ข้อเสื่อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรคข้อเสื่อม)
ข้อเสื่อม
(Osteoarthritis)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10M15-M19, M47
ICD-9715
OMIM165720
DiseasesDB9313
MedlinePlus000423
eMedicinemed/1682 orthoped/427 pmr/93 radio/492
MeSHD010003

ข้อเสื่อม (อังกฤษ: Arthrosis, Osteoarthritis; OA) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมจากการใช้งานของข้อต่อ[1] ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อและมีการเจริญงอกเกินของกระดูก ซึ่งมักจะมีอาการปวดข้อ ข้อยึดติดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังไม่ได้ทำกิจกรรม เคลื่อนไหวข้อได้ลดลง อาจมีเสียงกรอบแกรบที่ข้อ อาจพบข้อบวมหรือข้ออักเสบได้ ข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด[2]

การรักษาโรคข้อเสื่อมทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ ลดน้ำหนัก ออกกำลังให้พอเหมาะไม่ใช้ข้อมากเกินไป เช่น การว่ายน้ำ การเดิน พักผ่อนให้เพียงพอ กายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้และให้กล้ามเนื้อมีกำลัง ส่วนการใช้ยาสามารถใช้พาราเซตามอลเพื่อระงับอาการปวด ซึ่งนับเป็นยาหลักที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม[3] อาจใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ระงับอาการปวดและการอักเสบ ส่วนการใช้สเตอรอยด์ชนิดรับประทานไม่แนะนำเพราะมีผลข้างเคียงสูง แต่การฉีดสเตอรอยด์เข้าข้อช่วยระงับปวดในระยะสั้นเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน[4] การฉีดกรดไฮยาลูโรนิกเข้าข้อจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมในปี ค.ศ. 2005 และ 2009 ไม่พบว่าทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้น[5][6] การผ่าตัดเปลี่ยนข้อจะทำเมื่อการให้ยาควบคุมอาการปวดไม่ได้ผล

อ้างอิง[แก้]

  1. Osteoarthritis at Dorland's Medical Dictionary
  2. Conaghan, Phillip. "Osteoarthritis - National clinical guideline for care and management in adults" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.
  3. Zhang W, Moskowitz RW, Nuki G; และคณะ (September 2007). "OARSI recommendations for the management of hip and knee osteoarthritis, part I: critical appraisal of existing treatment guidelines and systematic review of current research evidence". Osteoarthr. Cartil. 15 (9): 981–1000. doi:10.1016/j.joca.2007.06.014. PMID 17719803.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Arroll B, Goodyear-Smith F (April 2004). "Corticosteroid injections for osteoarthritis of the knee: meta-analysis". BMJ. 328 (7444): 869. doi:10.1136/bmj.38039.573970.7C. PMC 387479. PMID 15039276.
  5. Arrich J, Piribauer F, Mad P, Schmid D, Klaushofer K, Müllner M (April 2005). "Intra-articular hyaluronic acid for the treatment of osteoarthritis of the knee: systematic review and meta-analysis". CMAJ. 172 (8): 1039–43. doi:10.1503/cmaj.1041203. PMC 556045. PMID 15824412.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Richette P, Ravaud P, Conrozier T; และคณะ (March 2009). "Effect of hyaluronic acid in symptomatic hip osteoarthritis: a multicenter, randomized, placebo-controlled trial". Arthritis Rheum. 60 (3): 824–30. doi:10.1002/art.24301. PMID 19248105.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)