ภาษายอง
หน้าตา
ภาษายอง | |
---|---|
Nyong | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศไทย |
จำนวนผู้พูด | ≈ 13,000 คน (2543)[1] |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | yno |
ภาษายอง (Nyong) เป็นภาษากลุ่มไทตะวันตกเฉียงใต้ในประเทศไทย ใช้งานโดยชาวไทยองที่สืบเชื้อสายจากชาวไทลื้อจากสิบสองปันนา ประเทศจีน และเชียงตุง ประเทศพม่า เอทโนล็อก รายงานว่าภาษายองมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทลื้อในด้านสัทวิทยา ผู้พูดภาษายองส่วนใหญ่สามารถพูดได้หลายภาษา และพูดภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน[2] ใน พ.ศ. 2543 มีผู้พูดภาษานี้ 12,600 คน โดยในประเทศไทยประมาณว่ามีผู้พูดราวหนึ่งแสนคน[ต้องการอ้างอิง] ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูน บางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง รัฐชาน ประเทศพม่า มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทลื้อ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษายอง ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Intajamornrak, Chommanad (เมษายน 2019). "Tonal Variation Caused by Language Contact: A Case Study of the Yong Language" (PDF). 13th ICLEHI 2019 Osaka 013-012. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2022.
- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.
- Wangsai, Piyawat. 2007. A Comparative Study of Phonological Yong and Northern Thai Language (Kammuang). M.A. thesis. Kasetsart University.