พูดคุย:อนัตตา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
อนัตตา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

คำว่า "อนัตตา" ไม่น่าจะเป็น "ไวพจน์" ของสังขาร เพราะในธรรมนิยามสูตร แสดงเอาไว้ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ที่ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตานั้นขอบเขตเกินกว่าสังขาร หรือสังขารธรรม หากรวมเอาวิสังขารธรรมหรือนิพพานรวมไว้ด้วย - วัชรพล ศิริวัฒน์

ขอเหตุผล ลบทำไม คุณถือศาสนาใด[แก้]

คำแปลเหล่านี้ใช้ได้ในกรณีที่ยกหัวข้อธรรมต่างกันไป เช่นว่า

ธาตุ๔ ใช้ว่า "มนุษย์เราประกอบด้วยธาตุ๔ เป็นแต่ น้ำ ดิน ไฟ ลม ไม่มีตัวตนไม่มีบุคคลใดๆ"

ขันธ์๕ ใช้ว่า "มนุษย์เรา มีสังขารเจือด้วยอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีความเสื่อมเป็นธรรมดา เราไม่สามารถที่จะบังคับความเสื่อมได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์บังคับได้ จึงกล่าวว่า ไม่ใช่ของเรา "

ด้วยคำแปลนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดพระนิพพานที่แตกต่างกัน แต่ล้วนมีใจความเดียวกัน เช่น ๏แนวคิดของพระนิพพานที่บริสุทธิ์จากสังขารที่เจืออกุศลแล้วพ้นไปจากขันธ์๕ คือเป็นธรรมขันธ์ในอายตนะนิพพานมีตัวตนจริง มีสุขอยู่เป็นนิจด้วยสังขารที่เป็นกุศลแต่ฝ่ายเดียว

๏แนวคิดของพระนิพพานที่มีความว่างไม่ได้มีสิ่งใดเป็นตัวตนได้เมื่อแยก ธาตุ๔แล้วคงเป็นเพียง น้ำดินไฟลม เมื่อเห็นจริงดังนี้แล้วจิตจะเข้าสู่ความว่าง (ความว่าง ในความเห็นของผู้มีจักษุอภิญญา กล่าวว่า ยังมีธาตุธรรมน้ำดินไฟลมที่ละเอียดบริสุทธิ์กว่าในโลกควรถือเอาเป็นที่พึงที่อาศัยได้)

๏แนวคิดของพระนิพพานที่เป็นผลของจิตที่เกิดจากกุศลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นสภาพจิตที่มีสุขอยู่เป็นนิจ Nuseebot (พูดคุย) 09:39, 9 กันยายน 2560 (ICT)

หากคุณไม่มีความเชื่อ ก็ไม่ต้องลบนะ เพราะ ฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสนานี้ โดยเฉพาะอนัตตา นิพพาน ไม่ได้กล่าวอ้างแต่ตำรา ศาสนานี้คือการรู้เห็น แจ้งธรรมตรัสรู้ Nuseebot (พูดคุย) 09:44, 9 กันยายน 2560 (ICT)

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ข้อมูลสำคัญที่เผยแพร่ควรระบุแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมิฉะนั้นจะถูกลบ การอ้างตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญไม่มีความหมายใด ๆ ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 12:23, 9 กันยายน 2560 (ICT)
คุณเคยได้ยินคำว่า อ้างอิงในแหล่งข้อมูลที่ผิดพลาดไหมครับ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติเพื่อเข้าถึง ...มิใช่ศาสนาแห่งตำรา ... Nuseebot (พูดคุย) 13:22, 9 กันยายน 2560 (ICT)
ผมเข้าใจเจตนาดีของคุณนะ แต่อย่างที่ว่าไปแล้วคือในสารานุกรมนี้ถือการอ้างอิงข้อมูลเป็นสำคัญ คนจะเชื่อวิกิฯ หรือไม่ก็ได้ แต่หน้าที่ของวิกิฯ คือนำเสนอคำอธิบายจากแหล่งที่เชื่อถือต่าง ๆ หวังว่าคุณจะเข้าใจครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 13:57, 9 กันยายน 2560 (ICT)

การศึกษาพระศาสนาต้องดูบริบทการใช้คำในที่ต่างๆ เช่น การแสดงธรรมของพระพุทธองค์นั้นมีองค์ประกอบอย่างไร บุคคลนั้นมีอัธยาศัยสมควรฟังถ้อยคำเช่นใด ในบางที่พระองค์ตรัสสอนดูเหมือนๆกัน อาจมีนัยโดยอ้อม หรือโดยตรงก็ได้ แล้วเราท่านรู้ได้อย่างไรถึงการความนั้น ที่พระพุทธองค์ต้องการสื่อจริงๆ ...นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อย่ามัวคิด คำนวณแค่ตัวอักษร หรือการอ้างอิง แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าการอ้างนั่นใช้ไม่ได้ และก็ไม่ยืนยันว่ามันถูกต้องที่สุด เพราะธรรมคือสัจจะไม่มีอักษรสาธุ Nuseebot (พูดคุย) 14:26, 9 กันยายน 2560 (ICT)

อนัตตา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[แก้]

ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ,ไม่ใช่เรา

คำแปลเหล่านี้ใช้ได้ในกรณีที่ยกหัวข้อธรรมต่างกันไป เช่นว่า

ธาตุ๔ ใช้ว่า "มนุษย์เราประกอบด้วยธาตุ๔ เป็นแต่ น้ำ ดิน ไฟ ลม ไม่มีสภาพแห่งตัวตน"

ขันธ์๕ ใช้ว่า "มนุษย์เรา มีสังขารเจือด้วยอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีความเสื่อมเป็นธรรมดา เราไม่สามารถที่จะบังคับความเสื่อมได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์บังคับได้ จึงกล่าวว่า ไม่ใช่ของเรา "

ด้วยคำแปลนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดพระนิพพานที่แตกต่างกัน แต่ล้วนมีใจความเดียวกัน เช่น ๏แนวคิดของพระนิพพานที่บริสุทธิ์จากสังขารที่เจืออกุศลแล้วพ้นไปจากขันธ์๕ คือเป็นธรรมขันธ์ในอายตนะนิพพานมีตัวตนจริง มีสุขอยู่เป็นนิจด้วยสังขารที่เป็นกุศลแต่ฝ่ายเดียว

๏แนวคิดของพระนิพพานที่มีความว่างไม่ได้มีสิ่งใดเป็นตัวตนได้เมื่อแยก ธาตุ๔แล้วคงเป็นเพียง น้ำดินไฟลม เมื่อเห็นจริงดังนี้แล้วจิตจะเข้าสู่ความว่าง (ความว่าง ในความเห็นของผู้มีจักษุ ญานทัศนะอภิญญา กล่าวว่า ความว่าง ยังมีธาตุธรรมน้ำดินไฟลมที่ละเอียดบริสุทธิ์กว่าในโลก ควรถือเอาเป็นที่พึงที่อาศัยได้)

๏แนวคิดของพระนิพพานที่เป็นผลของจิตที่เกิดจากกุศลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นสภาพจิตที่มีสุขอยู่เป็นนิจ Nuseebot (พูดคุย) 14:49, 9 กันยายน 2560 (ICT)