มัสยิดอันนะบะวี
มัสยิดอันนะบะวี | |
---|---|
ٱلْـمَـسْـجِـدُ ٱلـنَّـبَـويّ | |
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่ตั้ง | มะดีนะฮ์, ฮิญาซ, ประเทศซาอุดีอาระเบีย[1] |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 24°28′06″N 39°36′39″E / 24.468333°N 39.610833°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 24°28′06″N 39°36′39″E / 24.468333°N 39.610833°E |
ศาสนา | อิสลาม |
ผู้บริหาร | รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย |
อีหม่าม:
| |
การสร้าง | |
สถาปัตยกรรม | มัสยิด |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | อาคารในแบบอิสลาม; ออตโตมัน และมัมลูก |
ปีที่เริ่ม | ค.ศ. 622 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ความจุ | 600,000 (มากถึง 1,000,000 คนในช่วงพิธีฮัจญ์) |
จำนวนหอสูงสุเหร่า | 10 |
ความสูงของหอสูงสุเหร่า | ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Convert บรรทัดที่ 272: attempt to index local 'cat' (a nil value) |
มัสยิดอันนะบะวี (อาหรับ: ٱلْـمَـسْـجِـدُ ٱلـنَّـبَـوِيّ, "มัสยิดของท่านศาสดา") เป็นมัสยิดที่สร้างโดยท่านศาสดามุฮัมมัด โดยสร้างที่บริเวณเมืองมะดีนะฮ์ แคว้นฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย นี่เป็นมัสยิดที่สามที่ถูกสร้างในประวัติศาสตร์อิสลาม[a] และเป็นหนึ่งในมัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รองจากมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ในศาสนาอิสลาม[8] โดยเปิดตลอดเวลา ไม่เว้นวันหยุด
ประวัติ[แก้]
ช่วงแรก[แก้]
มัสยิดนี้ถูกสร้างโดยศาสดามุฮัมมัดในปี ค.ศ. 622 หลังจากท่านมาเมืองมะดีนะฮ์[9] โดยการขี่อูฐที่ชื่อก็อสวะฮ์ ที่ดินนี้ครอบครองโดยซะฮัล และซุฮัยล์ เป็นบริเวณที่มีต้นอินทผลัมที่กำลังจะตาย และเคยเป็นที่ฝังศพมาก่อน[10] ท่านปฏิเสธ "การให้ที่ดินเป็นของขวัญ" และซื้อที่ดินนี้พร้อมกับสร้างมัสยิดนี้โดยใช้เวลา 7 เดือน[10] โดยมีหลังคาเป็นใบอินทผลัมและนำลำต้นทำเป็นเสาที่มีความสูง 3.60 m (11.8 ft) และมีสามประตูที่มีชื่อว่า บาบุลเราะฮ์มะฮ์อยู่บริเวณตอนใต้ บาบุลญิบรีลอยู่บริเวณตะวันตก และบาบุนนิซาอยู่บริเวณตะวันออก[11][10]
หลังจากสงครามค็อยบัร ได้มีการขยายมัสยิด[12] โดยขยายไปด้านละ47.32 m (155.2 ft) และเพิ่มอีกสามแถวที่กำแพงฝั่งตะวันตก[13] และไม่ได้ขยายในช่วงที่อะบูบักร์เป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรก[13] จนกระทั่งสมัยเคาะลีฟะฮ์อุมัรได้ทำลายบ้านทุกหลังที่อยู่ข้างมัสยิด ยกเว้นบ้านภรรยาของมุฮัมมัด เพื่อขยายมัสยิด[14] โดยเริ่มใช้อิฐในการสร้างกำแพงและโปรยก้อนกรวดบนพื้น มีการยกหลังคาให้สูงถึง 5.6 m (18 ft)
สมัยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน ได้รื้อมัสยิดในปี ค.ศ. 649 แล้วสร้างใหม่ให้เป็นมัสยิดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่หันหน้าไปทางมักกะฮ์โดยใช้เวลา 10 เดือน ส่วนจำนวนกำแพงยังคงเหมือนเดิม[15] กำแพงถูกปูด้วยหิน และเปลี่ยนเสาอินตผลัมให้เป็นเสาหินที่เชื่อมกับที่หนีบเหล็ก และเพดานที่ทำมาจากไม้สัก[16]
