วัดปรก
วัดปรก | |
---|---|
เจดีย์ทรงลังกา | |
ชื่อสามัญ | วัดปรก, วัดปรกยานนาวา |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1 ซอยเจริญราษฎร์ 3 ถนนเจริญราษฎร์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อเศียร |
เจ้าอาวาส | พระครูวิมลชัยธรรม |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดปรก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระครูวิมลชัยธรรมหรือพระอาจารย์วิชาญเป็นเจ้าอาวาส
วัดปรกสร้างขึ้นปี พ.ศ. 2470 โดยชาวมอญ ซึ่งอพยพมาจากเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า[1]
สถาปัตยกรรมของวัดมีรูปแบบศิลปะมอญ ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบหงสาวดี มีพระพุทธรูปหยกขาวและเจดีย์ทรงลังกาบรรจุพระบรมธาตุ มีอาคารสำหรับปฏิบัติวิปัสสนา ประตูทางเข้ามีเสาหงส์ตามรูปแบบวัดมอญ[2] สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดคือ หลวงพ่อเศียร ที่เล่ากันว่า มีเศียรพระลอยน้ำมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา มีการอัญเชิญขึ้นจากน้ำที่บริเวณหน้าวัดยานนาวา จากนั้นได้จับสลากว่าอยู่ใด ปรากฏว่าได้วัดปรก จึงนำเศียรพระมาปฏิสังขรณ์สร้างองค์พระรับกับเศียรเสร็จเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์ เรียกว่า พระเศียร วัดยังมีศาลเจ้าพ่อเทพาดำทุ่ง ในอดีตเป็นพระธุดงค์ผู้ทรงศีลมาถึงแก่มรณภาพที่วัดปรก ชาวบ้านจึงได้สร้างศาลไว้เคารพบูชา[3] นอกจากนี้ยังมีพระประจำวันเกิด ตั้งแต่จันทร์–อาทิตย์ ประดิษฐานอยู่โดยรอบองค์พระเจดีย์[4]
วัดยังอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีมอญ มีการสวดมนต์หรือการเทศนาของพระสงฆ์เป็นภาษามอญ การสอนภาษามอญ มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันชาติมอญที่จะจัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
-
อุโบสถ
-
พระประธานในอุโบสถ
-
บรรยากาศภายในอุโบสถ
-
เจดีย์ทรงลังกาในปี พ.ศ.2558
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วิปัสสนากรรมฐาน-วัดบรมสถล ประเพณีชาวมอญ-วัดปรก". สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ หนุ่มลูกทุ่ง (27 มกราคม 2552). "เที่ยว"สาทร" ย้อนอดีตบางกอก". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "วัดปรก". ศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑ "วัดปรก". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.