ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
== การทหาร ==
{{บทความหลัก|แวร์มัคท์}}
ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เปลี่ยนชื่อกองทัพเยอรมันจาก ''[[ไรชส์แวร์]]'' ไปเป็น ''[[แวร์มัคท์]]'' ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองทัพของเยอรมนีตั้งแต่ปี 1935–1945 โดยมี[[กองทัพบกเยอรมัน (แวร์มัคท์)|''แฮร์'']] (กองทัพบก) ''[[ครีกซมารีเนอ]]'' (กองทัพเรือ) ''[[ลุฟท์วัฟเฟอ]]'' (กองทัพอากาศ) และองค์การกึ่งทหาร ''[[วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส]]'' ซึ่งโดยพฤตินัยเป็นเหล่าทัพที่สี่ของแวร์มัคท์

[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]]กำหนดให้กองกำลังทางบก (ไรชส์แฮร์) มีกำลังพลได้ไม่เกิน 100,000 นาย แต่ฮิตเลอร์แอบสร้างเสริมแสนยานุภาพอย่างลับ ๆ จากนั้นก็สั่งระดมพลทั่วประเทศในปี 1935 ซึ่งชาวเยอรมันอายุตั้งแต่ 18–45 ปีต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร รวมถึงจัดตั้งกองทัพอากาศในปีเดียวกันด้วย ทว่า อังกฤษและฝรั่งเศสต่างไม่ได้ต่อต้านแต่ประการใด เพราะเชื่อมั่นว่าฮิตเลอร์ปรารถนาสันติภาพ ต่อมา ก็มีการทำ[[ข้อตกลงการเดินเรืออังกฤษ–เยอรมัน]] ซึ่งเป็นการขยายขนาดกองทัพเรือเยอรมัน

[[ไฟล์:Messerschmitt Me 262 Schwable.jpg|thumb|right|230px|[[เม็สเซอร์ชมิท เม 262]] เครื่องบินโจมตีเจ็ทรุ่นแรกของโลก]]

มโนทัศน์ก้าวหน้าของกองทัพบกเยอรมันบุกเบิกระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] โดยการรวมกำลังภาคพื้นและทางอากาศมาเป็นชุดอาวุธผสม ประกอบกับวิธีการสู้รบสงครามแต่เดิม เช่น การโอบล้อมและ "การยุทธ์การทำลายล้าง" กองทัพเยอรมันจึงคว้าชัยชนะรวดเร็วปานสายฟ้าหลายครั้งในปีแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้นักหนังสือพิมพ์ต่างชาติสร้างคำใหม่แก่สิ่งที่เขาพบเห็นว่า [[บลิทซครีก]] จำนวนทหารทั้งหมดที่รับรัฐการในแวร์มัคท์ระหว่างที่มีอยู่ตั้งแต่ปี 1935–1945 เชื่อกันว่าถึง 18.2 ล้านนาย ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่ามีทหารเยอรมันเสียชีวิตตลอดสงครามราว 5.3 ล้านนาย

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคนาซีใช้กองทัพใน[[ฮอโลคอสต์]]<ref name="forgotten">{{cite book | author=[[Richard C. Lukas|Lukas, Richard C.]] | title=Forgotten Holocaust: The Poles Under German Occupation 1939-1944 | editor= | others=[[Norman Davies|Davies, Norman]] | publisher=[[Hippocrene Books]] | id=ISBN 0-7818-0901-0 }}</ref> ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีตั้งแต่นายทหารชั้นสัญญาบัตรจนถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง<ref>,http://www.dailymail.co.uk/pages/live/femail/article.html?in_article_id=469883&in_page_id=1879</ref> และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมและการสังหารหมู่ประชาชนในเขตยึดครอง<ref name="Datner">"55 Dni Wehrmachtu w Polsce" [[Szymon Datner]] Warsaw 1967 page 67 "Zanotowano szereg faktów gwałcenia kobiet i dziewcząt żydowskich"(Numerous cases of rapes made upon Jewish women and girls were noted)</ref> ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามต่อมวลมนุษยชาติ

การพัฒนาทางด้านการทหารของนาซีเยอรมนีเจริญไปจนถึงขั้นมีโครงการทดลองระเบิดปรมาณูของตัวเอง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สองคน [[ออทโท ฮาน]]และ[[ฟริทซ์ สทรัซซ์มันน์]] ซึ่งได้ยืนยันผลการทดลองขั้นแรกของตนเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1939<ref> O. R. Frisch ''Physical Evidence for the Division of Heavy Nuclei under Neutron Bombardment'', ''Nature'', Volume 143, Number 3616, 276-276 [http://dbhs.wvusd.k12.ca.us/webdocs/Chem-History/Frisch-Fission-1939.html (18 February 1939)]. The paper is dated 17 January 1939. [The experiment for this letter to the editor was conducted on 13 January 1939; see Richard Rhodes ''The Making of the Atomic Bomb'' 263 and 268 (Simon and Schuster, 1986).]</ref> <ref> In 1944, Hahn received the [[Nobel Prize for Chemistry]] for the discovery of nuclear fission. Some historians have documented the history of the discovery of nuclear fission and believe Meitner should have been awarded the Nobel Prize with Hahn. See the following references: Ruth Lewin Sime ''From Exceptional Prominence to Prominent Exception: Lise Meitner at the Kaiser Wilhelm Institute for Chemistry'' [http://www.mpiwg-berlin.mpg.de/KWG/Ergebnisse/Ergebnisse24.pdf Ergebnisse 24] Forschungsprogramm ''Geschichte der Kaiser-Wilhelm-Gesellschaft im Nationalsozialismus'' (2005) ; Ruth Lewin Sime ''Lise Meitner: A Life in Physics'' (University of California, 1997) ; and Elisabeth Crawford, Ruth Lewin Sime, and Mark Walker ''A Nobel Tale of Postwar Injustice'', ''Physics Today'' Volume 50, Issue 9, 26-32 (1997).</ref> แต่ทว่าเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมนี ดังนั้นการทดลองจึงยังไม่สัมฤทธิ์ผล<ref> Walker, 1993, 83-84, 170, 183, and Reference #85 on p. 247. See also Manfred von Ardenne ''Erinnerungen, fortgeschrieben. Ein Forscherleben im Jahrhudert des Wandels der Wissenschaften und politischen Systeme.'' (Droste, 1997).</ref>

== สังคม ==
== สังคม ==



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:19, 24 มีนาคม 2562

สังคม

การศึกษา

การศึกษาภายใต้ระบอบนาซีเยอรมนีมุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมรรถภาพทางกาย[1] การศึกษาทางทหารกลายมาเป็นองค์ประกอบศูนย์กลางของพลศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมชาวเยอรมันในการสงครามทั้งทางจิตใจ จิตวิญญาณ และร่างกาย[2] ตำราเรียนวิทยาศาสตร์นำเสนอการคัดเลือกโดยธรรมชาติในแง่ที่เน้นมโนทัศน์ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ[3]

นโยบายต่อต้านยิวนำไปสู่การขับครู ศาสตราจารย์และเจ้าหน้าที่ชาวยิวทั้งหมดจากระบบการศึกษาในปี 1933 ครูที่ไม่พึงปรารถนาทางการเมือง เช่น นักสังคมนิยม ถูกขับเช่นกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "กฎหมายเพื่อการฟื้นฟูรัฐการพลเรือน" ครูส่วนมากถูกกำหนดให้เป็นสมาชิกของสมาคมครูชาติสังคมนิยม" ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยทุกคนถูกกำหนดให้เป็นสมาชิกน่าเชื่อถือของสมาคมผู้บรรยายมหาวิทยาลัยชาติสังคมนิยม[4]

วิธีการสอนที่ระบอบชาติสังคมนิยมสนับสนุนนั้นเป็นเชิงประสบการณ์และมีประสิทธิภาพในการแนะแนว อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่เป็นการต่อขยายทัศนคติต่อต้านสติปัญญาของผู้นำนาซี และมิใช่ความพยายามหลักเพื่อทดลองกับวิธีการคำสอน

