ข้ามไปเนื้อหา

มุฮัมมัดในศาสนาอิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิมามุลอันบิยาอ์
เราะซูลุลลอฮ์

มุฮัมมัด
مُحَمَّد
"มุฮัมมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ์"
ภาพถ่ายที่ประตูมัสยิดอันนะบะวีในเมืองมะดีนะฮ์
ศาสนทูตของอิสลาม
ก่อนหน้าอีซา (พระเยซู)
ถัดไปไม่มี
คำนำหน้าชื่อคอตะมุนนะบียีน ('ตราประทับของศาสดา')
ชื่ออื่นดู ชื่อและสมญานามของมุฮัมมัด
ส่วนบุคคล
เกิดวันจันทร์ที่ 12 เราะบีอุลเอาวัล 53 ปีก่อน ฮ.ศ. (ป. 21 เมษายน ค.ศ. 570) หรือ วันเสาร์ที่ 17 เราะบีอุลเอาวัล 53 ปีก่อน ฮ.ศ. (ป. 26 เมษายน ค.ศ. 570)
มรณภาพวันจันทร์ที่ 12 เราะบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 11 (8 มิถุนายน ค.ศ. 632)
มะดีนะฮ์ รัฐอิสลามมะดีนะฮ์
ที่ฝังศพโดมเขียว มัสยิดอันนะบะวี มะดีนะฮ์
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสดู ภรรยาของมุฮัมมัด
บุตรดู ลูกของมุฮัมมัด
บุพการี
ผลงานโดดเด่นรัฐธรรมนูญมะดีนะฮ์
ชื่ออื่นดู ชื่อและสมญานามของมุฮัมมัด
ญาติดู พงศาวลีของมุฮัมมัด, อะฮ์ลุลบัยต์
ตำแหน่งชั้นสูง
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมาดู ผู้สืบทอดของมุฮัมมัด

ในศาสนาอิสลาม มุฮัมมัด (อาหรับ: مُحَمَّد) ได้รับการยกย่องเป็นตราประทับของศาสดาและอันนูร ผู้ถ่ายทอดพระวจนะนิรันดร์ของอัลลอฮ์ (กุรอาน) จากทูตสวรรค์ ญิบรีล แก่มนุษยชาติและญิน[1] มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอาน คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ได้รับการเปิดเผยแก่มุฮัมมัดโดยพระผู้เป็นเจ้า และมุฮัมมัดถูกส่งมาเพื่อชี้นำผู้คนสู่อิสลาม ซึ่งเชื่อว่าไม่ได้เป็นศาสนาใหม่ แต่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของมนุษยชาติ (ฟิฏเราะฮ์) ที่ไม่ถูกบิดเบือน และศาสดาก่อนหน้าอย่างอาดัม อิบรอฮีม มูซา และอีซา ก็นับถือความเชื่อเดียวกัน[2][3][4][5] หลักศาสนา สังคม และการเมืองที่มุฮัมมัดกำหนดไว้ด้วยอัลกุรอานกลายเป็นรากฐานของศาสนาอิสลามและโลกมุสลิม[6]

ตามธรรมเนียมมุสลิม มุฮัมมัดได้รับวะฮ์ยูครั้งแรกตอนอายุ 40 ปีในถ้ำฮิรออ์ที่มักกะฮ์ หลังจากนั้น ท่านจึงเริ่มสั่งสอนความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อล้มล้างความงมงายในอาระเบียก่อนอิสลาม[7][8] สิ่งนี้นำให้ชาวมักกะฮ์เริ่มต่อต้าน โดยมีอะบูละฮับกับอะบูญะฮล์เป็นศัตรูของมุฮัมมัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในธรรมเนียมอิสลาม นำไปสู่การกดขี่มุฮัมมัด และผู้ที่เป็นมุสลิมอพยพไปยังมะดีนะฮ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้รู้จักกันในชื่อฮิจเราะห์[9][10] จนกระทั่งมุฮัมมัดเริ่มสู้กลับพวกบูชารูปเคารพแห่งมักกะฮ์ในยุทธการที่บัดร์กึ่งตำนาน ซึ่งธรรมเนียมอิสลามระบุว่าไม่เพียงแต่จะเป็นการต่อสู้ระหว่างชาวมุสลิมกับผู้นับถือพระเจ้าหลายองค์ในยุคก่อนอิสลามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระหว่างทูตสวรรค์ฝ่ายมุฮัมมัดกับเหล่าเทพเจ้าและญินที่เข้าข้างพวกมักกะฮ์ด้วย หลังได้รับชัยชนะ เชื่อกันว่ามุฮัมมัดได้ชำระล้างอาระเบียจากการนับถือพระเจ้าหลายองค์ และแนะนำให้ผู้ติดตามของเขาละทิ้งการบูชารูปเคารพเพื่อความเป็นเอกภาพของพระเจ้า

