นาพรอกเซน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /nəˈprɒksən/ |
ชื่อทางการค้า | Aleve, Naprosyn, others[2][3] |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a681029 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | โดยการรับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 95% (โดยการรับประทาน) |
การจับกับโปรตีน | 99% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ (เป็น 6-desmethylnaproxen) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 12–17 ชั่วโมง (ผู้ใหญ่)[6] |
การขับออก | ไต |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.040.747 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C14H14O3 |
มวลต่อโมล | 230.263 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 152–154 องศาเซลเซียส (306–309 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
| |
(verify) | |
นาพรอกเซน (อังกฤษ: Naproxen มีชื่อทางการค้าดังนี้: Aleve, Anaprox, Naprosyn, Naprelan) เป็นยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ที่ใช้ลดอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ลดไข้ การอักเสบ อาการตัวแข็งอันเนื่องจากข้อต่ออักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคเกาต์ โรคข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง ตะคริวระดู เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ถุงน้ำเลี้ยงภายในข้อต่ออักเสบ และใช้รักษาอาการปวดระดู[7] ให้ทางปากโดยการกิน[7] ซึ่งมีในรูปแบบยาปลดปล่อยทันทีและรูปแบบยาปลดปล่อยแบบชะลอ[7] ออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมงและช่วงเวลาออกฤทธิ์นานถึงสิบสองชั่วโมง[7]
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ฟกช้ำ อาการแพ้ แสบร้อนกลางอก และปวดท้อง[7] ผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เลือดออกในทางเดินอาหาร และแผลในกระเพาะอาหาร[7] ความเสี่ยงของโรคหัวใจอาจต่ำกว่ายากลุ่มเอ็นเสดอื่น ๆ[7] ไม่แนะนำในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต[7] และไม่แนะนำให้ใช้ในระยะตอนปลายของการตั้งครรภ์[7]
นาพรอกเซนเป็นสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (COX) อย่างไม่จำเพาะ[7] นาพรอกเซนเป็นยากลุ่มเอ็นเสดที่จะออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยลดการผลิตพรอสตาแกลนดินซึ่งเป็นสารสื่อกลางการอักเสบ[8] ยาถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับไปเป็นสารมัธยันตร์ที่ไม่ออกฤทธิ์[7]
นาพรอกเซนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2510 และได้รับการอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2519[7][9][10] ในสหรัฐมีจำหน่ายโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งยา (OTC) และเป็นยาสามัญ[7][11] เป็นยาที่สั่งจ่ายมากที่สุดลำดับที่ 91 ในสหรัฐในปี พ.ศ. 2563 โดยมีใบสั่งยามากกว่า 8 ล้านรายการ[12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Naproxen Use During Pregnancy". Drugs.com. 13 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2019.
- ↑ "Naproxen". Drugs.com. 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ "Naproxen international". Drugs.com. 7 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2021.
- ↑ Gill, A, บ.ก. (กรกฎาคม 2013). Standard for the Uniform Scheduling of Medicines and Poisons No. 4 (PDF). The Poisons Standard 2013. Therapeutic Goods Administration. ISBN 978-1-74241-895-7.
- ↑ "Boots Period Pain Relief 250 mg Gastro-Resistant Tablets - Summary of Product Characteristics (SmPC)". emc. 4 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2023.
- ↑ Angiolillo DJ, Weisman SM (เมษายน 2017). "Clinical Pharmacology and Cardiovascular Safety of Naproxen". American Journal of Cardiovascular Drugs. 17 (2): 97–107. doi:10.1007/s40256-016-0200-5. PMC 5340840. PMID 27826802.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 "Naproxen Monograph for Professionals". Drugs.com. AHFS. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2018.
- ↑ McEvoy GK (2000). AHFS Drug Information, 2000. American Society of Health-System Pharmacists. p. 1854. ISBN 978-1-58528-004-9.
- ↑ "Naprosyn- naproxen tablet EC-Naprosyn- naproxen tablet, delayed release Anaprox DS- naproxen sodium tablet". DailyMed. 1 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2019.
- ↑ Fischer J, Ganellin CR (2006). Analogue-based Drug Discovery. John Wiley & Sons. p. 520. ISBN 978-3-527-60749-5.
- ↑ "Medicines A to Z – Naproxen". NHS. National Health Service. 24 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2020.
- ↑ "The Top 300 of 2020". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Naproxen - Drug Usage Statistics". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Naproxen sodium, Drug Information Portal, U.S. National Library of Medicine
- Naproxen, MedlinePlus
- FDA Statement on Naproxen, U.S. Food and Drug Administration, 20 ธันวาคม 2004
- Alzheimer's Disease Anti-Inflammatory Prevention Trial, ClinicalTrials.gov