ในการแสวงหนทางเพื่อให้การศึกษาเป็นนามธรรมลดลง ใช้สติปัญญาลดลงและห่างไกลจากเด็กลดลง นักการศึกษาจึงเรียกร้องให้บทบาทภาพยนตร์ขยายขึ้นมาก ไรช์ซฟิลมินเทนดันท์และหัวหน้าส่วนภาพยนตร์ในกระทรวงโฆษณาการ ฟริทซ์ ฮิพเพลอร์ เขียนว่า ภาพยนตร์กระทบต่อประชาชน "ส่วนใหญ่ในระดับสายตาและอารมณ์ นั่นคือ ระดับที่ไม่ใช่สติปัญญา"[5] ผู้นำนาซียังมองภาพยนตร์ว่าเป็นสื่อที่ตนสามารถพูดคุยกับเด็กได้โดยตรง ดร. แบร์นฮาร์ด รุสท์ มองภาพยนตร์ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยกล่าวว่า "รัฐชาติสังคมนิยมทำให้ภาพยนตร์เป็นเครื่องส่งอุดมการณ์ของรัฐอย่างแน่นอนและโดยไตร่ตรอง"[6]

สวัสดิภาพสังคม

งานวิจัยล่าสุดโดยนักวิชาการเช่นเกิทซ์ อาลือ ได้เน้นบทบาทของโครงการสวัสดิภาพสังคมขนานใหญ่ของนาซีซึ่งมุ่งจัดหางานแก่พลเมืองเยอรมันและประกันมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำสุด ที่มุ่งเน้นอย่างหนัก คือ ความคิดชุมชนสัญชาติเยอรมันหรือโฟลค์ซเกไมน์ชัฟท์[7] เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกของชุมชน ประสบการณ์กรรมกรและความบันเทิงของชาวเยอรมัน จากเทศกาล ถึงการเดินทางวันหยุดและโรงหนังกลางแปลง ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง" (Kraft durch Freude, KdF) การนำบริการกรรมกรแห่งชาติ (National Labour Service) และองค์การยุวชนฮิตเลอร์ไปปฏิบัติโดยบังคับให้เป็นสมาชิกสำคัญต่อการสร้างความจงรักภักดีและมิตรภาพ นอกเหนือจากนี้ ยังมีการดำเนินโครงการสถาปัตยกรรมจำนวนหนึ่ง คาเดเอฟสร้างคาเดเอฟวาเกน ที่ภายหลังรู้จักกันในชื่อ โฟล์คซกาเวน ("รถของประชาชน") ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้เป็นรถยนต์ที่พลเมืองเยอรมันทุกคนสามารถซื้อได้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ รถดังกล่าวถูกแปลงเป็นพาหนะทางทหารและการผลิตฝ่ายพลเรือนถูกหยุดลง อีกโครงการแห่งชาติหนึ่ง คือ การก่อสร้างเอาโทบาน เป็นระบบถนนไม่จำกัดความเร็วแห่งแรกของโลก

การรณรงค์บรรเทาฤดูหนาวไม่เพียงเป็นการรวบรวมเงินบริจาคแก่ผู้อาภัพเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนพิธีกรรมเพื่อสร้างอารมณ์สาธารณะ[8] ส่วนหนึ่งของการรวมศูนย์อำนาจนาซีเยอรมนี ใบปิดประกาศกระตุ้นให้ประชาชนบริจาคแทนที่จะให้ขอทานโดยตรง[9]

สาธารณสุข

นาซีเยอรมนีให้ความสำคัญด้านสาธารณสุขอย่างมาก ต่างจากที่หลายคนเข้าใจ[10] จากการศึกษาวิจัยของโรเบิร์ต เอ็น. พร็อกเตอร์ ในหนังสือ The Nazi War on Cancer ของเขา[11][12] นาซีเยอรมนีอาจเป็นประเทศที่มีการต่อต้านบุหรี่อย่างหนักที่สุดในโลกก็ว่าได้ คณะวิจัยเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างแข็งขัน[13] และนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันสามารถพิสูจน์ได้ว่าควันพิษจากบุหรี่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเป็นครั้งแรกของโลก[14][15][16][17] ต่อมา การวิจัยบุกเบิกด้านระบาดวิทยาเชิงทดลองนำไปสู่งานวิจัยโดยฟรันซ์ ฮา มึลเลอร์ในปี 1939 และงานวิจัยโดยเอเบอร์ฮาร์ด ไชแรร์ และเอริช เชอนีแกร์ในปี 1943 ซึ่งแสดงให้เห็นแน่ชัดว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด[18] รัฐบาลกระตุ้นให้แพทย์ชาวเยอรมันให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยต่อต้านการสูบบุหรี่ การวิจัยของเยอรมนีต่ออันตรายของบุหรี่เงียบหายไปหลังสงครามยุติ และอันตรายของบุหรี่กลับมาถูกค้นพบอีกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและอังกฤษในต้นคริสต์ทศวรรษ 1950[10] โดยมีความลงรอยทางการแพทย์เกิดขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960

นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันยังพิสูจน์ว่าแร่ใยหินมีอันตรายต่อสุขภาพ และในปี 1943 เยอรมนีรับรองโรคที่เกิดจากใยหิน เช่น มะเร็งปอด เป็นโรคจากการประกอบอาชีพที่มีคุณสมบัติได้รับเงินชดเชย ซึ่งนับเป็นชาติแรกในโลกที่เสนอประโยชน์นี้

ในส่วนหนึ่งของการรณรงค์สาธารณสุขทั่วไปในนาซีเยอรมนี น้ำประปาถูกทำให้สะอาดขึ้น ตะกั่วและปรอทถูกนำออกจากสินค้าผู้บริโภค และสตรีถูกกระตุ้นให้เข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำ[11][12]

ระบบสาธารณสุขของนาซียังถือเป็นแนวคิดกลางของมโนทัศน์สุพันธุศาสตร์ คนบางกลุ่มถูกมองว่าเป็นพวก "ด้อยพันธุ์" และตกเป็นเป้าถูกกำจัดผ่านการทำหมันผ่านคำสั่งศาลอนามัยวงศ์ตระกูล (Erbgesundheitsgericht) หรือถูกฆ่าหมดสิ้นด้วยมาตรการ T4 ผู้เชี่ยวชาญข้อมูลทางการแพทย์ใช้ขบวนการและเทคโนโลยีใหม่ เช่น ระบบบัตรเจาะรูและการวิเคราะห์ราคา เพื่อช่วยในขบวนการและคำนวณประโยชน์ต่อสังคมจากการฆ่าเหล่านี้[19](

นโยบายเชื้อชาติ

เป็นที่ประจักษ์ว่าชุมชนยิวในเยอรมนีเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังตั้งแต่การปราศรัยและงานเขียนแรก ๆ ของฮิตเลอร์ อุดมการณ์นาซีวางกฎเข้มงวดเกี่ยวกับว่าใครเป็นหรือไม่เป็นสายเลือด "อารยัน" บริสุทธิ์ มีการกำหนดการปฏิบัติเพื่อทำให้เชื้อชาติอารยันบริสุทธิ์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นหนึ่งเดียวกับเชื้อชาตินอร์ดิก ตามด้วยเชื้อชาติรองที่เล็กกว่าของเชื้อชาติอารยันเพื่อเป็นตัวแทนของเชื้อชาติปกครองที่เป็นอุดมคติและบริสุทธิ์ ผลของนโยบายสังคมนาซีในเยอรมนีแบ่งแยกระหว่างผู้ที่ถูกมองว่าเป็น "อารยัน" กับ "มิใช่อารยัน" ยิว หรือส่วนหนึ่งของกลุ่มชนกลุ่มน้อยอื่น สำหรับเชื้อชาติอารยัน การดำเนินโยบายสังคมจำนวนมากที่เอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มนี้โดยระบอบนาซีเพิ่มขึ้นตามกาล รวมถึงการคัดค้านการสูบบุหรี่โดยรัฐ การล้างมลทินแก่เด็กอารยันที่เกิดแก่บิดามารดานอกสมรส เช่นเดียวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ครอบครัวเยอรมันอารยันที่ให้กำเนิดบุตร[20] วันที่ 1 เมษายน 1933 ฮิตเลอร์ประกาศคว่ำบาตรสถานประกอบธุรกิจยิวทั้งประเทศ ครอบครัวยิวจำนวนมากเตรียมตัวออกนอกประเทศ แต่อีกหลายครอบครัวหวังว่าการดำรงชีพของพวกตนและทรัพย์สินจะปลอดภัย เพราะตนเป็นพลเมืองเยอรมัน

