กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด
กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing spondylitis) | |
---|---|
ชื่ออื่น | โรคเบคเทเรฟ (Bekhterev's disease), โรคเบเทเรว (Bechterew's disease), มอร์บุสเบคเทเรว (morbus Bechterew), โรคเบคเทเรฟ-ชตรึมเพล-แมรี (Bekhterev-Strümpell-Marie disease), โรคแมรี (Marie's disease), โรคข้ออักเสบแมรี-ชตรึมเพล (Marie–Strümpell arthritis), โรคปีแอร์-แมรี (Pierre–Marie's disease)[1] |
โครงกระดูกในศตวรรษที่ 6 แสดงให้เห็นกระดูกสันหลังที่หลอมรวมกัน เป็นอาการแสดงของโรค AS ชนิดรุนแรง | |
สาขาวิชา | วิทยารูมาติก |
อาการ | ปวดหลัง, ข้อฝืด[2] |
การตั้งต้น | วัยหนุ่มสาว[2] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[2] |
สาเหตุ | ไม่ทราบ[2] |
วิธีวินิจฉัย | ตามอาการ, การถ่ายภาพทางการแพทย์, การตรวจเลือด[2] |
การรักษา | ยา, การออกกำลังกาย และการผ่าตัด[2] |
ยา | เอ็นเสด, สเตียรอยด์, ดีมาร์ด[2] |
ความชุก | 0.1 to 1.8%[3] |
กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (อังกฤษ: Ankylosing spondylitis; AS) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่มีการอักเสบของข้อต่อของกระดูกสันหลังในระยะยาว[2] โดยทั่วไปแล้วข้อต่อที่กระดูกสันหลังรวมกับเชิงกรานก็จะได้รับผลกระทบ ข้อต่ออื่น ๆ เช่นไหล่หรือสะโพกมีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว ปัญหาเกี่ยวกับตาและลำไส้อาจเกิดขึ้นได้ อาการปวดหลังเป็นลักษณะเฉพาะของ AS และมักจะเกิดขึ้นแบบมาและไป[2] ความฝืดของข้อต่อที่ได้รับผลกระทบโดยทั่วไปแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป[2][4]
แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่ก็เชื่อว่าจะเกี่ยวข้องกับการปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มากกว่า 90% ของผู้ที่ได้รับผลกระทบมีแอนติเจนของเม็ดเลือดขาวเฉพาะของมนุษย์ที่เรียกว่า HLA B27[5] กลไกพื้นเดิมเชื่อว่าเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง หรือ การอักเสบต่อตนเอง[6] โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับอาการด้วยการสนับสนุนจากการถ่ายภาพทางการแพทย์และการทดสอบเลือด[2]
โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด การรักษามีทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด การรักษาโดยใช้ยาจะมุ่งเน้นไปที่การลดปวดและอาการร่วม รวมถึงหยุดไม่ให้โรคดำเนินไปโดยต้านกระบวนการการอักเสบในระยะยาว ยาที่มักใช้ในโรคนี้ เช่น เอ็นเสด, ตัวยับยั้งทีเอ็นเอฟ, ยาต้าน IL-17 แลด ดีมาร์ด การฉีดสเตียรอยด์มักใช้ในกรณีที่เกิดอาการขึ้นมาฉับพลันและรุนแรง[7]
ความชุกของโรคในประชากรอยู่ที่ราว 0.1% ถึง 0.8% โดยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[3][2] ทั้งเพศชายและหญิงสามารถพบโรคนี้ได้ โดยผู้หญิงมีแนวโน้มจะเกิดลักษณะการอักเสบมากกว่าการยึดติดของโรค[8] สำหรัชความชุกของโรคในประเทศไทยมีอยู่ที่ 0.12% (ปี 1998)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Matteson, E. L.; Woywodt, A. (2006-11-01). "Eponymophilia in rheumatology". Rheumatology (ภาษาอังกฤษ). 45 (11): 1328–1330. doi:10.1093/rheumatology/kel259. ISSN 1462-0324. PMID 16920748.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Questions and Answers about Ankylosing Spondylitis". NIAMS. มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2016.
- ↑ 3.0 3.1 Khan MA (2009). Ankylosing Spondylitis (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 15. ISBN 9780195368079. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
- ↑ "Ankylosing spondylitis". GARD. 9 กุมภาพันธ์ 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2016.
- ↑ Sheehan, NJ (January 2004). "The ramifications of HLA-B27". Journal of the Royal Society of Medicine. 97 (1): 10–4. doi:10.1258/jrsm.97.1.10. PMC 1079257. PMID 14702356.
- ↑ Smith, JA (January 2015). "Update on ankylosing spondylitis: current concepts in pathogenesis". Current allergy and asthma reports. 15 (1): 489. doi:10.1007/s11882-014-0489-6. PMID 25447326.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ "Facts and Figures". National Axial Spondyloarthritis Society (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ Chaiamnuay P, Darmawan J, Muirden KD, Assawatanabodee P. Epidemiology of rheumatic disease in rural Thailand: a WHO-ILAR COPCORD study. Community Oriented Programme for the Control of Rheumatic Disease. J Rheumatol. 1998;25(7):1382‐1387
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ที่เว็บไซต์ Curlie
- Questions and Answers about Ankylosing Spondylitis - US National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases
- สมาคมโรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึดติดแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2021-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |