ข้ามไปเนื้อหา

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์
ระดับชั้นของยา
Class identifiers
Pronunciation/ˈɛnsɛd/ en-sed
SynonymsNonsteroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs), Nonsteroidal anti-inflammatory medicines (NSAIMs)
ใช้ในระงับปวด, ลดไข้, ต้านการอักเสบ, ต้านการแข็งตัวของเลือด
ATC codeM01A
Mechanism of actionยับยั้งเอนไซม์
Biological targetCOX-1 และ COX-2
In Wikidata

เอ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์

โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ

  1. แอสไพริน (aspirin)
  2. เมตทิล ซาลิไซเลต (methyl salicylate)
  3. ไดฟลูนิซาล (diflunisal)
  1. อินโดเมตทาซิน (indomethacin)
  2. ซูลินแนก (sulindac)
  3. ไดโคลฟีแนค (diclofenac)

โปรไพโอนิค (Propionic acid)

[แก้]
  1. ไอบูโปรเฟน (ibuprofen)
  2. คีโตโปรเฟน (ketoprofen)
  3. นาโปรเซน (naproxen)
  4. คีโตโรแลค (ketorolac)
  1. มีเฟนามิก แอซิด (mefanamic)
  2. โทเฟนามิก แอซิด (Tolfedine)
  1. ไพรอกซิแคม (piroxicam)
  2. มีลอกซิแคม (meloxicam)
  1. ซีลีโคซิบ (celecoxib)
  2. โรฟีโคซิบ (rofecoxib)
  3. วัลดีโคซิบ (valdecoxib)
  4. พารีโคซิบ (parecoxib)
  5. อิทอริค็อกสิบ (etoricoxib)
  1. นิมีซัลไลด์ (nimesulide)

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2

[แก้]

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAID) มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเปลี่ยน arachidonic acid ไปเป็น cyclic endoperoxides (PGG2 และ PGH2) โดยยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase เป็นผลทำให้การสร้าง prostaglandins ทุกชนิดน้อยลง เช่น PGE2, prostacyclin, thromboxane A2 เป็นต้น ซึ่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 ก็มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandins ซึ่งเป็นสารสื่อการอักเสบ (chemical mediators) ที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด การบวม อาการไข้ ร่วมกับสารสื่อการอักเสบชนิดอื่นๆ ซึ่งได้แก่ kinin, histamine, lymphokines, neuropeptide, leukotrienes, platelet activating factor (PAF) ผลิตภัณฑ์จากการทำลายเซลล์ เช่น oxygen free radical superoxide anion เป็นต้น โดยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์ cox-2 (cyclooxygenase II) มากกว่า cox-1 (cyclooxygenase I) เอนไซม์ cox-2 เป็นเอนไซม์ที่จะพบเมื่อเกิดการอักเสบ พบได้ที่สมอง ลำไส้ และมดลูก ทำให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 มีผลต่อกระเพาะอาหาร และไตน้อยกว่ายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งไม่จำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox ซึ่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์รุ่นดั้งเดิมซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งทั้งเอนไซม์ cox-1 และ cox-2

นอกจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 จะมีผลต่อกระเพาะอาหารต่ำแล้วยังมีค่าครึ่งชีวิตยาว ทำให้รับประทานยาน้อยครั้งลง จึงได้รับความร่วมมือในการรักษาจากผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ยากลุ่มนี้เหมาะที่จะใช้กับผู้ป่วยสูงอายุ แต่ต้องระวังในผู้ที่ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 ใช้ระงับการอักเสบ (anti-inflammation) ของเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูก บรรเทาอาการปวด(analgesic) และลดไข้(antipyretic)ได้จึงมักนำมาใช้ในการักษาในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคข้อเสื่อม, โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด, เก๊าต์อักเสบเฉียบพลัน และ musculoskeletal syndrome เป็นต้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ที่ใช้ในประเทศไทยได้แก่ ซีลีคอกซิบ, อิทอริค็อกสิบ, พารีโคซิบ, ลูมิราคอซิบ, นาบูมีโทน, มีลอกซิแคม และ นีเมซูไลด์

ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
Celebrex
Arcoxia
Prexige
Dynastat
Reliflex, Relafen, Aflex, Bumetone, Ensaid, Nabone, Naflex, Nametone
Mobic, Mobicox, Melobic, Melcam, Melox
Nidol, Emdon, Neptide, Nilid E, Nimil, Nimind CT, Nimlide, Nimo, Nimulid
แคปซูล
เม็ด
เม็ดเคลือบฟิล์ม
ฉีด
เม็ด
เม็ด, ฉีด
เม็ด, ซอง, ยาน้ำแขวนตะกอน
ขนาด และการบริหารยา
โรคข้อเสื่อม: 200 mg/วัน


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: 100-200 mg วันละ 2 ครั้ง
60,90,120 mg วันละครั้ง (ตามความรุนแรงของโรค )
โรคข้อเสื่อม: 100 mg วันละครั้ง


ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ: 200 หรือ 400 mg วันละครั้ง


อักเสบเฉียบพลัน: 400 mg วันละครั้ง
40 mg/vial ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ


ขนาดยา: 40 mg ตามด้วย 20-40 mg ทุก 6-12 ชั่วโมง


ขนาดยาสูงสุด: 80 mg/วัน
1,000 mg/วัน (มากสุด 1.5 กรัม) x ก่อนนอน
7.5-15 mg/วัน
เม็ด, ซอง: 100-200 mg วันละสองครั้ง


ยาน้ำแขวนตะกอน: เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ทาน 10 mL


ความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์
C, C, D
ไม่มีข้อมูลยืนยัน
ไม่มีข้อมูลยืนยัน
ไม่มีข้อมูลยืนยัน
C, C, D
C, C, D
X
ปวดศีรษะ, ท้องอืด, อาหารไม่ย่อย, ท้องร่วง, ปลายมือ ปลายเท้าบวม, นอนไม่หลับ, คลื่นไส้, วิงเวียน, ผื่นผิวหนัง, ปวดท้อง, ปวดหลัง
อาการคล้ายโรคหวัด, ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน(เช่น หลอดลมอักเสบ), ปวดศีรษะ, วิงเวียน, ปวดท้อง, อาหารไม่ย่อย, ท้องร่วง, คลื่นไส้อาเจียน, ท้องอืด, อ่อนเพลีย, บวมน้ำ
ความดันโลหิตสูง/ต่ำ, ปวดหลัง, นอนไม่หลับ, ปลายมือ ปลายเท้าบวม, อาหารไม่ย่อย, ท้องอืด, ค่าครีเอตินินสูงขึ้น, ต่อมทอนซิลอักเสบ, โพแทสเซียมในเลือดต่ำ, คัน, ปัสสาวะน้อยผิดปกติ
อาหารไม่ย่อย, ท้องร่วง, ปวดท้อง, ปวดแสบยอดอก, คลื่นไส้อาเจียน, วิงเวียน, ปวดศีรษะ, อ่อนเพลีย, นอนไม่หลับ
ปวดแสบยอดอก, คลื่นไส้, ปวดกระเพาะอาหาร, ผื่นขึ้น, ปวดศีรษะ, วิงเวียน, ครึ่งหลับครึ่งตื่น, ปัสสาวะน้อยผิดปกติ, บวมน้ำ, มีจุดแดงตามตัว จ้ำตามผิวหนัง, เกล็ดเลือดต่ำ, มีอาการแพ้อย่างรุนแรง


11
22
3-6
-
> 24
-
-
หมายเหตุ
เป็นอนุพันธ์ของกลุ่มซัลฟา ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร และระดับยาในเลือดสูงสุดภายหลังการรับประทานยา 2-4 ชั่วโมง
เป็นรุ่นที่สองของชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับ cox-2 ถูกเมตาบอไลท์โดย CYP 3A4 และถูกขับออกทางปัสสาวะ
มีสูตรโครงสร้างคล้ายไดโคลฟีแนค ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร ระดับยาในเลือดสูงสุดภายหลังการรับประทานยา 1-3 ชั่วโมง ถูกเมตาบอไลท์โดย CYP 2C9 ถูกขับออกทางปัสสาวะ และอุจจาระ
-
เป็น prodrug มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cox อย่างอ่อน แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็น 6-MNA ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cox ได้แรง
เป็นยาในกลุ่มอ๊อกซิแคม
เป็นอนุพันธ์ของกลุ่มซัลฟา


หมายเหตุ: การอ่านความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ เช่น C, C, D

  • C ตำแหน่งแรก หมายถึง ไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์
  • C ตำแหน่งสอง หมายถึง ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
  • D ตำแหน่งสาม หมายถึง ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 ที่ถูกถอนออกจากตลาด ได้แก่ Rofecoxib, Valdecoxib ถูกถอนออกจากตลาด เนื่องจากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจได้

การใช้ยาเอ็นเซด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Bombardier C, Laine L, Reicin A, Shapiro D, Burgos-Vargas R, Davis B, Day R, Ferraz MB, Hawkey CJ, Hochberg MC, Kvien TK, Schnitzer TJ, VIGOR Study Group. Comparison of upper gastrointestinal toxicity of rofecoxib and naproxen in patients with rheumatoid arthritis. N Engl J Med 2000;343 (21) :1520-8. PMID 11087881.
  • Chandrasekharan NV, Dai H, Roos KL, Evanson NK, Tomsik J, Elton TS, Simmons DL. COX-3, a cyclooxygenase-1 variant inhibited by acetaminophen and other analgesic/antipyretic drugs: cloning, structure, and expression. Proc Natl Acad Sci U S A 2002;99:13926-31. PMID 12242329.
  • Green GA. Understanding NSAIDS: from aspirin to COX-2. Clin Cornerstone 2002;3:50-59. PMID 11464731.
  • Moore DE. Drug-induced cutaneous photosensitivity. Drug Safety 2002;25:345-72. PMID 12020173.
  • Rossi S (Ed.) (2004). Australian Medicines Handbook 2004. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-4-2.
  • Thomas MC. Diuretics, ACE inhibitors and NSAIDs - the triple whammy. Med J Aust 2000;172:184-185. PMID 10772593.