พรรคนาซีดำเนินนโยบายเชื้อชาติและสังคมผ่านการเบียดเบียนและการสังหารผู้ที่ถูกมองว่าเป็นผู้ที่สังคมไม่พึงปรารถนาหรือ "ศัตรูแห่งไรช์" ที่ตกเป็นเป้าพิเศษ คือ ชนกลุ่มน้อยเช่น ยิว โรมานี (หรือยิปซี) ผู้นับถือพยานพระยะโฮวาห์[21] ผู้ที่มีความพิการทางจิตหรือทางกาย และพวกรักร่วมเพศ ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แผนเพื่อโดดเดี่ยวและกำจัดยิวอย่างสมบูรณ์ในเยอรมนีท้ายสุด เริ่มจากการก่อสร้างเกตโต ค่ายกักกัน และค่ายใช้แรงงาน โดยมีการก่อสร้างค่ายกักกันดาเชาเป็นแห่งแรกในปี 1933 เมื่อไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์อธิบายอย่างเป็นทางการว่าเป็น "ค่ายกักกันศัตรูทางการเมืองแห่งแรก" [22]

ร้านค้าที่ยิวเป็นเจ้าของกิจการถูกทำลายย่อยยับในเหตุการณ์คริสทัลล์นัคท์

ช่วงปีหลังนาซีเถลิงอำนาจ ยิวหลายคนถูกกระตุ้นให้เดินทางออกนอกประเทศและทำเช่นนั้น ในปี 1935 มีการตรากฎหมายเนือร์นแบร์กขึ้น มีใจความเพิกถอนสัญชาติเยอรมันของยิว และปฏิเสธการจ้างงานภาครัฐ ขณะนี้ชาวยิวส่วนมากที่ชาวเยอรมันว่าจ้างเสียตำแหน่งงาน ซึ่งถูกแทนที่โดยชาวเยอรมันที่ว่างงาน นอกจากนี้ การสมรสระหว่างยิวกับอารยันถูกห้าม ยิวสูญเสียสิทธิเพิ่มขึ้นในช่วงอีกไม่กี่ปีถัดมา ยิวถูกแยกออกไปจากหลายวิชาชีพ และมิให้จับจ่ายซื้อของในร้านค้าจำนวนมาก หลายเมืองติดป้ายห้ามมิให้ยิวเข้า ที่โดดเด่น คือ ความพยายามของรัฐบาลในการส่งชาวยิวเยอรมันที่มีเชื้อสายโปแลนด์ 17,000 คนกลับประเทศโปแลนด์ จนทำให้ในเดือนพฤศจิกายน 1938 แฮร์เชล กรึนซพัน ชายหนุ่มชาวยิวในกรุงปารีส ลอบสังหารแอร์นสท์ ฟอม รัท เอกอัครราชทูตเยอรมัน เพื่อเป็นการประท้วงการปฏิบัติต่อครอบครัวของเขาในเยอรมนี พรรคนาซีใช้ความพยายามดังกล่าวปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังชุมชนยิวในเยอรมนี เป็นบริบทของโพกรมเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1938 ซึ่งเจาะจงธุรกิจยิวเป็นพิเศษ เอสเอได้รับมอบหมายให้โจมตีสุเหร่ายิวและทรัพย์สินของยิวทั่วประเทศเยอรมนี ระหว่างคริสทัลล์นัคท์ ("คืนกระจกแตก" หรือความหมายตามตัวอักษรว่า คืนคริสตัล) เหตุที่ใช้การเกลื่อนคำดังกล่าวเพราะหน้าต่างที่แตกจำนวนมากทำให้ถนนมองดูเหมือนปกคลุมด้วยคริสตัล เหตุการณ์นี้ทำให้มีชาวยิวเยอรมันเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คน และทรัพย์สินยิวถูกทำลายถ้วนหน้า การกีดกันระยะนี้ทำให้เป็นที่ชัดเจนมากว่ายิวในเยอรมนีจะเป็นเป้าหมายในอนาคต เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ชุมชนยิวถูกปรับหนึ่งล้านมาร์คและได้รับการบอกกล่าวว่า พวกเขาจะไม่ได้รับเงินตอบแทนจากความสูญเสีย จนถึงเดือนกันยายน 1939 ยิวกว่า 200,000 คนเดินทางออกนอกประเทศเยอรมนี โดยรัฐบาลยึดทรัพย์สินใด ๆ ที่พวกเขาทิ้งไว้เบื้องหลัง

นาซียังดำเนินโครงการที่พุ่งเป้าไม่ยังผู้ที่ "อ่อนแอ" หรือ "ไม่มีสมรรถภาพ" เช่น โครงการการุณยฆาตเท4 ซึ่งคร่าชีวิตผู้พิการและชางเยอรมันที่ป่วยหลายหมื่นคน ในความพยายามที่จะ "ธำรงความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติปกครองอารยัน" (เยอรมัน: Herrenvolk) ดังที่นักโฆษณาของนาซีอธิบาย เทคนิคการสังหารจำนวนมากที่พัฒนาในความพยายามเหล่านี้ภายหลังถูกใช้ในฮอโลคอสต์ ภายใต้กฎหมายที่ผ่านในปี 1933 ระบอบนาซีดำเนินการบังคับทำหมันปัจเจกบุคคล 400,00 คน ที่ถูกหมายว่ามีความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งมีตั้งแต่การป่วยทางจิตไปจนถึงติดแอลกอฮอล์

อีกส่วนประกอบของโครงการสร้างความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติของนาซี คือ เลเบนซบอร์น หรือ "น้ำพุแห่งชีวิต" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1935 โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ทหารเยอรมัน หรือเอสเอสเป็นหลัก สืบพันธุ์ ซึ่งรวมถึงการเสนอบริหารสนับสนุนครอบครัวเอสเอส (รวมถึงการรับเลี้ยงเด็กที่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์เข้าสู่ครอบครัวเอสเอสที่เหมาะสม) และจัดหาที่อยู่ให้สตรีที่มีคุณค่าทางเชื้อชาติ ที่ตั้งครรภ์เด็กของชายเอสเอสเป็นหลัก ในสถานพักฟื้นในเยอรมนีและทั่วยุโรปที่ถูกยึดครอง เลเบนซบอร์นยังขยายไปครอบคลุมการฝากเด็กที่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์ที่บังคับยึดมาจากประเทศที่ถูกยึดครอง เช่น โปแลนด์ กับครอบครัวชาวเยอรมัน

ในปี 1941 เยอรมนีตัดสินใจทำลายชาติโปแลนด์อย่างสมบูรณ์และผู้นำเยอรมันตัดสินใจว่าในอีก 10 ถึง 20 ปี ชาวโปแลนด์ในรัฐโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนีจะถูกกวาดล้างอย่างสมบูรณ์ และให้ผู้อยู่ในนิคมชาวเยอรมันเข้าไปตั้งถิ่นฐานแทน[23] นาซีมองว่า ยิว ชาวโรมานี ชาวโปแลนด์อยู่ในกลุ่มเดียวกับชนสลาฟ เช่น ชาวรัสเซีย ชาวยูเครน ชาวเช็ก และอีกหลายเชื้อชาติที่มิใช่ "ชาวอารยัน" ตามศัพทวิทยาเชื้อชาตินาซีร่วมสมัยเป็นอุนแทร์เมนเชน(Untermensch-"ต่ำกว่ามนุษย์") แม้ชนสลาฟจำนวนมากจะถูกมองและได้รับการยอมรับว่าเป็นชาวอารยัน นาซีใช้เหตุผลตัดสินว่าชาวอารยันมีสิทธิทางชีววิทยาในการแทนที่ กำจัดและจับผู้ที่ด้อยกว่าเป็นทาส[24][25] หลังสงคราม ภายใต้ "แผนใหญ่" เจเนรัลพลันโอสท์ (เยอรมัน: Generalplan Ost) คาดการณ์การเนรเทศประชากรที่ไม่สามารถถูกแผลงเป็นเยอรมัน (non-Germanizable) 45 ล้านคนจากยุโรปตะวันออกไปยังไซบีเรียตะวันตกล่วงหน้า[26] และราว 14 ล้านคนจะยังอยู่ แต่จะถูกปฏิบัติเหมือนทาส[27][28] ส่วนชาวเยอรมันจะตั้งถิ่นฐานแทนที่ในเลเบินส์เราม์ที่ต่อขยายไปของจักรวรรดิพันปี[29]