ช่วงกลาง[แก้]
ในปี ค.ศ. 707 วะลีด อิบน์ อับดุลมะลิกกษัตริย์จากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้บูรณะมัสยิดใหม่ โดยใช้เวลา 3 ปี เพราะต้องนำวัตถุดิบมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์[17] โดยมีการขยายขนาดมัสยิดจาก 5,094 ตารางเมตร ให้เป็น 8,672 ตารางเมตร มีการสร้างกำแพงกั้นระหว่างมัสยิดและบ้านภรรยาของมุฮัมมัด และเป็นครั้งแรกที่มัสยิดถูกสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีความยาว 101.76 เมตร (333.9 ฟุต) และเสามินาเร็ต 4 หอที่สร้างล้อมรอบมัสยิดนี้[18]
สมัยกษัตริย์อัลมะฮ์ดีของราชวงศ์อับบาซิยะฮ์ได้ขยายมัสยิดไปทางเหนืออีก 50 เมตร (160 ฟุต) [19] รายงานจากอิบน์ กุต็อยบะฮ์ว่า อัลมะมูนกษัตริย์คนที่สามได้ทำ "งานที่ไม่ได้ระบุ" ไว้ที่มัสยิด ส่วนอัลมุตะวักกิลได้สร้างทางไปที่ประตูสุสานมุฮัมมัดด้วยหินอ่อน[20] และอัลอัชราฟ กอนซุฮ อัลเฆารีได้สร้างโดมหินบนสุสานของท่านเมื่อปี ค.ศ. 1476[21]
เราเฎาะฮ์ได้สร้างโดมบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมัสยิด[22] ในปี ค.ศ. 1817 ในช่วงสุลต่านมาห์มูดที่ 2 แล้วโดมถูกทาเป็นสีเขียวในปี ค.ศ. 1837 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "โดมเขียว"[23]
และสมัยสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 ได้ใช้เวลา 13 ปีในการสร้างมัสยิดใหม่ โดยเริ่มในปี ค.ศ. 1849[24] มีการใช้อิฐแดงในการสร้างครั้งนี้ บริเวณมัสยิดถูกขยายไป 1,293 ตารางเมตร มีการเขียนอายะฮ์อัลกุรอานบนกำแพงทางตอนเหนือของมัสยิด และได้สร้าง มัดดารอซะฮ์ เพื่อ "สอนอัลกุรอาน"[25]
สมัยซาอุดี[แก้]
เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูดได้ครอบครองมะดีนะฮ์ในปี ค.ศ. 1905 พร้อมกับผู้ติดตามที่นับถือนิกายวะฮาบีย์ ได้ทำลายเกือบทุกโดมที่อยู่เหนือสุสานในมะดีนะฮ์เพื่อไม่ให้ใครเลื่อมใสในสิ่งนี้[26]และโดมเขียวก็รอดมาได้อย่างหวุดหวิด[27] พวกเขากล่าวว่าสุสานและสถานที่ต่าง ๆ มีพลังบางอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้ามในหลัก เตาฮีด[28] สุสานของศาสดามุฮัมมัดถูกทำลายและนำทองและเครื่องประดับออกไป แต่ยังคงเหลือโดมไว้ เนื่องจากการทำลายที่ล้มเหลว หรือเมื่อก่อนมุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮับเขียนว่าเขาไม่อยากเห็นโดมถูกทำลาย[26]
หลังจากก่อตั้งประเทศซาอุดีอาระเบียในปี ค.ศ. 1932 ได้มีการขยายมัสยิดในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูดในปี ค.ศ. 1951 ทรงมีรับสั่งให้รื้อมัสยิดที่อยู่รอบ ๆ เพื่อขยายไปทางตะวันออกและตะวันตก โดยมีการใช้เสาคอนกรีตที่มีประตูโค้ง ส่วนอันเก่าก็ถูกครอบด้วยคอนกรีตและเชื่อมด้วยแหวนทองแดงที่ด้านบน หอสุลัยมานียยะฮ์ และมาญิดียะฮ์ถูกเปลี่ยนให้เป็นหอแบบมัมลูก แล้วเพิ่มหอมินาเร็ตบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของมัสยิด และสร้างห้องสมุดขึ้นตรงบริเวณกำแพงฝั่งตะวันตก[25][29]
จากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูดได้ขยายมัสยิดไปอีก 40,440 ตารางเมตรในปี ค.ศ. 1974[30] และขยายไปอีกในสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮด์ บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูดในปี ค.ศ. 1985 โดยมีการใช้รถปราบดินในการทำลายสิ่งก่อสร้างรอบ ๆ มัสยิด[31] แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1992 โดยที่มัสยิดมีขนาด 1.7 พันล้านตารางเมตร มีบันไดเลื่อนและพื้นที่ราบอีก 27 แปลง[32]
และในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการวางแผนขยายมัสยิดด้วยวงเงินประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 ทาง รอยเตอร์ ได้รายงานว่าการขยายครั้งนี้จะจุผู้คนได้ประมาณ 1.6 ล้านคน[33]
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ[แก้]
โดมเขียว[แก้]
โดมเหล่านี้สร้างโดย เราเฎาะฮ์ โดยมีโดมสำหรับมุฮัมมัด, อะบูบักร์ และอุมัร ส่วนโดมที่สี่มีไว้สำหรับนบีอีซา (عِـيـسَى, พระเยซู) โดยมีความเชื่อว่าท่านจะถูกฝังที่นี่ โดมเขียวนี้สร้างในปี ค.ศ. 1817 ในสมัยสุลต่านมาห์มูดที่ 2 และถูกทาสีเขียวในปี ค.ศ. 1837[23]
มิฮรอบ[แก้]
มัสยิดนี้มีสองมิฮรอบ อันหนึ่งสร้างโดยมุฮัมมัด และอีกอันหนึ่งสร้างโดยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน[34] ข้าง ๆ มิฮรอบ จะมีโถงสำหรับละหมาด ตัวอย่างเช่น มิฮรอบ ฟาติมะฮ์ (مِـحْـرَاب فَـاطِـمَـة) หรือ มิฮรอบ อัตตาฮัดญุด (مِـحْـرَاب الـتَّـهَـجُّـد) ซึ่งสร้างโดยมุฮัมมัดสำหรับละหมาด ตะฮัดญุด (تَـهَـجُّـد)[35]
มิมบัร[แก้]
มิมบัร (مِـنـۢبَـر) ที่มุฮัมมัดใช้เป็น "ไม้จากต้นอินทผลัม" หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นแบบทามาริสก์ และในปี ค.ศ. 629 ได้เพิ่มขั้นบันไดอีกสามขั้น อะบูบักร์ และอุมัร เคาะลีฟะฮ์สองพระองค์แรกไม่ใช่ขั้นที่สาม "เพื่อเป็นการให้เกียรติศาสดา" แต่เคาะลีฟะฮ์อุสมานได้ตั้งผ้าบนนั้น ส่วนชั้นอื่นถูกคลุมด้วยไม้ตะโก ในปี ค.ศ. 1395 บัยบัรที่ 1 ได้เปลี่ยน มิมบัร ใหม่ และเปลี่ยนอีกรอบในปี ค.ศ. 1417 โดยเชค อัลมะฮ์มูดี หลังจากนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็นแบบหินอ่อนโดยก็อยต์บัยในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 และใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน[35]
หอมินาเร็ต[แก้]
สี่มินาเร็ตแรกมีความสูง 26 ฟุต (7.9 เมตร) สร้างโดยอุมัร และในปี ค.ศ. 1307 มีการเพิ่มมินาเร็ตที่ชื่อว่า บาบุลสะลาม โดยมุฮัมมัด อิบน์ คาลาวุน แล้วบูรณะใหม่โดยเมห์เหม็ดที่ 4 หลังจากการบูรณะในปี ค.ศ. 1994 มีมินาเร็ตสิบหอที่สูง 104 เมตร (341 ฟุต) โดยที่ส่วนด้านบน ด้านล่าง และตรงกลางเป็นลวดลายทรงกระบอก, รูปแปดเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยมอย่างสมดุล[35]
ดูเพิ่ม[แก้]
- ที่ฝังศพของผู้ก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ
- การทำลายสถานที่สำคัญของอิสลามช่วงแรกในซาอุดีอาระเบีย
- สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี
- สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม นิกายชีอะฮ์
- ศิลปะอิสลาม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Google maps. "Location of Masjid an Nabawi". Google maps. สืบค้นเมื่อ 24 September 2013.
