ยูซุฟ
นบี ยูซุฟ يوسف โยเซฟ | |
---|---|
![]() ชื่อยูซุฟในอักษรวิจิตรอิสลาม | |
ตำแหน่ง | ศาสดา |
บิดามารดา | ยะอ์กูบ รอฮีล |
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
![]() |
ยูซุฟ อิบน์ ยะอ์กูบ อิบน์ อิสฮาก อิบน์ อิบรอฮีม (อาหรับ: يوسف ٱبن يعقوب ٱبن إسحاق ٱبن إبراهيم; โยเซฟ บุตรของยาโคบ บุตรของอิสอัค บุตรของอับราฮัม) เป็นศาสดาที่ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอาน[1] และสอดคล้องกับโยเซฟในคัมภีร์ฮีบรูกับคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ที่คาดการณ์ว่าอาศัยอยู่ในอียิปต์สมัยก่อนราชอาณาจักรใหม่[2] แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงศาสดาคนอื่น ๆ ในหลายซูเราะฮ์ เรื่องราวของยูซุฟถูกกล่าวถึงทั้งหมดในซูเราะฮ์เดียวที่มีชื่อเดียวกัน กล่าวกันว่าเรื่องนี้เป็นรายงานที่ละเอียดที่สุดในอัลกุรอานและมีรายละเอียดมากกว่าคัมภีร์ไบเบิล[3]
เชื่อกันว่ายูซุฟเป็นบุตรคนที่ 11 ของยะอ์กูบ (อาหรับ: يعقوب, ยาโคบ) และเป็นลูกคนโปรดตามรายงานของนักวิชาการหลายคน อิบน์กะษีรรายงานว่า "ยะอ์กูบมีลูกชาย 12 คนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าอิสราเอล ผู้มีคุณธรรม ผู้สูงศักดิ์ที่สุด ผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่พวกเขาคือยูซุฟ"[4] เรื่องราวเริ่มต้นที่ยูซุฟกล่าวถึงความฝันแก่พ่อของเขา ซึ่งยะอ์กูบยอมรับสิ่งนี้[5] นอกจากนี้ เรื่องราวของยูซุฟกับซุลัยคอกลายเป็นที่นิยมในวรรณกรรมเปอร์เซียเป็นเวลาหลายศตวรรษ[6]
ประวัติ[แก้]
นะบีอิสฮากมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ ยะอ์กูบ เมื่ออิสฮากเสียชีวิตไปแล้ว ยะอ์กูบยังอาศัยอยู่ที่เมืองชาม (อยู่แถว ปาเลสไตน์ และ จอร์แดน) ซึ่งสมัยนั้นเป็นทะเลทราย และประชาชนเป็นคนชนบทเร่ร่อน แต่ประเทศที่มีวัฒนธรรมเจริญก้าวหน้าคือ ประเทศอียิปต์ ที่เป็นเพื่อนบ้านกับเมืองชาม เหตุการณ์เกิดขึ้นสมัยนะบียะอฺกู๊บ ทำให้ลูกหลานของท่าน (ชาวบะนีอิสรออีล) อพยพจากเมืองชามไปอียิปต์ มีเหตุการณ์พี่น้องของท่านนะบียูซุฟ 12 คน (ลูกชายของท่านนะบียะอฺกู๊บจากภรรยาแรก) วางแผนโยนยูซุฟลงในบ่อน้ำที่ลึกมาก เนื่องจากอิจฉาที่ยะอ์กูบรักยูซุฟมากกว่า แต่ไม่ได้ฆ่า เมื่อคาราวานแวะมาตักน้ำ ยูซุฟก็เกาะขึ้นไป เขายึดยูซุฟเป็นทาส ไปขายในตลาดทาสที่เมืองอียิปต์ ผู้นำเมืองอียิปต์จึงซื้อยูซุฟไปเป็นทาส ภรรยาของผู้นำสูงของอียิปต์หลงรักนะบียูซุฟและเรียกร้องให้ทำซินา แต่ยูซุฟไม่ยอม จนสุดท้ายมาประกาศสัจธรรมและทุกคนรู้ความจริง แต่ภรรยาของผู้นำก็ยังวางอุบายให้ยูซุฟเข้าคุก ถึงแม้ยูซุฟไม่ได้ทำอะไรเลย นี่ก็เป็นบทเรียนว่าอย่าเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในคุกทำความผิด มีคำปรัชญาบอกว่า กี่มากน้อยแล้วที่คนที่อยู่ในคุกเป็นคนบริสุทธิ์ เราต้องเชื่อ ขนาดนะบียูซุฟเป็นนะบียังติดคุก
ผู้นำสูงสุดคนหนึ่งฝัน ไม่มีใครทำนายฝันให้ได้ เมื่อยูซุฟมาทำนายฝันให้ และทำนายได้ถูกต้องในเรื่องเกษตรและอาหารต่าง ๆ ว่าให้เตรียมตัวรับช่วงเวลาแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้น ยูซุฟจึงได้รับแต่งตั้งจากผู้นำสูงสุดให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เป็นผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องเสบียงอาหาร และในช่วงเวลาแห้งแล้ง ไม่มีฝนตกบริเวณนั้น ชาวเมืองชามบางกลุ่มต้องไปอาศัยขอความอนุเคราะห์จากประเทศอียิปต์ พี่น้องของนะบียูซุฟ ไปประเทศอียิปต์เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งผู้ที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังคือท่านนะบียูซุฟ สุดท้ายพี่น้องท่านนะบียูซุฟขออภัยท่านนะบียูซุฟ ยูซุฟจึงให้นะบียะอ์กูบและพี่น้องของเขาอพยพมาอยู่ที่เมืองอียิปต์
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Keeler, Annabel (15 June 2009). "Joseph ii. In Qur'anic Exegesis". Encyclopedia Iranica. XV: 34.
- ↑ Coogan, Michael (2009). The Old Testament: A Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 70–72.
- ↑ Keeler, Annabel (15 June 2009). "Joseph ii. In Qurʾānic Exegesis". XV: 35. Cite journal requires
|journal=
(help) - ↑ Wheeler, Brannon (2002). Prophets in the Qur'an. Continuum. p. 127.
- ↑ Wheeler, Brannon (2002). Prophets in the Qur'an. Continuum. p. 128.
- ↑ Bruijn (2013). "Yūsuf and Zulayk̲h̲ā". Encyclopedia of Islam; Second Edition: 1.