แฮร์แบร์ท บาเคอเป็นหนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังแผนความหิว (Hunger Plan) ซึ่งเป็นแผนให้ชนสลาฟหลายสิบล้านคนอดอยากเพื่อประกันเสบียงอาหารแก่ประชาชนและทหารเยอรมัน[30] ในระยะยาว นาซีต้องการกำจัดชนสลาฟราว 30–45 ล้านคน[31] ตามข้อมูลของมิคาเอล ดอร์แลนด์ "ดังที่นักประวัติศาสตร์เยล ทีโมธี ซไนเดอร์เตือนเรา หากนาซีประสบความสำเร็จในสงครามกับรัสเซีย การนำอีกสองมิติของฮอโลคอสต์ไปปฏิบัติ แผนความหิวและเจเนรัลพลันโอสท์ จะนำไปสู่การกำจัดคนอีก 80 ล้านคนในเบลารุส รัสเซียเหนือและสหภาพโซเวียตผ่านความอดอยาก"[32]

ชาวยิวฮังการีที่จะถูกสังหารในห้องรมแก๊ส (พฤษภาคม 1944)

ต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ทางการเยอรมนีในเจเนรัลกออูแวร์เนเมนท์ในโปแลนด์ที่ถูกยึดครองสั่งให้ยิวทุกคนถูกบังคับใช้แรงงาน และผู้ที่ด้อยสมรรถภาพทางกาย เช่น หญิงและเด็ก ถูกกักกันอยู่ในเกตโต[33] สำหรับนาซีแล้ว มีหลายแนวคิดปรากฏขึ้นว่าจะตอบ "ปัญหาชาวยิว" อย่างไร วิธีหนึ่ง คือ การบังคับเนรเทศยิวขนานใหญ่ อดอล์ฟ ไอชมันน์เสนอให้ยิวถูกบังคับอพยพไปยังปาเลสไตน์[33] ฟรันซ์ ราเดมาแคร์เสนอให้ยิวถูกเนรเทศไปยังมาดากัสการ์ ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนโดยฮิมม์เลอร์ และมีการถกโดยฮิตเลอร์และผู้เผด็จการอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี แต่ภายหลังล้มเลิกไปเพราะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเมื่อปี 1942[33] ความคิดการเนรเทศต่อเนื่องไปยังโปแลนด์ที่ถูกยึดครองถูกผู้ว่าการ ฮันส์ ฟรังค์แห่งเจเนรัลกออูแวร์เนเมนท์ ปฏิเสธ เพราะแฟรงค์ปฏิเสธจะยอมรับการเนรเทศยิวมาเพิ่มยังดินแดนที่มียิวจำนวนมากอยู่แล้ว[33] ในปี 1942 ที่การประชุมวันน์เซ เจ้าหน้าที่นาซีตัดสินใจกำจัดยิวทั้งหมด ดังที่อภิปราย "การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย" ค่ายกักกันเช่นเอาชวิทซ์ ถูกแปลงและใช้ห้องรมแก๊สเพื่อสังหารยิวให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จนถึงปี 1945 ค่ายกักกันจำนวนหนึ่งถูกกองทัพสัมพันธมิตรปลดปล่อย และพวกเขาพบว่าผู้รอดชีวิตขาดอาหารอย่างรุนแรง ฝ่ายสัมพันธมิตรยังพบหลักฐานว่า นาซีค้ากำไรจากการสังหารหมู่ยิวไม่เพียงแต่โดยการยึดทรัพย์สินและสิ่งของมีค่าส่วนบุคคลแล้ว แต่ยังโดยการแยกสารอุดฟันทองคำจากร่างของยิวบางคนที่ถูกขังในค่ายกักกันด้วย

บทบาทของสตรีและครอบครัว

สตรีในนาซีเยอรมนีเป็นนโยบายสังคมเสาหลักของนาซี นาซีคัดค้านขบวนการคตินิยมสิทธิสตรี โดยอ้างว่ามีวาระฝ่ายซ้าย เทียบได้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ และแย่สำหรับทั้งหญิงและชาย ระบอบนาซีสนับสนุนสังคมอำนาจฝ่ายบิดา ขณะที่สตรีเยอรมันจะรับรองว่า "โลกเป็นสามีของเธอ ครอบครัวของเธอ ลูกของเธอและบ้านของเธอ"[34] ฮิตเลอร์อ้างว่า การที่สตรียึดอาชีพสำคัญจากบุรุษระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่นั้นเป็นผลเสียต่อครอบครัวในทางเศรษฐกิจ เพราะสตรีได้รับค่าจ้างเพียง 66% ของที่บุรุษได้รับ[34] รัฐบาลเรียกร้องให้สตรีสนับสนุนรัฐในกิจการสตรีอย่างแข็งขัน พร้อมกับเรียกร้องให้สตรีเลิกทำงานนอกบ้าน ในปี 1933 ฮิตเลอร์แต่งตั้งแกร์ทรุด ชอลทซ์-คลิงก์เป็นผู้นำสันนิบาตสตรีชาติสังคมนิยม ซึ่งสอนสตรีว่าบทบาทหลักของพวกเธอในสังคม คือ ให้กำเนิดบุตรและสตรีจักรับใช้บุรุษ และเคยกล่าวว่า "ภารกิจของสตรีคือ จัดการสิ่งจำเป็นในชีวิตตั้งแต่การมีอยู่ขณะแรกจนขณะสุดท้ายของบุรุษในบ้านและในวิชาชีพ"[34] การคาดหมายนี้ยังใช้กับสตรีอารยันที่สมรสกับบุรุษยิว ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการประท้วงโรเซนซทรัสเซอในปี 1943 ซึ่งสตรีเยอรมัน 1,800 คน กับญาติอีก 4,200 คน ทวงรัฐนาซีให้ปล่อยตัวสามียิวของพวกเธอ ฐานะนี้ยึดถือกันรุนแรงเสียจนทำให้การเกณฑ์สตรีรับงานสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองยากยิ่ง[35]

ระบอบนาซีกีดกันสตรีมิให้แสวงการศึกษาระดับสูงขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย จำนวนสตรีที่ได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยลดลงมากภายใต้ระบอบนาซี คือ จากประมาณ 128,000 คนในปี 1933 ลดเหลือ 51,000 คนในปี 1938 การลงทะเบียนเรียนของสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาก็ลดลงจาก 437,000 คนในปี 1926 เหลือ 205,000 คนในปี 1937 อย่างไรก็ดี ด้วยการกำหนดให้ชายถูกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพเยอรมันระหว่างสงคราม เมื่อถึงปี 1944 สตรีจึงคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทะเบียนเรียนในระบบการศึกษา[36]

อีกด้านหนึ่ง สตรีถูกคาดหวังให้แข็งแรง มีสุขภาพดีและมีชีวิตชีวา ภาพถ่ายคำบรรยายใต้ภาพว่า "อนาคตมารดา" แสดงวัยรุ่นหญิงแต่งกายเล่นกีฬาและถือแหลน[37] สตรีชาวนาที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำงานกับดินและให้กำเนิดบุตรที่แข็งแรง เป็นอุดมคติ และเป็นสาเหตุของการยกย่องสตรีคล้ายนักกีฬาที่ผิวเป็นสีแทนเพราะทำงานกลางแจ้ง[38]