- ↑ Esposito, John (1998). Islam: The Straight Path (3rd ed.). Oxford University Press. pp. 9, 12. ISBN 978-0-19-511234-4.
- ↑ Esposito (2002b), pp. 4–5.
- ↑ Peters, F.E. (2003). Islam: A Guide for Jews and Christians. Princeton University Press. p. 9. ISBN 0-691-11553-2.
- ↑ อัลกุรอาน 2:127 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
- ↑ อัลกุรอาน 3:96 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
- ↑ อัลกุรอาน 17:1–7
- ↑ Trofimov, Yaroslav (2008), The Siege of Mecca: The 1979 Uprising at Islam's Holiest Shrine, New York, p. 79, ISBN 0-307-47290-6
- ↑ "The Prophet's Mosque [Al-Masjid An-Nabawi]". Islam Web. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Ariffin, p. 49.
- ↑ "Gates of Masjid al-Nabawi". Madain Project. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
- ↑ Ariffin, p. 50.
- ↑ 13.0 13.1 Ariffin, p. 51.
- ↑ Atiqur Rahman. Umar Bin Khattab: The Man of Distinction. Adam Publishers. p. 53. ISBN 978-81-7435-329-0.
- ↑ Ariffin, p. 55.
- ↑ Ariffin, p. 56.
- ↑ NE McMillan. Fathers and Sons: The Rise and Fall of Political Dynasty in the Middle East. Palgrave Macmillan. p. 33. ISBN 978-1-137-29789-1.
- ↑ Ariffin, p. 62.
- ↑ Munt, p. 116.
- ↑ Munt, p. 118.
- ↑ Wahbi Hariri-Rifai, Mokhless Hariri-Rifai. The Heritage of the Kingdom of Saudi Arabia. GDG Exhibits Trust. p. 161. ISBN 978-0-9624483-0-0.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPeterson
- ↑ 23.0 23.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSyed
- ↑ Ariffin, p. 64.
- ↑ 25.0 25.1 Ariffin, p. 65.
- ↑ 26.0 26.1 Mark Weston (2008). Prophets and princes: Saudi Arabia from Muhammad to the present. John Wiley and Sons. pp. 102–103. ISBN 978-0-470-18257-4.
- ↑ Doris Behrens-Abouseif; Stephen Vernoit (2006). Islamic art in the 19th century: tradition, innovation, and eclecticism. BRILL. p. 22. ISBN 978-90-04-14442-2.
- ↑ Peskes, Esther (2000). "Wahhābiyya". Encyclopaedia of Islam. 11 (2nd ed.). Brill Academic Publishers. pp. 40, 42. ISBN 90-04-12756-9.
- ↑ "New expansion of Prophet's Mosque ordered by king". Arab News. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
- ↑ "Prophet's Mosque to accommodate two million worshippers after expansion". Arab News. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
- ↑ "Expansion of the Prophet's Mosque in Madinah (3 of 8)". King Fahd Abdulaziz. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "Expansion of the two Holy Mosques". Saudi Embassy. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "Saudi Arabia plans $6bln makeover for second holiest site in Islam". RT. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
- ↑ Ariffin, p. 57.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 "The Prophet's Mosque". Last Prophet. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
หมายเหตุ[แก้]
สารานุกรม[แก้]
- Ariffin, Syed Ahmad Iskandar Syed. Architectural Conservation in Islam : Case Study of the Prophet's Mosque. Penerbit UTM. ISBN 978-983-52-0373-2.CS1 maint: ref=harv (link)
- Munt, Harry. The Holy City of Medina: Sacred Space in Early Islamic Arabia. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-04213-1.CS1 maint: ref=harv (link)
- Fahd, Salem Bahmmam. Pilgrimage in Islam: A description and explanation of the fifth pillar of Islam. Modern Guide, 2014. ISBN 978-1-78338-174-6.
- Hasrat Muhammad the Prophet of Islam. Adam Publishers. ISBN 978-81-7435-582-9.
- Muhammad, Asad. The Road To Mecca. The Book Foundation, 1954. ISBN 978-0-9927981-0-9.
- Sir, Richard Francis Burton. Personal Narrative of a Pilgrimage to Al-Madinah & Meccah, Volume 2. ISBN 978-0-486-21218-0.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Al-Masjid an-Nabawi |
มัสยิดอันนะบะวี ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว