่เหล่าปาณฑพพำนักในราชสำนักของท้าววิราฏในปีที่ 13 แห่งการเนรเทศ บรรพนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก วนบรรพ ส่วนบรรพต่อไปจากนี้คือ อุทโยคบรรพ
เนื้อเรื่อง และบรรพย่อย
[แก้]ในบรรพใหญ่นี้มี 4 บรรพย่อย รวมทั้งสิ้น 72 ตอน[2][3] ดังนี้
- ปาณฑพประเวศบรรพ (ตอนที่ 1 - 13)[3]
- กิชกะวาตบรรพ (ตอนที่ 14 - 24)[6]
- โกหรานะบรรพ (ตอนที่ 25 - 69)[3][7]
- ไววหิกะบรรพ (ตอนที่ 70 - 72)[6]
บรรพนี้กล่าวถึงเหตุการณ์เรื่องการลี้ภัยในป่าเป็นเวลาสิบสองปีของพี่น้องปาณฑพ ในที่สุดก็ครบกำหนด แต่ว่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ พวกปาณฑพจะต้องซ่อนตัวไม่ให้ใครจำได้อีกเป็นเวลาสิบสองเดือนถึงจะถือว่าทำครบถ้วนตามสัญญา
พวกปาณฑพเดินทางออกจากป่ามุ่งไปยังแคว้นมัสยะ แต่ก่อนจะถึงแคว้นมัสยะ ทั้งหมดได้เก็บซ่อนอาวุธไว้ในสุสานนอกเมือง และเข้าไปในแคว้นมัสยะเพื่อทำงานในราชสำนักของท้าววิราฎ โดยยุธิษฐิระทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของท้าววิราฎ ภีมะเป็นคนทำครัว อรชุนเป็นครูสอนเต้นระบำ ส่วนนกุลไปเป็นคนเลี้ยงม้า ในขณะที่สหเทพเป็นคนเลี้ยงวัว สำหรับพระนางเทราปตีไปเป็นนางกำนัลให้กับพระมเหสีของท้าววิราฎ
ในระหว่างที่อยู่ในราชสำนักเกิดเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง เมื่อน้องชายของพระมเหสีท้าววิราฎมาล่วงเกินพระนางเทราปตี เดือดร้อนถึงภีมะซึ่งเป็นนักมวยปล้ำต้องเข้ามาช่วยสังหารน้องชายของพระมเหสีท้าววิราฎจนตายไป แต่ถึงกระนั้น การปลอมตัวของพวกปาณฑพในราชสำนักแคว้นมัสยะก็ยังไม่เป็นที่รู้กัน จนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างแคว้นมัสยะกับแคว้นกุรุ พวกพี่น้องปาณฑพได้เข้าร่วมรบทำสงครามจนมีชัยชนะต่อกองทัพจากแคว้นตรีครรตะและแคว้นกุรุ ซึ่งมีทุรโยธน์พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพนำทัพมาด้วยตนเอง เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้พวกปาณฑพต้องเปิดเผยตัวเอง เพราะเข้าร่วมทำสงคราม และบังเอิญว่าเกิดขึ้นในช่วงเกือบจะสิ้นปีที่สิบสามอันเป็นปีสุดท้ายของการซ่อนตัวอย่างยาวนาน ทำให้เกิดปมประเด็นปัญหาว่าได้ทำตามสัญญาครบถ้วนหรือเปล่า[ต้องการอ้างอิง]
การเปิดเผยตัวของพวกปาณฑพ ก็ทำให้ท้าววิราฎยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้คบหากับพวกปาณฑพ เพราะนอกเหนือจากมีส่วนร่วมช่วยรบจนสามารถป้องกันจากการโจมตีของข้าศึกได้ ถึงขนาดยกลูกสาวคือ เจ้าหญิงอุตตระ ให้แต่งงานกับเจ้าชายอภิมันยุซึ่งเป็นลูกชายของอรชุนด้วย[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ van Buitenen, J.A.B. (1978) The Mahabharata: Book 4: The Book of the Virata; Book 5: The Book of the Effort. Chicago, IL: University of Chicago Press
- ↑ 2.0 2.1 Ganguli, K.M. (1883-1896) "Virata Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Dutt, M.N. (1896) The Mahabharata (Volume 4): Virata Parva. Calcutta: Elysium Press
- ↑ van Buitenen, J.A.B. (1973) The Mahabharata: Book 1: The Book of the Beginning. Chicago, IL: University of Chicago Press, p 476
- ↑ Debroy, B. (2010) The Mahabharata, Volume 1. Gurgaon: Penguin Books India, pp xxiii - xxvi
- ↑ 6.0 6.1 Virata Parva Mahabharata, Translated by Kisari Mohan Ganguli, Published by P.C. Roy (1884)
- ↑ Monier Williams (1868), Indian Epic Poetry, University of Oxford, Williams & Norgate - London, page 105-107
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Translation by Kisari Mohan Ganguli.
- Virata Parva, Translation in English, by Manmatha Nath Dutt
- Le Mahabharata, Translation in French, by H. Fauche (Paris, 1868)
- Virata Parva in Sanskrit by Vyasadeva and commentary by Nilakantha (Editor: Kinjawadekar, 1929)