สมาชิกของสันนิบาตสาวเยอรมันกำลังฝึกยิมนาสติกในปี 1941

มีการจัดตั้งองค์การเพื่อปลูกฝังค่านิยมนาซีแก่สตรีเยอรมัน องค์การเหล่านี้อาทิ สันนิบาตเด็กหญิง (Jungmädelbund) สำหรับเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 10 ถึง 14 ปี, สันนิบาตสาวเยอรมัน (Bund Deutscher Mädel) สำหรับเด็กสาววัย 14 ถึง 18 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีองค์กรอย่างสันนิบาตสตรีชาติสังคมนิยม (NS-Frauenschaft) ที่สามารถตีพิมพ์นิตยสารของตนเองซึ่งเป็นนิตยสารสตรีเพียงเล่มเดียวที่ผ่านการอนุมัติในนาซีเยอรมนี[39]

กิจกรรมของเบเดเอ็มครอบคลุมพลศึกษา รวมถึงการวิ่ง กระโดดไกล ตีลังกา เดินบนลวด และว่ายน้ำ[40] ดัสดอยท์เชอแมเดลเน้นการผจญภัยน้อยกว่าแดร์พิมพฟ์ของเด็กชาย[41] แต่เน้นสตรีเยอรมันที่แข็งแรงและคล่องแคล่วกว่าในเอ็นเอส-เฟราเอน-วาร์เทอมาก[42] นอกจากนี้ ก่อนเข้างานอาชีพหรือการศึกษาระดับสูงใด ๆ เด็กหญิงต้องสำเร็จรัฐการทางบกก่อนหนึ่งปี เช่นเดียวกับเด็กชายในยุวชนฮิตเลอร์[43]

แม้บทบาทของสตรีในสังคมเยอรมันจะลดลงไปมาก แต่สตรีบางคนก็ยังมีบทบาทสำคัญ จนการยกย่องสรรเสริญและประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น ฮันนา ไรท์ช นักบินประจำตัวฮิตเลอร์ และเลนี ไรเฟนสทาล ผู้กำกับภาพยนตร์และดารา

ในประเด็นกิจการทางเพศเกี่ยวกับสตรี บิดดิสคอมเบอแย้งว่า นาซีแตกต่างจากท่าทีจำกัดบทบาทของสตรีในสังคมอย่างมาก ระบอบนาซีสนับสนุนจรรยาบรรณเสรีนิยมที่คำนึงถึงประเด็นทางเพศ และเห็นใจสตรีที่เกิดลูกนอกสมรส[44] การล่มสลายของศีลธรรมคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในเยอรมนีถูกเร่งขึ้นระหว่างไรช์ที่สาม บางส่วนเป็นเพราะนาซี และส่วนใหญ่เนื่องมาจากผลของสงคราม การสำส่อนเพิ่มขึ้นมากเมื่อสงครามดำเนินไป ด้วยทหารที่ไม่แต่งงานมักสนิทสนมกับสตรีหลายคนพร้อมกัน สตรีที่สมรสแล้วมักข้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับบุรุษหลายคนพร้อมกัน กับทั้งทหาร พลเรือนหรือผู้ใช้แรงงานทาส "หญิงดูแลไร่บางคนในเวือร์ทเทมแบร์กเริ่มใช้เพศสัมพันธ์เป็นโภคภัณฑ์แล้ว โดยจ่ายรสชาติเนื้อหนังมังสาเป็นวิธีการได้งานเต็มวันจากกรรมกรต่างด้าว"[44] กระนั้น การโฆษณาชวนเชื่อนาซีคัดค้านการทำชู้และสนับสนุนความศักดิ์สิทธิ์ของการสมรสอย่างเปิดเผย[45] ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ถ่ายทำในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงวัสดุที่มา ให้สตรีเผชิญความตายจากการละเมิดทางเพศแทนที่จะเป็นชาย สะท้อนให้เห็นว่าความผิดเป็นของใคร[46] เมื่อมีความพยายามล้างมลทินแก่บุตรนอกกฎหมาย บ้านเลเบนซบอร์นถูกนำเสนอแก่สาธารณะสำหรับสตรีสมรสแล้ว[47] ถ้อยแถลงต่อต้านการสมรสอย่างเปิดเผย เช่น ถ้อยแถลงของฮิมม์เลอร์เกี่ยวกับการดูแลเด็กนอกสมรสของทหารที่เสียชีวิต ได้รับการประท้วงเป็นเสียงตอบรับ[48] อิลซา แมคคีหมายเหตุว่า การบรรยายของยุวชนฮิตเลอร์และเบเดเอ็มเกี่ยวกับความจำเป็นในการผลิตเด็กเพิ่มขึ้นเพิ่มจำนวนเด็กนอกกฎหมายอย่างมาก ซึ่งมารดาหรือบิดาที่เป็นไปได้ต่างไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหา[49]

การสมรสหรือความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุคคลที่ถูกมองว่าเป็น "อารยัน" กับผู้ที่ไม่ถูกจัดเป็นรัสเนชันเดอถูกห้ามและมีบทลงโทษ อารยันที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดอาจถูกนำตัวไปกักขังในค่ายกักกัน ขณะที่ผู้ที่มิใช่อารยันอาจเผชิญโทษประหารชีวิต มีจุลสารสั่งให้สตรีเยอรมันทุกคนหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์กับกรรมกรต่างด้าวทั้งหมดที่นำเข้ามาในประเทศเยอรมนีว่าเป็นอันตรายต่อเลือดของพวกเธอ[50]

การทำแท้งถูกลงโทษอย่างหนักในนาซีเยอรมนีเว้นเสียแต่อยู่บนเหตุผลของ "สาธารณสุขเชื้อชาติ" ตั้งแต่ปี 1943 นักรีดลูกเผชิญโทษประหารชีวิต[51] การแสดงการคุมกำเนิดไม่ได้รับอนุญาต และฮิตเลอร์เองอธิบายการคุมกำเนิดว่าเป็น "การละเมิดธรรมชาติ เป็นการทำลายความเป็นหญิง ความเป็นแม่และความรัก"[52]

สิ่งแวดล้อมนิยม

ในปี 1935 รัฐบาลนาซีตรากฎหมาย "รัฐบัญญัติคุ้มครองธรรมชาติไรช์" แม้มิใช่กฎหมายนาซีบริสุทธิ์ เพราะบางส่วนได้รับอิทธิพลมาก่อนนาซีเถลิงอำนาจ กระนั้นกฎหมายนี้ก็สะท้อนอุดมการณ์นาซี มโนทัศน์เดาแอร์วัลด์ (น่าจะแปลได้ว่า ป่านิรันดร์) ซึ่งรวมมโนทัศน์อย่างการจัดการป่า และการคุ้มครองได้รับการสนับสนุน ตลอดจนมีความพยายามจัดการกับมลพิษทางอากาศ[53][54]

ในทางปฏิบัติ กฎหมายและนโยบายที่ได้รับการตราเผชิญกับการขัดขืนจากหลายกระทรวงที่มุ่งบั่นทอนกฎหมายและนโยบายเหล่านี้ และจากลำดับความสำคัญที่ความพยายามของสงครามมาก่อนการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

นโยบายการคุ้มครองสัตว์

นาซีมีส่วนซึ่งสนับสนุนสิทธิสัตว์ สวนสัตว์และสัตว์ป่า[55] และดำเนินหลายมาตรการเพื่อประกันการคุ้มครองสัตว์[56] ในปี 1933 รัฐบาลตรากฎหมายคุ้มครองสัตว์ที่เข้มงวด[57][58] ผู้นำพรรคนาซีหลายคน รวมทั้งฮิตเลอร์และเกอริง เป็นผู้สนับสนุนการคุ้มครองสัตว์ นาซีหลายคนเป็นนักสิ่งแวดล้อมนิยม (ที่โดดเด่น คือ รูดอล์ฟ เฮสส์) และการคุ้มครองสปีชีส์และสวัสดิภาพสัตว์เป็นประเด็นสำคัญในระบอบนาซี[59] ฮิมม์เลอร์พยายามห้ามการล่าสัตว์[60] เกอริงเป็นคนรักสัตว์และนักอนุรักษ์[61] กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ปัจจุบันในเยอรมนีก็รับมาจากกฎหมายที่ริเริ่มขึ้นในระบอบนาซี[62]