มุฮัมมัดในฐานะผู้แสดงให้เห็นถึงการนำทางของพระผู้เป็นเจ้าและแบบอย่างของการละทิ้งการบูชารูปเคารพ ได้รับความเข้าใจว่าเป็นตัวอย่างที่เป็นแบบอย่างในเรื่องคุณธรรม จิตวิญญาณ และความเป็นเลิศทางศีลธรรม[11] มีการแสดงออกทางจิตวิญญาณของท่านในการเดินทางสู่ชั้นฟ้าทั้ง 7 (เมียะอ์รอจญ์) พฤติกรรมและคำแนะนำของท่านกลายเป็นที่รู้จักในนามซุนนะฮ์ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้จริงตามคำสอนของมุฮัมมัด นอกจากนี้ มุฮัมมัดได้รับการยกย่องด้วยตำแหน่งและชื่อหลายแบบ เพื่อเป็นการให้เกียรติและกล่าวทัก มุฮัมมัดจะเรียกชื่อมุฮัมมัดพร้อมคำให้พรภาษาอาหรับว่า "ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" ("ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงอำนวยพรและทรงประทานความสันติแก่ท่าน")[12] บางครั้งย่อเป็น "ศ็อลฯ" มุสลิมมักเรียกมุฮัมมัดเป็น "ศาสดามุฮัมมัด" หรือแค่ "ท่านศาสดา" และถือว่าเป็นคนที่ดีเยี่ยมที่สุดในบรรดาศาสนทูตทั้งหมด[2][13][14][15]

ในอัลกุรอาน

[แก้]

ความเคารพ

[แก้]

มุสลิมให้ความเคารพแก่มุฮัมมัดเป็นอย่างสูง[16] และบางคนถือว่าเป็นผู้ที่ดีที่สุดในบรรดาศาสนทูตทั้งหมด[2][13][14]

เมื่อพูดถึงท่าน มุสลิมจะเพิ่มตำแหน่ง "ศาสดา" หรือ "นบี" ข้างหน้ามุฮัมมัด และตามด้วยคำสรรเสริญ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (صَلّى الله عليه وسلّم, "ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน") เสมอ[12] บางครั้งเขียนในรูปย่อเป็น

มุสลิมไม่สักการะมุฮัมมัด เนื่องจากการสักการะในศาสนาอิสลามเป็นของพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น[14][17][18]

สัตว์

[แก้]

การแสดงภาพ

[แก้]

แม้ว่าศาสนาอิสลามประณามการแสดงภาพความเป็นพระเจ้าอย่างชัดแจ้งเท่านั้น ข้อห้ามดังกล่าวยังได้ขยายไปถึงศาสนทูตและนักบุญ และสำหรับชาวอาหรับนิกายซุนนี ครอบคลุมไปถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตาม[19] แม้ว่าทั้งสำนักกฎหมายซุนนีและนิติศาสตร์ชีอะฮ์จะห้ามมิให้พรรณนาภาพมุฮัมมัดเป็นรูปเป็นร่างเหมือนกัน[20] การวาดภาพมุฮัมมัดปรากฏในตำราอาหรับและตุรกีออตโตมัน และรุ่งเรื่องเป็นการเฉพาะในสมัยจักรวรรดิข่านอิล (1256–1353), เตมือร์ (1370–1506) และซาฟาวิด (1501–1722) เนื่องจากมุฮัมมัดได้รับการอธิบายว่ามีใบหน้าสว่างดั่งแสง ใบหน้าของมุฮัมมัดในภาพวาดมักถูกแสงบัง หรือถ้าไม่มีแสงก็จะคลุมใบหน้าแทน[21]

