ลูกของมุฮัมมัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกของมุฮัมมัด
أولاد محمد
บุตร
ลูกของมุฮัมมัด เกิด–เสียชีวิต
กอซิม 598–601
ซัยนับ 599–629
รุก็อยยะฮ์ 601–624
อุมมุกุลษูม 603–630
ฟาฏิมะฮ์ 605/15–632
อับดุลลอฮ์ 611–615
อิบรอฮีม 630–632


ครอบครัวบะนูฮาชิม

นบีมุฮัมมัดในมุมมองทั่วไปมีลูกชายสามคน ได้แก่ อับดุลลอฮ์, อิบรอฮีม และกอซิม และลูกสาว 4 คน ได้แก่ ฟาฏิมะฮ์, รุก็อยยะฮ์, อุมมุกุลษูม และซัยนับ กล่าวกันว่า ลูกของมุฮัมมัดทุกคนถือกำเนิดจากเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด ภรรยาคนแรกของท่าน ยกเว้นอิบรอฮีมที่กำเนิดจากมาริยะฮ์ อัลกิบฏียะฮ์ ไม่มีลูกชายคนใดที่มีชีวิตถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ท่านมีบุตรบุญธรรมวัยผู้ใหญ่ชื่อซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ ส่วนลูกสาวทั้งหมดมีชีวิตถึงวัยผู้ใหญ่ แต่มีเพียงฟาฏิมะฮ์เท่านั้นที่มีชีวิตต่อหลังจากพ่อเสียชีวิต

มุมมองซุนนี[แก้]

ข้อมูลซุนนีส่วนใหญ่จัดรายการลูกของนบีมุฮัมมัดตามลำดับเวลา (ในปีคริสตศักราช) ดังนี้

มุมมองซุนนีระบุว่าลูกทั้งหมดถือกำเนิดจากเคาะดีญะฮ์ ภรรยาคนแรก ยกเว้นอิบรอฮีมที่กำเนิดจากมาริยะฮ์ อัลกิบฏียะฮ์[2]

มุมมองชีอะฮ์[แก้]

เนื่องจากความไม่น่าเป็นไปได้ที่เคาะดีญะฮ์ผู้สูงวัยจะคลอดบุตรได้มากขนาดนี้[2] ทำให้ข้อมูลชีอะฮ์บางส่วนจึงโต้แย้งว่ารุก็อยยะฮ์ อุมมุกุลษูม และไซนับเป็นบุตรีบุญธรรมที่มุฮัมมัดรับเลี้ยงหลัง Hala แม่ผู้เป็นพี่/น้องสาวของเคาะดีญะฮ์ เสียชีวิต[3][4] หรือเป็นลูกสาวสามคนของเคาะดีญะฮ์จากการแต่งงานครั้งก่อน[5] นักเขียนชีอะฮ์โต้แย้งว่าก่อนที่รุก็อยยะฮ์กับอุมมุกุลษูมแต่งงานกับอุษมาน อิบน์ อัฟฟาน พวกเธอเคยแต่งงานกับผู้ที่นับถือพหุเทวนิยม ซึ่งเป็นสิ่งที่มุฮัมมัดคงไม่อนุญาตให้กับลูกของท่าน[5] พวกเขายังอ้างถึงการไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำหรับความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างมุฮัมมัดกับรุก็อยยะฮ์ ซัยนับ หรืออุมมุกุลษูม ซึ่งต่างจากฟาฏิมะฮ์[5] มุมมองที่ว่าฟาฏิมะฮ์เป็นลูกสาวแท้คนเดียวของมุฮัมมัดอาจถือเป็นมุมมองสายหลักในอิสลามนิกายชีอะฮ์[3] หรืออย่างน้องในชีอะฮ์สิบสองอิหม่าม ชีอะฮ์สายหลัก[4] ความเชื่อนี้พบเห็นได้ชัดในบรรดาชีอะฮ์แถบเอเชียใต้[6]

ลูกหลาน[แก้]

ลูกชายของมุฮัมมัดทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก[7][8] แม้ว่าท่านมีบุตรบุญธรรมวัยผู้ใหญ่ชื่อซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ก็ตาม[9][8] บางคนเสนอแนะว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของบรรดาลูกชายเป็นอันตรายต่อระบบการสืบมอดตามกรรมพันธุ์ของมุฮัมหมัด[8] อีกมุมมองหนึ่งคือลูกหลานของนบีก่อนหน้ากลายเป็นทายาททางจิตวิญญาณและโลกิยะในอัลกุรอาน และผู้สืบทอดของบรรดานบีคนก่อนหน้าได้รับการแก้ไขผ่านการคัดเลือกของพระเจ้าในอัลกุรอาน และไม่ใช่โดยผู้ศรัทธา[10][11]

ลูกสาวของมุฮัมมัดมีชีวิตถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่ยังสาว[8] ยกเว้นเพียงฟาฏิมะฮ์ที่มีชีวิตหลังจากท่านเสียชีวิต[2] ฟาฏิมะฮ์แต่งงานกับอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ ลูกพี่ลูกน้องของมุฮัมมัด จากครอบครัวนี้ทำให้ลูกหลานของมุฮัมมัดกระจายทั่วโลกมุสลิม[1] ลูกหลานฟาฏิมะฮ์ได้รับตำแหน่งยกย่องเป็นซัยยิดหรือชะรีฟ และได้รับเกียรติในชุมชนมุสลิม[1][4][12] รุก็อยยะฮ์กับอุมมุกุลษูมแต่งงานกับอุษมาน และซัยนับแต่งงานกับอะบู อัลอาศ อิบน์ อัรเราะเบียะอ์ ผู้ติดตามของมุฮัมมัดอีกคน อุมมุกุลษูมไม่ได้ให้กำเนิดลูก ส่วนรุก็อยยะฮ์ให้กำเนิดลูกชายชื่ออับดุลลอฮ์ที่เสียชีวิตในวัยเด็ก[13][14] ซัยนับให้กำเนิดลูกชายที่เสียชีวิตในวัยเด็กชื่ออะลี และลูกสาวชื่ออุมามะฮ์ที่อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบแต่งงานหลังฟาฏิมะฮ์เสียชีวิตใน ค.ศ. 632[15] ชาวมุสลิมถือว่ามุมมองและการเลี้ยงดูลูกของท่านที่ได้รับการบันทึกในฮะดีษ เป็นตัวอย่างที่สมควรทำตาม[16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Buehler 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ali 2008, p. 17.
  3. 3.0 3.1 Abbas 2021, p. 33.
  4. 4.0 4.1 4.2 Fedele 2018, p. 56.
  5. 5.0 5.1 5.2 Keaney 2021, p. 135.
  6. Hyder 2006, p. 75.
  7. Hughes 1885, p. 869.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Peterson 2001, p. 497.
  9. Hazleton 2013, pp. 67, 68.
  10. Madelung 1997, pp. 9, 17.
  11. Jafri 1979, pp. 14–16.
  12. Kazuo 2012, p. 2.
  13. Madelung 1997, pp. 364.
  14. Ahmed 2011, p. 50.
  15. Haylamaz 2007, p. 83.
  16. Yust 2006, p. 72.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]