ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนัตตา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nuseebot (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Nuseebot (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
# ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์[[วิสุทธิมรรค]] ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.
# ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์[[วิสุทธิมรรค]] ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.


ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ,ไม่ใช่เรา
ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า '''อนัตตตา''' แปลว่า ''ไม่มีอัตตา'' , ''ไม่มีตัวตน'' , ''มิใช่[[อัตตา]]'', และ ''มิใช่[[ตัวตน]]'' ดังอธิบายมานี้.

คำแปลเหล่านี้ใช้ได้ในกรณีที่ยกหัวข้อธรรมต่างกันไป เช่นว่า

ธาตุ๔ ใช้ว่า "มนุษย์เราประกอบด้วยธาตุ๔ เป็นแต่ น้ำ ดิน ไฟ ลม ไม่มีสภาพแห่งตัวตน"

ขันธ์๕ ใช้ว่า "มนุษย์เรา มีสังขารเจือด้วยอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีความเสื่อมเป็นธรรมดา เราไม่สามารถที่จะบังคับความเสื่อมได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์บังคับได้ จึงกล่าวว่า ไม่ใช่ของเรา "

''ด้วยคำแปลนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดพระนิพพานที่แตกต่างกัน แต่ล้วนมีใจความเดียวกัน เช่น ๏แนวคิดของพระนิพพานที่บริสุทธิ์จากสังขารที่เจืออกุศลแล้วพ้นไปจากขันธ์๕ คือเป็นธรรมขันธ์ในอายตนะนิพพานมีตัวตนจริง มีสุขอยู่เป็นนิจด้วยสังขารที่เป็นกุศลแต่ฝ่ายเดียว''

''๏แนวคิดของพระนิพพานที่มีความว่างไม่ได้มีสิ่งใดเป็นตัวตนได้เมื่อแยก ธาตุ๔แล้วคงเป็นเพียง น้ำดินไฟลม เมื่อเห็นจริงดังนี้แล้วจิตจะเข้าสู่ความว่าง (ความว่าง ในความเห็นของผู้มีจักษุ ญานทัศนะอภิญญา กล่าวว่า ความว่าง ยังมีธาตุธรรมน้ำดินไฟลมที่ละเอียดบริสุทธิ์กว่าในโลก ควรถือเอาเป็นที่พึงที่อาศัยได้)''

''๏แนวคิดของพระนิพพานที่เป็นผลของจิตที่เกิดจากกุศลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นสภาพจิตที่มีสุขอยู่เป็นนิจ''


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:35, 9 กันยายน 2560

อนัตตา ([อนตฺตา] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) หรือ อนาตมัน (สันสกฤต: अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร[1]

เหตุที่ได้ชื่อว่า "อนัตตา"

อนัตตา ที่ขันธ์ 5 ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้

  1. เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
  2. หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  3. ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
  4. แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา

อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ ไม่เหมือนกัน

อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็นลักขณวันตะและลักขณะของกันและกัน[2][3][4][5][6]

อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนัตตลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ 5 แบบ เรียกว่า โต 5 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนัตตลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่ไรอำนาจบังคับตัวเองใหไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นการกำหนดอนัตตขลักษณะ).

การแปลอนตฺตา

การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ

  1. สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้. ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จังไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.
  2. สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
    1. ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเราเขา,
    2. ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเราเขามีขันธ์ 5 อยู่,
    3. ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเราเขา,
    4. ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเราเขาในขันธ์ 5[1]
  3. ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.

ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ดังอธิบายมานี้.

อ้างอิง

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),ธรรมนิยาม 3, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  2. พุทฺธโฆสาจริโย, วิสุทฺธิมคฺค-อฏฺฐกถา , อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถา, ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทโส, วิสุทฺธิ. 2 ข้อ 739.
  3. ธมฺมปาลาจริโย, ปรมตฺถมญฺชูสา-ฎีกา, อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา วิสุทธิมคฺคมหาฎีกา, วิสุทฺธิ.มหาฏี. 2 ข้อ 739.
  4. พุทฺธโฆสาจริโย, สมฺโมหวิโนทนี-อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อฏฺฐกถา,อภิ.อฏฺ. 2 ข้อ 154.
  5. ธมฺมปาลาจริโย, มูลฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-มูลฎีกา,อภิ.มูลฏี. 2 ข้อ 154.
  6. ธมฺมปาลาจริโย, ลีนตฺถวณฺณนา-ฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อนุฎีกา, อภิ.อนุฏี. 2 ข้อ 154.