ศอลิฮ์
ศอเลียะห์, ศอลิห์, ซอและห์ | |
---|---|
صَالِحٌ | |
ชื่อของท่านในอักษรวิจิตรอิสลาม | |
สุสาน | ฮาซิก (ปัจจุบันคือประเทศโอมาน) |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | ฮูด |
ผู้สืบตำแหน่ง | อิบรอฮีม (อับราฮัม) |
ญาติ | ษะมูด |
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
ศอเลียะห์ (อาหรับ: صَالِحٌ, อักษรโรมัน: Ṣāliḥ, แปลตรงตัว 'เคร่งศาสนา') เป็นนบีที่ถูกกล่าวในอัลกุรอานกับคัมภีร์ศาสนาบาไฮ[1][2] ซึ่งเผยแผ่หลักคำสอนแก่ชนเผ่าษะมูด[3][4][5]ในอาระเบียโบราณก่อนช่วงชีวิตของศาสดามุฮัมมัด เรื่องราวของศอเลียะห์ถูกเชื่อมโยงกับเรื่องราวของอูฐตัวเมียของอัลลอฮ์ ซึ่งอัลลอฮ์ประทานเป็นของขวัญให้กับชาวษะมูด เมื่อพวกเขาต้องการปาฏิหาริย์เพื่อพิสูจน์ว่าศอเลียะห์เป็นศาสดาจริง ๆ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
[แก้]ษะมูดเป็นสมาพันธ์ชนเผ่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ถูกกล่าวถึงในข้อมูลของชาวอัสซีเรียในสมัยของซาร์กอนที่ 2 ชื่อเผ่ายังคงปรากฏในเอกสารมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 พวกเขาถูกระบุว่าเป็นกลุ่มที่สูญหายไปเมื่อนานมาแล้ว[6]: 81
รายงานจากอัลกุรอาน เมืองที่ศอเลียะห์เดินทางไปนั้นคืออัลฮิจญร์[7] ซึ่งตรงกับเมืองเฮกราของชาวแนบาเทีย[8] ตัวเมืองได้ชื่อเสียงในช่วงคริสต์ศตวรรษแรก เพราะเป็นสถานที่สำคัญในการค้าขายด้วยคาราวานระดับภูมิภาค[9] สิ่งก่อสร้างที่อยู่ติดกับเมืองคือสุสานที่ตกแต่งบนหินขนาดใหญ่ ซึ่งถูกใช้โดยกลุ่มสมาชิกทางศาสนาหลายกลุ่ม[6]: 146 ต่อมาสถานที่นี้ถูกทอดทิ้งไปในช่วงหนึ่งของสมัยโบราณ แล้วค่อยแทนที่ด้วยอัลอุลา[10] สถานที่นี้เป็นที่รู้จักในชื่อมะดาอินศอเลียะห์มาตั้งแต่สมัยมุฮัมมัด โดยนำชื่อมาจากนบีศอเลียะห์[11]
นอกจากศาสนาอิสลามกับบาไฮแล้ว ศอเลียะห์ไม่ได้รับการกล่าวถึงในคัมภีร์อื่น ๆ ของศาสนาอับราฮัมหรือประวัติศาสตร์ร่วมสมัยอื่นอีกเลย แต่รายงานการทำลายล้างของษะมูดอาจเป็นที่รู้จักในอาระเบียโบราณ ชื่อเผ่าถูกใช้ในกวีอาหรับโบราณในเชิงอุปมัยว่า "ความไม่คงทนของทุกสิ่ง"[6]: 223–24
ในศาสนาอิสลาม
[แก้]กุรอาน
[แก้]ชีวิตของศอเลียะห์ในสังคมของเขามีความชอบธรรมมากจนชาวษะมูดต้องพึ่งพาสนับสนุนเขา[12] พระผู้เป็นเจ้าเลือกเขาเป็นศาสนทูตและส่งไปให้คำสอนต่อพวกคนรวยที่ขี้เหนียวและประนามการทำ ชิรก์ (การบูชาเทวรูปหรือพหุเทวนิยม) ถึงแม้ว่าศอเลียะห์ให้คำสั่งสอนไประยะหนึ่งแล้ว ชาวษะมูดไม่ยอมฟังคำเตือนและเริ่มเรียกร้องให้ศอเลียะห์แสดงปาฏิหาริย์
ศอเลียะห์เตือนพวกเขาด้วยปราสาทและพระราชวังหลายแห่งที่สร้างด้วยหิน[13] และความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีต่อชุมชนใกล้เคียง ที่มากไปกว่านั้น ท่านกล่าวถึงบรรพบุรุษของพวกเขา เผ่าอ๊าด ซึ่งถูกทำลายด้วยบาปของตนเอง ชาวษะมูดบางส่วนเชื่อคำพูดของศอเลียะห์ แต่หัวหน้าเผ่าไม่ยอมฟังและยังคงต้องการให้ท่านแสดงปาฏิหาริย์เพื่อพิสูจน์ว่าตนคือศาสดาจริง ๆ[14]