แต่นอกจากข้อยกเว้นที่สำคัญและในอิหร่านสมัยใหม่[22] การวาดภาพมุฮัมมัดเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยพบเห็น แต่ถ้ามีการวาด ส่วนใหญ่ก็จะคลุมใบหน้า[23][24]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Theuma, Edmund. "Qur'anic exegesis: Muhammad & the Jinn." (1996).
  2. 2.0 2.1 2.2 Esposito, John (1998). Islam: The Straight Path. Oxford University Press. p. 12. ISBN 978-0-19-511233-7.
  3. Esposito (2002b), pp. 4–5.
  4. Peters, F.E. (2003). Islam: A Guide for Jews and Christians. Princeton University Press. p. 9. ISBN 978-0-691-11553-5.
  5. Esposito, John (1998). Islam: The Straight Path (3rd ed.). Oxford University Press. pp. 9, 12. ISBN 978-0-19-511234-4.
  6. "Muhammad (prophet)". Microsoft® Student 2008 [DVD] (Encarta Encyclopedia). Redmond, WA: Microsoft Corporation. 2007.
  7. Muir, William (1861). Life of Mahomet. Vol. 2. London: Smith, Elder, & Co. p. 55.
  8. Shibli Nomani. Sirat-un-Nabi. Vol 1 Lahore.
  9. Hitti, Philip Khuri (1946). History of the Arabs. London: Macmillan and Co. p. 116.
  10. "Muhammad". Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica, Inc. 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2013. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  11. Matt Stefon, บ.ก. (2010). Islamic Beliefs and Practices. New York City: Britannica Educational Publishing. p. 58. ISBN 978-1-61530-060-0.
  12. 12.0 12.1 Matt Stefon (2010). Islamic Beliefs and Practices, p. 18
  13. 13.0 13.1 Morgan, Garry R (2012). Understanding World Religions in 15 Minutes a Day. Baker Books. p. 77. ISBN 978-1-4412-5988-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  14. 14.0 14.1 14.2 Mead, Jean (2008). Why Is Muhammad Important to Muslims. Evans Brothers. p. 5. ISBN 978-0-237-53409-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  15. Riedling, Ann Marlow (2014). Is Your God My God. WestBow Press. p. 38. ISBN 978-1-4908-4038-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  16. Rippin, Andrew (2005). Muslims: Their Religious Beliefs and Practices. Routledge. p. 200. ISBN 978-0-415-34888-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-29.
  17. Morgan, Diane (2010). Essential Islam: A Comprehensive Guide to Belief and Practice. ABC-CLIO. p. 101. ISBN 978-0-313-36025-1.
  18. Khan, Arshad (2003). Islam, Muslims, and America: Understanding the Basis of Their Conflict. New York City: Algora Publishing. ISBN 978-0-87586-194-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-27.
  19. Titus Burckhardt The Void in Islamic Art Studies in Comparative Religion, Vol. 16, No. 1 & 2 (Winter-Spring, 1984 p. 2
  20. Arnold, T. W. (June 1919). "An Indian Picture of Muhammad and His Companions". The Burlington Magazine for Connoisseurs. The Burlington Magazine for Connoisseurs, No. 195. 34 (195): 249–252. JSTOR 860736.
  21. Gruber, Christiane. "Between logos (Kalima) and light (Nūr): representations of the Prophet Muhammad in Islamic painting." Muqarnas, Volume 26. Brill, 2009. 229-262.
  22. Christiane Gruber: Images of the Prophet In and Out of Modernity: The Curious Case of a 2008 Mural in Tehran, in Christiane Gruber; Sune Haugbolle (17 July 2013). Visual Culture in the Modern Middle East: Rhetoric of the Image. Indiana University Press. pp. 3–31. ISBN 978-0-253-00894-7.
  23. Arnold, Thomas W. (2002–2011) [First published in 1928]. Painting in Islam, a Study of the Place of Pictorial Art in Muslim Culture. Gorgias Press LLC. pp. 91–9. ISBN 978-1-931956-91-8.
  24. Dirk van der Plas (1987). Effigies dei: essays on the history of religions. BRILL. p. 124. ISBN 978-90-04-08655-5. สืบค้นเมื่อ 14 November 2011.

บรรณานุกรม

[แก้]