แม้มีการตรากฎหมายหลายฉบับเพื่อการคุ้มครองสัตว์ แต่ก็ขาดการบังคับใช้ ตามข้อมูลของพฟูแกร์สอาร์คิฟเฟือร์ไดเกซัมเทฟีซิโอโลจี (กรุสรีรวิทยาทั้งหมดพฟูแกร์ส) วารสารวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น มีการทดลองกับสัตว์หลายการทดลองระหว่างระบอบนาซี[63] ระบอบนาซียุบองค์การไม่เป็นทางการจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมนิยมและการคุ้มครองสัตว์ เช่น เฟรนด์สออฟเนเจอร์[64]

วัฒนธรรม

การเผาหนังสือโดยนาซีในปี 1933 นาซีเผาผลงานที่ถูกมองว่า "ไม่เป็นเยอรมัน" ในกรุงเบอร์ลิน ได้แก่ หนังสือโดยผู้ประพันธ์ยิว คู่แข่งการเมือง และผลงานอื่นที่ไม่เป็นไปตามแนวอุดมการณ์นาซี
สนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงเบอร์ลิน

ศิลปะ

ระบอบนาซีมุ่งฟื้นฟูค่านิยมดั้งเดิมในวัฒนธรรมเยอรมัน ศิลปวัฒนธรรมที่นิยามสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ถูกปราบปราม ทัศนศิลป์ถูกเฝ้าสังเกตอย่างเข้มงวดและเป็นแบบประเพณี เน้นยกตัวอย่างแก่นเยอรมัน ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ แสนยนิยม คตินิยมวีรบุรุษ อำนาจ ความเข้มแข็งและความเชื่อฟัง ศิลปะนามธรรมสมัยใหม่และศิลปะอาวองการ์ดถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ และถูกจัดแสดงเป็นพิเศษว่าเป็น "ศิลปะเสื่อม" ที่ซึ่งผลงานเหล่านี้จะถูกเยาะหยัน ในตัวอย่างที่โดดเด่นครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1937 ฝูงชนขนาดใหญ่ยืนเข้าแถวเพื่อชมการจัดแสดงพิเศษ "ศิลปะเสื่อม" ในมิวนิก รูปแบบศิลปะที่ถูกมองว่าเสื่อม มีคติดาด บาศกนิยม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ คติโฟวิสต์ ลัทธิประทับใจ ปรวิสัยใหม่ และลัทธิเหนือจริง วรรณกรรมที่เขียนโดยชาวยิว ชนที่มิใช่อารยันอื่น พวกรักร่วมเพศหรือผู้ประพันธ์ที่คัดค้านนาซีจะถูกรัฐบาลทำลาย การทำลายวรรณกรรมที่ฉาวโฉ่ที่สุด คือ การเผาหนังสือโดยนักเรียนเยอรมันในปี 1933

แม้ความพยายามอย่างเป็นทางการในการสร้างวัฒนธรรมเยอรมันบริสุทธิ์ พื้นที่หลักหนึ่งของศิลปะและสถาปัตยกรรมภายใต้การชี้นำส่วนตัวของฮิตเลอร์เป็นลัทธิคลาสสิกใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบที่อิงสถาปัตยกรรมโรมโบราณ รูปแบบนี้ขัดและค้านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ใหม่กว่า เป็นเสรีนิยมกว่า และได้รับความนิยมกว่าในสมัยนั้นอย่างอลังการศิลป์ อาคารโรมันจำนวนมากได้รับการพิจารณาโดยสถาปนิกของรัฐ อัลแบร์ท ชเปียร์ สำหรับแบบสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐ ชเปียร์ก่อสร้างอาคารขนาดมหึมาและโอ่อ่า เช่น ในลานชุมนุมพรรคนาซีในเนือร์นแบร์กและอาคารทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์หลังใหม่ในกรุงเบอร์ลิน แบบหนึ่งที่ไม่ได้สร้างจริงเป็นพาร์เธนอนในกรุงโรม เรียกว่า "โฟล์คชัลเลอ" เป็นศูนย์กลางกึ่งศาสนาของระบอบนาซีในกรุงเบอร์ลินที่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เยอรมาเนีย" ซึ่งจะเป็น "เมืองหลวงของโลก" (เวลเทาพท์สทัดท์) นอกจากนี้ ที่จะก่อสร้าง คือ ประตูชัยที่ใหญ่กว่าในกรุงปารีสหลายเท่า ซึ่งอาศัยแบบคลาสสิกเช่นกัน การออกแบบจำนวนมากสำหรับเยอรมาเนียไม่สามารถก่อสร้างได้จริง เพราะขนาดและดินเลนใต้กรุงเบอร์ลิน ภายหลัง วัสดุที่จะใช้ก่อสร้างถูกเปลี่ยนไปใช้ในความพยายามของสงครามแทน

ภาพยนตร์และสื่อ

ภาพยนตร์เยอรมันแห่งยุคส่วนมากตั้งใจให้เป็นผลงานการบันเทิงเป็นหลัก การนำเข้าภาพยนตร์ถูกกฎหมายห้ามหลังปี 1936 และอุตสาหกรรมเยอรมัน ซึ่งถูกโอนเป็นของรัฐในปี 1937 จำต้องชดเชยสำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่ขาดไป การบันเทิงยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อโรงภาพยนตร์เป็นสิ่งหย่อนใจจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรและความพ่ายแพ้ติด ๆ กันของเยอรมนี ในปี 1943 และ 1944 การยอมรับโรงภาพยนตร์ในเยอรมนีเกินหนึ่งพันล้าน[65] และภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดยามสงคราม คือ ดีกรอเซอลีเบอ (1942) และวุนชคอนแซร์ท (1941) ซึ่งทั้งสองเรื่องประกอบด้วยส่วนที่เป็นดนตรี นิยายวีรคติยามสงครามและโฆษณาชวนเชื่อรักชาติ เฟราเอนซินด์ดอคเบสเซเรอดีโพลมาเทน (1941) ดนตรีตลกซึ่งเป็นหนึ่งในภาพยนตร์สีเรื่องแรก ๆ ของเยอรมนี และวีนแนร์บลุท (1942) การดัดแปลงจุลอุปรากรตลกของโยฮันน์ สเทราสส์ ความสำคัญของโรงภาพยนตร์ในฐานะเครื่องมือของรัฐ ทั้งคุณค่าการโฆษณาชวนเชื่อ และความสามารถในการทำให้ประชาชนได้รับความบันเทิงอย่างต่อเนื่อง พบเห็นได้ในประวัติการถ่ายทำภาพยนตร์ โคลแบร์ก (1945) ของไฟท์ ฮาร์ลัน ภาพยนตร์ที่แพงที่สุดแห่งยุค สำหรับการถ่ายทำ ซึ่งทหารหลายหมื่นนายถูกเปลี่ยนจากตำแหน่งทางทหารมาแสดงเป็นตัวประกอบ[66]

แม้การอพยพออกนอกประเทศของผู้ผลิตภาพยนตร์จำนวนมากและการจำกัดทางการเมือง แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเยอรมนีก็มิได้ขาดนวัตกรรมทางเทคนิคและสุนทรีย์ การริเริ่มการผลิตภาพยนตร์อักฟาโคลอร์เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นอันหนึ่ง ความสำเร็จทางเทคนิคและสุนทรีย์ยังอาจมาถึงคราวสิ้นสุดในไรช์ที่สามได้เหมือนกัน ที่เห็นได้ชัดในผลางานของเลนี รีเฟนสทาล ไทรอัมฟ์ออฟเดอะวิล (1935) ของรีเฟนสทาล ซึ่งบันทึกเหตุการณ์การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ก (1934) และโอลิมเปีย (1938) ที่บันทึกเหตุการณ์โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 บุกเบิกเทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องและการตัดต่อที่มีอิทธิพลต่อภาพยนตร์สมัยหลังจำนวนมาก ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไททรอัมฟ์ออฟเดอะวิล ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างสูง เพราะคุณค่าสุนทรีย์นั้นแยกขาดจากการโฆษณาชวนเชื่ออุดมคติชาติสังคมนิยมไม่ได้ ศิลปินที่ไม่สามารถแทนกันได้ที่ดูเหมาะกับอุดมคติชาติสังคมนิยม เช่น มารีคา รอคค์ และโยฮันเนส เฮสแทร์ส ถูกนำขึ้นรายการกอทท์เบกนาเดเทน ("ผู้มีพรสวรรค์จากพระเจ้า") โดยเกิบเบิลส์ระหว่างสงคราม[67]

