ข้ามไปเนื้อหา

แผนความหิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชลยศึกชาวโซเวียตขณะเปลือยกายในค่ายกักกันเมาเทาเซน

แผนความหิว (เยอรมัน: der Hungerplan; der Backe-Plan) เป็นแผนการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเข้ายึดเสบียงอาหารจากสหภาพโซเวียตและมอบให้แก่ทหารและพลเรือนชาวเยอรมัน แผนการนี้ได้นำไปสู่ความตายโดยความอดอยากของชนชาวสลาฟที่ถูกมองว่า"เชื้อชาติที่ต่ำต้อย"นับล้านคน ภายหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซาในปี ค.ศ. 1941 คือการรุกรานสหภาพโซเวียต หลักฐานที่อยู่เบื้องหลังแผนความหิวคือเยอรมนีมีอาหารที่ไม่เพียงพอและเพื่อประคับประคองสงครามและรักษาขวัญกำลังใจในประเทศที่จำเป็นเพื่อให้ได้เสบียงอาหารจากดินแดนที่พิชิตมาได้โดยไม่สิ้นเปลือง แผนนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในระหว่างการวางแผนสำหรับการรุกรานของเวร์มัคท์ (กองทัพเยอรมัน) และจัดเตรียมเสบียงอาหารจากยูเครนออกไปจากภาคกลางและภาคเหนือของรัสเซียและเปลี่ยนเส้นทางเพื่อผลประโยชน์แก่กองทัพที่กำลังรุกรานและประชาชนในเยอรมนี แผนนี้ได้ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตนับล้านคน[1] แผนดังกล่าวเป็นวิธีการสังหารหมู่ที่เป็นไปตามในเอกสารหลายฉบับ รวมถึงเอกสารหนึ่งฉบับที่กลายเป็นที่รู้จักกันคือ แฟ้มเขียวของเกอริง (Göring's Green Folder) ซึ่งได้กล่าวอ้างถึงจำนวนของ"20–30 ล้านคน" ที่คาดว่าชาวรัสเซียจะเสียชีวิตจาก"การกระทำของทหารและวิกฤตการณ์ของเสบียงอาหาร"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Adam Tooze, The Wages of Destruction, Viking, 2007, ISBN 0-670-03826-1, pp. 476–485 and 538–549.