เพื่อเป็นการตอบรับ พระผู้เป็นเจ้าจึงประทานอูฐตัวเมียศักดิ์สิทธิ์ เพื่อใช้ในการดำรงชีพและบททดสอบ ชนเผ่าต้องอนุญาตให้อูฐกินหญ้าอย่างสงบและห้ามทำร้ายมันเด็ดขาด[15] แต่เพื่อเป็นการท้าคำเตือนของศอเลียะห์ พวกเขาจึงฆ่าอูฐเสีย[16] ศอเลียะห์เตือนว่า พวกเขามีเวลาแค่ 3 วันก่อที่ความพิโรธของพระเจ้าจะลงมายังพวกเขา[17] พวกเขาสำนึกผิด[18] แต่ไม่ยอมอภัยต่อความผิดของตน และผู้ปฏิเสธศรัทธาทุกคนในเมืองถูกแผ่นดินไหวฆ่าตาย นับแต่นั้น อัลฮิจญร์จึงไม่มีผู้อาศัยและกลายเป็นซากปรักหักพังตลอดกาล[19] คงเหลือเพียงศอเลียะห์กับผู้ศรัทธาเพียงไม่กี่คนที่รอดมาได้[20]
มีการขยายเรื่องนี้ในซูเราะฮ์อันนัมล์ ขณะที่อูฐเพศเมียไม่ได้กล่าวถึงโดยตรง มีรายงานถึงชาย 9 คนวางแผนฆ่าศอเลียะห์กับครอบครัวทั้งหมด[21] ทำให้พวกเขาถูกพระผู้เป็นเจ้าลงโทษใน 3 วันต่อมา[22]
ธรรมเนียมของฮะดีษ
[แก้]นักเขียนมุสลิมได้อธิบายเรื่องศอเลียะห์กับอูฐตัวเมียอย่างละเอียด ธรรมเนียมอิสลามตอนต้นมักให้อูฐออกจากหินอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งมักตามมาด้วยลูกอูฐ และนมในตัวอูฐเอง อัฏเฏาะบารีกล่าวว่า ศอเลียะห์เรียกผู้คนมาที่ภูเขา โดยเห็นหินเปิดอย่างน่าอัศจรรย์ เผยให้เห็นอูฐตัวเมียกับลูกของมัน ศอเลียะห์กล่าวว่า อูฐวัยแก่จะดื่มน้ำจากแหล่งน้ำของพวกเขาเป็นเวลาหนึ่งวัน และพวกเขาสามารถดื่มน้ำได้ในวันถัดมา ในวันที่พวกเขาดื่มน้ำไม่ได้ อูฐจะผลิตนมให้ แต่พระเจ้าตรัสแก่ศอเลียะห์ว่า ในไม่ช้าจะมีเด็กชาย ผู้จะเฉือนขาอูฐ เกิดมาในเผ่านี้ และเด็กคนนั้นชั่วช้าและโตเร็วผิดปกติ อูฐตัวนั้นถูกฆ่า และลูกของมันร้องไห้สามครั้ง เป็นสัญญาณว่าพวกษะมูดจะถูกทำลายในเวลา 3 วัน ใบหน้าของพวกเขากลายเป็นสีเหลือง แดง แล้วดำ และพวกเขาตายในวันที่สาม[23]
นักวิชาการอิสลามบางส่วนรายงานว่า ฮะญัร แม่ของอิสมาอีล เป็นหลานสาวของนบีศอเลียะห์[24]
ธรรมเนียมคล้ายกันพบในคำวิจารณ์ศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยยอห์นแห่งดามัสกัส[25][26] และถูกกล่าวถึงในผลงานของอิบน์กะษีร[27]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เชลาห์ (บุคคลในพระคัมภีร์ไบเบิล)
- เมธูเสลาห์
- เรื่องเล่าในพระคัมภีร์ไบเบิลและอัลกุรอาน
- รายชื่อฮิญาซีที่มีชื่อเสียง
- นบี
- กิศ็อศุล อัมบิยาอ์ ("เรื่องราวของผู้เผยพระวจนะ")
- กิตาบุล อิกอน (หนังสือรับรอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "LAWḤ-I-BURHÁN (Tablet of the Proof)". Baháʼí Reference Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
- ↑ "Kitáb-i-Íqán (The Book of Certitude)". Baháʼí Reference Library. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 24 December 2018.
- ↑ อัลกุรอาน 7:73–79
- ↑ อัลกุรอาน 11:61–69
- ↑ อัลกุรอาน 26:141–158
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Hoyland, Robert. Arabia and the Arabs. Routledge. ISBN 978-0415195355.
- ↑ อัลกุรอาน 15:80–84
- ↑ Can Aksoy, Omer (2009). "Framing the Primordial: Islamic Heritage and Saudi Arabia". ใน Rico, Trinidad (บ.ก.). The Making of Islamic Heritage: Muslim Pasts and Heritage Presents. p. 69. ISBN 978-981-10-4070-2.
- ↑ Fiema, Zbigniew T. (2003). "Roman Petra (A.D. 106–363): A Neglected Subject". Zeitschrift des Deutschen Palästina-Vereins. 119 (1): 38–58.
- ↑ Nehme, Leila. "Ancient Hegra, a Nabataean Site in a Semi-arid Environment. The Urban Space and Preliminary Results from the First Excavation Season" (PDF). Bollettino di Archeologia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-03. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
- ↑ อัลกุรอาน 11:62: "พวกเขากล่าวว่า “โอ้ ศอและฮ์เอ๋ย ! แน่นอนท่านเคยเป็นความหวังในหมู่พวกเรามาก่อน บัดนี้ ท่านจะห้ามมิให้เราเคารพอิบาดะฮ์สิ่งที่บรรพบุรุษของเราเคารพอิบาดะฮ์อยู่กระนั้นหรือ? และแท้จริงพวกเราอยู่ในการสงสัยต่อสิ่งที่ท่านเรียกร้องเชิญชวนเรายังสิ่งนั้น” "
- ↑ อัลกุรอาน 7:74: "และพวกท่านจงรำลึกขณะที่พระองค์ได้ทรงให้พวกท่านเป็นผู้สืบช่วงแทนมา หลังจากชาวอ๊าด และได้ทรงให้พวกท่านตั้งหลักแหล่งอยู่ในแผ่นดินส่วนนั้น โดยยึดเอาจากที่ราบของมันเป็นวัง และสกัดภูเขาเป็นเป็น พวกท่านพึงรำลึกถึงความกรุณาของอัลลอฮ์เถิด และจงอย่าก่อกวนในแผ่นดินในฐานะผู้บ่อนทำลาย"
- ↑ อัลกุรอาน 7:75: "บรรดาชั้นชั้นนำที่แสดงโอหังจากประชาชาติของเขาได้กล่าวแก่บรรดาผู้ที่ถูกนับว่าอ่อนแอ (กล่าวคือ) แก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเขากล่าวว่าพวกท่านรู้กระนั้นหรือว่า แท้จริงศอและฮ์นั้นเป็นผู้ถูกส่งมาจากพระเจ้าของเขา พวกเขากล่าวว่าแท้จริงพวกเราเป็นผู้ศรัทธาต่อสิ่งที่เขาถูกส่งให้นำสิ่งนั้นมา"
- ↑ อัลกุรอาน 7:73: "...แน่นอนได้มีหลักฐานอันชัดเจนจากพระเจ้าของพวกท่านมายังพวกท่านแล้วนี้คืออูฐตัวเมัย ของอัลลอฮ์ในฐานะเป็นสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงปล่อยมันกินในแผ่นดินของอัลลอฮ์เถิด และจงอย่าแตะต้องมันด้วยการทำร้ายใด ๆ เลยจะเป็นเหตุให้การลงโทษอันเจ็บแสบคร่าพวกท่านเสีย'"
- ↑ อัลกุรอาน 7:77
- ↑ อัลกุรอาน 11:65
- ↑ อัลกุรอาน 26:157
- ↑ อัลกุรอาน 7:78
- ↑ อัลกุรอาน 7:79: "แล้วเขา ก็หันออกไปจากพวกนั้น และกล่าวว่า โอ้ประชาชาติของฉัน แท้จริงฉันได้ประกาศแก่พวกท่านแล้ว ซึ่งสารแห่งพระเจ้าของฉัน และฉันก็ได้ชี้แจงแนะนำแก่พวกท่านด้วย แต่ทว่าพวกท่านไม่ชอบบรรดาผู้ชี้แจงแนะนำ!'"
- ↑ อัลกุรอาน 27:48-49
- ↑ อัลกุรอาน 11:65
- ↑ al-Tabari, Muhammad ibn Yarir. The History of al-Tabari, Volume 2. แปลโดย William Brinner. p. 41-44.
- ↑ Fatani, Afnan H. (2006). "Hajar". ใน Leaman, Oliver (บ.ก.). The Qur'an: an encyclopedia. London: Routeledge. pp. 234–36.
- ↑ Hoyland, Robert (1997). Seeing Islam As Others Saw It A Survey And Evaluation Of Christian Jewish And Zoroastrian Writings On Early Islam. Darwin Press. p. 480-485.
- ↑ John of Damascus (1958). The Fathers Of The Church: A New Translation, Vol 37. แปลโดย Frederick H Chase Jr. Catholic University of America Press. p. 158-159.
- ↑ Ibn Kathir. "Prophet Salih". Stories of the Prophets. แปลโดย Muhammad Mustapha Geme’ah. Darussalam.