ศาสนา

สำมะโนประชากรเยอรมนี เดือนพฤษภาคม 1939 บ่งชี้ว่า ชาวเยอรมัน 54% มองว่าตนเองนับถือนิกายโปรแตสแตนต์ และ 40% มองว่าตนนับถือคาทอลิก โดยมีเพียง 3.5% เท่านั้นที่อ้างว่าเป็น "ผู้เชื่อในพระเจ้า" เพเกินใหม่ และ 1.5% ไม่เชื่อในพระเจ้า สำมะโนนี้ออกมาหลังเข้าสู่ยุคนาซีมาแล้วหกปี[68]

การกีฬา

กีฬามีบทบาทศูนย์กลางในเป้าหมายการสร้างนักกีฬาหนุ่มสาวที่เข้มแข็งของนาซี เพื่อสร้างเชื้อชาติที่ "ดีเลิศ" และช่วยสร้างเยอรมนีเป็นมหาอำนาจทางกีฬา สัญนิยมทางการเมืองมวลชนที่มีร่างกายเกือบเปลือยบุรุษเพศครอบครองพื้นที่สาธารณะเข้ากับระบบการโฆษณาชวนเชื่ออย่างง่ายดาย โดยมีตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ "โอลิมเปีย" ในปี 1938 ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงโอลิมปิกฤดูร้อนกรุงเบอร์ลิน 1936[69]

"สันนิบาติชาติสังคมนิยมแห่งไรช์เพื่อกายบริหาร" (NSRBL) เป็นองค์การดูแลกีฬาระหว่างไรช์ที่สาม มีการจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรมเยอรมันสองครั้งหลักที่มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 และที่ศาลาเยอรมันที่นิทรรศการระหว่างประเทศในปี 1937 โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ตั้งใจให้แสดงให้โลกเห็นความเหนือกว่าชาติอื่นของเยอรมนี นักกีฬาเยอรมันได้ถูกคัดสรรอย่างมาอย่างดีไม่เพียงแต่พละกำลังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลักษณะภายนอกที่เป็นอารยันด้วย[70]

เชิงอรรถ

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "annexed" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "statistics" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิง

  1. Pauley, Bruce F. Hitler, Stalin and Mussolini: Totalitarianism in the Twentieth Century. 2nd Edition. 2003. Wheeling, Illinois, USA: Harlan Davidson Inc. Pp. 118.
  2. Farago, Ladislas (1972) [1942]. German Psychological Warfare. International propaganda and communications. New York: Arno Press. p. 65. ISBN 978-0-405-04747-3.
  3. Bowen, James (1981) [1972]. A History of Western Education. Vol. 3. p. 480.
  4. Mehdi Khan Nakosteen, The History and Philosophy of Education (1965) p 386
  5. Mary-Elizabeth O'Brien, Nazi Cinema as Enchantment: The Politics of Entertainment in the Third Reich (2006) p 8
  6. David Stewart Hull, Film in the Third Reich: A Study of the German Cinema, 1933–1945 (1969) p 51
  7. Grunberger 1971, p. 18.
  8. Grunberger 1971, p. 79.
  9. Claudia Koonz, The Nazi Conscience, p 71 ISBN 0-674-01172-4
  10. 10.0 10.1 แพทยศาสตร์และนโยบายด้านสาธารณสุขของนาซีเยอรมนี (อังกฤษ)
  11. 11.0 11.1 Nazi Medicine and Public Health Policy Robert N. Proctor, Dimensions: A Journal of Holocaust Studies.
  12. 12.0 12.1 Review of "The Nazi War on Cancer" Canadian Journal of History, Aug 2001 by Ian Dowbiggin
  13. Proctor, Robert N. (1996), Nazi Medicine and Public Health Policy, Dimensions, Anti-Defamation League {{citation}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  14. Robert N. Proctor, Pennsylvania State University, "The anti-tobacco campaign of the Nazis: a little known aspect of public health in Germany, 1933-45", British Medical Journal, 313 (7070): 1450–3, PMC 2352989, PMID 8973234, สืบค้นเมื่อ 2008-06-01
  15. Proctor, Robert N., Nazi Medicine and Public Health Policy, Dimensions, p. 173 {{citation}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  16. Johan P. Mackenbach (2005), "Odol, Autobahne and a non-smoking Führer: Reflections on the innocence of public health", International Journal of Epidemiology, 34 (3): 537–9, PMID 15746205, สืบค้นเมื่อ 2008-06-01 {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  17. Gilman, Sander L.; Zhou, Xun (2004), Smoke: A Global History of Smoking, Reaktion Books, p. 328, ISBN 1-86189-200-4
  18. Young, T. Kue (2005), Population Health: Concepts and Methods, Oxford University Press, p. 252, ISBN 0-19-515854-7
  19. The Nazi Census, Götz Aly and Karl Heinz Roth, Temple University Press, 2004
  20. Perry Biddiscombe "Dangerous Liaisons: The Anti-Fraternization Movement in the US Occupation Zones of Germany and Austria, 1945-1948", Journal of Social History 34.3 (2001) 611-647
  21. United States Holocaust Memorial Museum"ushmm.org". สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  22. จากหน้า http://www.mazal.org/archive/DACHPHO/Dach02.htm ซึ่งสามารถแปลได้ว่า: "หัวหน้าหน่วยตำรวจแห่งกรุงมิวนิก, ฮิมม์เลอร์, ได้ออกประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า: เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ค่ายกักกันแห่งแรกได้เปิดใช้งานที่ดาเชาโดยจัดให้มีนักโทษกว่า 5,000 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นพวกคอมมิวนิสต์และพวกไรช์บันเนอร์และเจ้าหน้าที่พรรคสังคมประชาธิปไตยผู้ซึ่งได้คุกคามความปลอดภัยของรัฐจะถูกจับกุมด้วยถ้าจำเป็น ซึ่งในระยะยาวแล้วมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บตัวนักโทษให้แยกจากกันในเรือนจำของรัฐ และบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถถูกปล่อยตัวได้เนื่องจากความพยายามของพวกเขาที่จะยืนกรานและเจตนาที่จะสร้างความวุ่นวายในประเทศ ทันทีที่พวกเขาได้รับการปล่อยตัว"
  23. Berghahn, Volker R. (1999). "Germans and Poles 1871–1945". Germany and Eastern Europe: Cultural Identities and Cultural Differences. Rodopi.
  24. Hitler's Plans for Eastern Europe. Selections from: "Poland under Nazi Occupation", by Janusz Gumkowkski and Kazimierz Leszczynski
  25. Heinrich Himmler Speech before SS Group Leaders Posen, Poland 1943. Hanover College Department of History
  26. Hans-Walter Schmuhl. The Kaiser Wilhelm Institute for Anthropology, Human Heredity, and Eugenics, 1927–1945: crossing boundaries. Volume 259 of Boston studies in the philosophy of science. Coutts MyiLibrary. SpringerLink Humanities, Social Science & LawAuthor. Springer, 2008. ISBN 1-4020-6599-X, 9781402065996, p. 348-349
  27. Robert Gellately. Revieved works: Vom Generalplan Ost zum Generalsiedlungsplan by Czeslaw Madajczyk. Der "Generalplan Ost." Hauptlinien der nationalsozialistischen Planungs- und Vernichtungspolitik by Mechtild Rössler; Sabine Schleiermacher. Central European History, Vol. 29, No. 2 (1996), pp. 270–274
  28. Roger Chickering, Stig Förster, Bernd Greiner, German Historical Institute (Washington, D.C.) (2005). A world at total war: global conflict and the politics of destruction, 1937–1945. Cambridge University Press. p.65. ISBN 0-521-83432-5
  29. Joseph Poprzeczny, Odilo Globocnik, Hitler's Man in the East, McFarland, 2004, ISBN 0-7864-1625-4, Google Print, p.186
  30. Tooze, Adam, The Wages of Destruction, Viking, 2007, pp. 476–85, 538–49, ISBN 0-670-03826-1
  31. Dan Stone (2010). Histories of the Holocaust. Oxford University Press. p.212. ISBN 0-19-956680-1.
  32. Michael Dorland (2009). Cadaverland: inventing a pathology of catastrophe for Holocaust survival : the limits of medical knowledge and memory in France. UPNE. p.6. ISBN 1-58465-784-7
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 Kershaw 2000, p. 111.
  34. 34.0 34.1 34.2 "spartacus.schoolnet.co.uk". สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  35. William L. O'Neill, A Democracy At War: America's Fight At Home and Abroad in World War II, p 99-100 ISBN 0-02-923678-9
  36. Bruce F. Pauley, Hitler, Stalin, and Mussolini: Totalitarianism in the Twentieth Century (2003) p 119-37
  37. Richard Overy, The Dictators: Hitler's Germany, Stalin's Russia, p248 ISBN 0-393-02030-4
  38. Rupp 1978, pp. 45–46.
  39. "NS-Frauenwarte: Paper of the National Socialist Women's League"
  40. Grunberger 1971, p. 278.
  41. "Material from "Das deutsche Mädel"
  42. Rupp 1978, p. 45.
  43. Arvo L. Vercamer "HJ-Landdienst"
  44. 44.0 44.1 Biddiscombe, Perry (2001). "Dangerous Liaisons: The Anti-Fraternization Movement in the US Occupation Zones of Germany and Austria, 1945–1948". Journal of Social History. 34 (3): 611–647. doi:10.1353/jsh.2001.0002.
  45. Cinzia Romani, Tainted Goddesses: Female Film Stars of the Third Reich p20 ISBN 0-9627613-1-1
  46. Grunberger 1971, p. 382.
  47. Grunberger 1971, p. 246.
  48. Himmler's Response to Complaints regarding his "Procreation Decree" of 28 October 1939 (30 January 1940)
  49. George Mosse, Nazi culture: intellectual, cultural and social life in the Third Reich p 277 ISBN 978-0-299-19304-1
  50. Rupp 1978, pp. 124–125.
  51. Potts, Malcolm; Diggory, Peter; Peel, John (1977). Abortion. Cambridge; New York: Cambridge University Press. p. 382. ISBN 0-521-29150-X. OCLC 2645117.
  52. "History of Contraception". Glowm.com. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
  53. JONATHAN OLSEN "How Green Were the Nazis? Nature, Environment, and Nation in the Third Reich (review)" Technology and Culture – Volume 48, Number 1, January 2007, pp. 207–208
  54. Review of Franz-Josef Brueggemeier, Marc Cioc, and Thomas Zeller, eds, "How Green Were the Nazis?: Nature, Environment, and Nation in the Third Reich" Wilko Graf von Hardenberg, H-Environment, H-Net Reviews, October, 2006.
  55. Thomas R. DeGregori (2002). Bountiful Harvest: Technology, Food Safety, and the Environment. Cato Institute. pp. p153. ISBN 1-930865-31-7. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  56. Arnold Arluke, Clinton Sanders (1996). Regarding Animals. Temple University Press. pp. p132. ISBN 1-56639-441-4. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  57. Hartmut M. Hanauske-Abel, Not a slippery slope or sudden subversion: German medicine and National Socialism in 1933, BMJ 1996; pp. 1453–1463 (7 December)
  58. "kaltio.fi". สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  59. Robert Proctor (1999). The Nazi War on Cancer. Princeton University Press. pp. p5. ISBN 0-691-07051-2. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  60. Kitchen 2006, p. 278.
  61. Seymour Rossel (1992). The Holocaust: The World and the Jews, 1933–1945. Behrman House, Inc. pp. p79. ISBN 0-87441-526-8. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  62. Bruce Braun, Noel Castree (1998). Remaking Reality: Nature at the Millenium. Routledge. pp. p92. ISBN 0-415-14493-0. {{cite book}}: |pages= has extra text (help) [sic]
  63. C. Ray Greek, Jean Swingle Greek (2002). Sacred Cows and Golden Geese: The Human Cost of Experiments on Animals. Continuum International Publishing Group. pp. p90. ISBN 0-8264-1402-8. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  64. Boria Sax (2000). Animals in the Third Reich: Pets, Scapegoats, and the Holocaust. Continuum International Publishing Group. pp. p41. ISBN 0-8264-1289-0. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  65. Kinobesuche in Deutschland 1925 bis 2004 Spitzenorganisation der Filmwirtschaft e. V
  66. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ industry1
  67. "Nederlanderse-entertainer-sin-Duitsland". Die Welt (ภาษาDutch). 17 April 2010. สืบค้นเมื่อ 7 April 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  68. Johnson, Eric (2000). Nazi Terror: The Gestapo, Jews, and Ordinary Germans. New York: Basic Books, p. 10.
  69. Nadine Rossol, "Performing the Nation: Sports, Spectacles, and Aesthetics in Germany, 1926–1936," Central European History Dec 2010, Vol. 43 Issue 4, pp 616–638
  70. Anton Rippon, Hitler's Olympics: The Story of the 1936 Nazi Games (2006)

