อภิธัมมาวตาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิธัมมาวตาร แปลว่า หยั่งลงสู่อภิธรรม หรือ หยั่งรู้เข้าใจในสรรพสิ่งทุกประการอย่างละเอียดที่สุด เป็นผลงานการเรียบเรียงของท่านพระพุทธัตตะ (พุทธัตตาจารย์) ชาวชมพูทวีป ผู้ชำนาญพระไตรปิฎก ซึ่งท่านได้เรียบเรียงขึ้นจากเนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถาของพระไตรปิฎกภาษาบาลีต่าง ๆ ทั้งที่สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล และของอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกที่มีชื่อเสียงมีความรู้มากในยุคก่อน พ.ศ. 1000 โดยมีรูปแบบเป็นสังเขปัฏฐกถา คือ นำเนื้อหามาย่อลงเหลือแต่ที่เป็นหลัก ซึ่งคล้ายกับวิสุทธิมรรคฉบับย่อนั่นเอง ซึ่งท่านจัดเป็นบท รวม 24 บท (ปริจเฉท) ดังนี้ :-

  1. จิตตนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับจิต 89/121 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะจากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  2. เจตสิกนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับเจตสิก 52 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  3. เจตสิกวิภาคนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการประกอบกันกับจิต-เจตสิกแต่ละอย่าง ของเจตสิกแต่ละดวง จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  4. เอกวิธาทินิทเทส - รวบรวมวิธีการจัดแบ่งประเภทของจิต-เจตสิก ออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  5. ภูมิปุคคลจิตตุปปตตินิทเทส - รวบรวมเกี่ยวกับการดำเนินการ เกี่ยวกับความเป็นมาเป็นไปของจิต-เจตสิก-รูปในภพภูมิต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ. เพื่อแสดงให้เห็นว่า มีแต่จิต เจตสิก รูป ประกอบกันขึ้นและดับไปสืบต่อกันไป ดำเนินไปอยู่เช่นนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่มีบุคคล เรา เขา หรือ อัตตา ตัวตน ในที่ไหนที่เป็นไปทั้งนั้น.
  6. อารัมมณวิภาคนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ของจิต-เจตสิก จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  7. วิปากจิตตปวัตตินิทเทส - รวบรวมเกี่ยวกับการดำเนินการ เกี่ยวกับความเป็นมาเป็นไปวิปากจิต-วิปากเจตสิก จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  8. ปกิณณกนิทเทส - รวบรวมเรื่องปกิณณกะ ซึ่งเป็นรายละเอียด เบ็ดเตล็ด ปลีกย่อย จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบด้วย.
  9. ปุญญวิปากปัจจยนิทเทส - รวบรวมเรื่องของกรรมและผลของกรรม จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบด้วย.
  10. รูปวิภาคนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับรูป 28 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ รวมทั้งยังรวบรวมวิธีการจัดแบ่งประเภทของรูป ออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบด้วย.
  11. นิพพานนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับนิพพาน 1 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ รวมทั้งยังอธิบายชี้แจงแก้ความเข้าใจผิด ๆ เช่น ความเข้าใจผิดว่า ความดับกิเลสเป็น[[อนุปาทิเสสนิพพาน ดู :นิพฺพานนิทฺเทโส - อภิธมฺมาวตาร-สงฺเขปอฏฺฐกถา (พุทฺธทตฺต) - อภิธมฺมาวตาร. ข้อ 770 [1] เป็นต้น จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  12. ปัญญัตตินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับบัญญัติ พร้อมทั้งแบ่งหมวดหมู่บัญญัติออกเป็นแบบต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ. อนึ่ง ในฎีกาของคัมภีร์นี้ ชื่อ อภิธัมมัตถวิกาสินี ได้จัดไตรลักษณ์เข้าเป็น อัตถบัญญัติหมวดอสมูหบัญญัติ ไว้ด้วย[2].
  13. การกปฏิเวธนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจผิดว่า มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ที่เป็นผู้ทำอยู่, อธิบายหลักการยืนยันถึงความไม่มีสัตว์ บุคคล เป็นต้นที่เป็นผู้ทำเหล่านั้นอยู่จริง จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  14. รูปาวจรสมาธิภาวนานิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการเจริญสมาธิภาวนาชั้นรูปฌาน (ฌาน 1-5 ตามนัยอภิธรรม) จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  15. อรูปาวจรสมาธิภาวนานิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการเจริญสมาธิภาวนาชั้นอรูปฌาน (ฌาน 5-9 ตามนัยอภิธรรม) จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  16. อภิญญานิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการฝึกทำอภิญญาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  17. อภิญญารัมมณนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ที่สามารถจะมีได้ของปัญจมฌานกุศลและปัญจมฌานกิริยาที่ได้อภิญญา ตามที่อภิญญาประเภทนั้นๆจะสามารถรับรู้ได้ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  18. ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติญาตปริญญา ขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  19. กังขาวิตรณวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติญาตปริญญา ขั้นปัจจยปริคคหญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  20. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตีรณปริญญา ขั้นอุทยัพพยญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  21. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติปหานปริญญา ขั้นอุทยัพพยญาณเป็นต้นจนถึงอนุโลมญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  22. ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส]] ญาณทัสสนวิสุทธิกถา - รวบรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับขณะที่บรรลุมรรค-ผล จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  23. ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส กิเลสปหานกถา - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับกิเลสที่ถูกละกำจัดด้วยมรรคจิตเป็นต้น จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.
  24. ปัจจยนิทเทส รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย 24 อันเป็นหลักเหตุผลตามหัวข้อในคัมภีร์ปัฏฐานปกรณ์[3] อย่างย่อ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

อ้างอิง[แก้]

  • พุทฺธทตฺตเถเรน รจิตา, อภิธมฺมวารตาร-อฏฺฐกถา , มหาจุฬา ปกาสิตา.
  1. ท่านอธิบายมีใจความว่า "ถ้าความดับกิเลสได้เป็นพระนิพพาน มรรคจิตเป็นต้น ซึ่งดับกิเลสได้แล้วก็ต้องเป็นพระนิพพานไปด้วย" (ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น แม้ว่ามรรค 4 ผล 4 อาจจะเป็นสอุปาทิเสสนิพพานได้ เพราะที่ท่านจัดไว้นั้นมรรคเป็นสมุจเฉทนิพพาน และผลก็เป็นปฏิปัสสัทธินิพพาน แต่จะเป็นอนุปาทิเสสนิพพานหรือนิสสรณนิพพานที่เป็นนิพพานปรมัตถ์ไม่ได้เลย ซึ่งในนิพพานนิทเทสนี้ และที่กล่าวไว้ทั่วไปในพระอภิธรรมปิฎกนั้นก็หมายถึงนิพพาน 2 ชื่อหลัง คือ นิพพานปรมัตถ์นั่นเอง ท่านจึงได้ปฏิเสธไว้)
  2. ดู : บัญญัติ
  3. อภิ.ป. เล่ม 40-45