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "continuum" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Cuomo 1995" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "disciples" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Evans2008" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Forced Labour under Third Reich - Part 1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "google1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "historiography" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Inside the Third Reich: Memoirs" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "jstor" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "jstor2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Kershaw2000" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Mierzejewski1988" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "production" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "richard" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Temin 1991" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "The Role of Private Property in the Nazi Economy: The Case of Industry" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "wehrmacht" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Why the Allies Won" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

บรรณานุกรม

ดูเพิ่ม

ประวัติศาสตร์

การเมือง

สังคม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • "Introduction to the Holocaust". United States Holocaust Memorial Museum. สืบค้นเมื่อ 12 May 2013.
  • Price, Alfred (2003). Targeting the Reich: Allied Photographic Reconnaissance over Europe, 1939–1945. London: Military Book Club. ISBN 0-7394-3496-9.
  • Tooze, Adam (2006). The Wages of Destruction: The Making and Breaking of the Nazi Economy. London; New York: Allen Lane. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Uekötter, Frank (2006). The Green and the Brown: A History of Conservation in Nazi Germany. Cambridge; New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-84819-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Uekötter, Frank (2005). "Polycentrism in Full Swing: Air Pollution Control in Nazi Germany". ใน Brüggemeier, Franz-Josef; Cioc, Mark; Zeller, Thomas (บ.ก.). How Green Were the Nazis?: Nature, Environment, and Nation in the Third Reich. Athens: Ohio University Press. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Umbreit, Hans (2003). "Hitler's Europe: The German Sphere of Power". ใน Kroener, Bernhard; Müller, Rolf-Dieter; Umbreit, Hans (บ.ก.). Germany and the Second World War, Vol. 5. Organization and Mobilization in the German Sphere of Power. Part 2: Wartime Administration, Economy, and Manpower Resources, 1942–1944/5. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-820873-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • van Wie, Paul D. (1999). Image, History and Politics: The Coinage of Modern Europe. Lanham, Md: University Press of America. ISBN 978-0-7618-1221-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Weale, Adrian (2010). Army of Evil: A History of the SS. New York; Toronto: Penguin Group. ISBN 978-0-451-23791-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Wedekind, Michael (2005). "The Sword of Science: German Scholars and National Socialist Annexation Policies in Slovenia and Northern Italy". ใน Haar, Ingo; Fahlbusch, Michael (บ.ก.). German Scholars and Ethnic Cleansing (1920–1945). New York: Berghahn. ISBN 978-1-57181-435-7. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Wirtschaft und Statistik (ภาษาGerman). Wiesbaden: Statistisches Bundesamt Deutschland. October 1956. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Zeitlin, Jonathan (1955). "Flexibility and Mass Production at War: Aircraft Manufacture in Britain, the United States, and Germany, 1939–1945". Technology and Culture. 36 (1): 46–79. doi:10.2307/3106341. JSTOR 3106341. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)