ผู้ใช้:Tmd/'

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบรรพชาอุปสมบท (เถรวาท)

การบรรพชาเป็นสามเณร ตามพระวินัยบัญญัติ อนุญาตให้พระอุปัชฌาย์สามารถทำการบรรพชาได้โดยไม่ต้องประชุมสงฆ์

การบรรพชาอุปสมบท หรือที่เรียกว่า การอุปสมบท, การบวชพระ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา1 เป็๋นคำกล่าวรวมหมายถึง พิธีการบวช หรือพิธีการเปลี่ยนสถานะชายผู้เป็นพุทธศาสนิกชนให้เป็นพระภิกษุสงฆ์หรือสามเณร ตามพระวินัยบรมพุทธานุญาตของคณะสงฆ์เถรวาท โดยคณะสงฆ์ฝ่ายมหายานก็มีการใช้คำนี้เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างกันไปตามแต่ละนิกาย อย่างไรก็ตามด้วยความหมายและที่มาของคำว่า การบรรพชาอุปสมบท จึงทำให้คำนี้เป็นศัพท์เฉพาะสำหรับพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช้ทั่วไปกับศาสนาอื่น

การบรรพชา เป็นกระบวนการตามพระวินัยบัญญัติ ที่จะทำให้ชายผู้ประสงค์จะบวชเป็นสามเณร ได้เป็นสามเณร ผ่านการเปล่งวาจารับไตรสรณคมน์ ผ่านผู้ให้บวช คือพระอุปัชฌาย์เพียงรูปเดียว เพื่อฝึกตนในศีลและข้อวัตรขั้นต้น ก่อนที่จะทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ต่อไป โดยตามพระวินัยบัญญัติ การอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ทุกครั้ง จำเป็นต้องมีการบรรพชาเป็นสามเณรก่อน จึงนิยมเรียกการบวชพระว่า การบรรพชาอุปสมบท เพราะมีการบวชสามเณรก่อนแล้วจึงบวชพระภิกษุสงฆ์ต่อไป

การอุปสมบท เป็นกระบวนการทางพระวินัยบัญญัติ ที่จะทำให้ผู้ประสงค์เป็นพระภิกษุสงฆ์ในคณะสงฆ์เถรวาท ได้รับการรับรอง หรือลงญัตติ (มติ) ยอมรับจากคณะสงฆ์มากกว่า 5 รูป (ในเขตปัจจันตประเทศ) หรือ 10 รูป (ในมัชฌิมประเทศ) ในเขตประชุมสงฆ์ตามพระวินัย (พัทธสีมา) เพื่อให้เป็นพระสงฆ์โดยถูกต้องตามข้อกำหนดในพระวินัยปิฎก ตามพระบรมพุทธานุญาติ ผ่านกระบวนการสังฆกรรมที่เรียกว่า "ญัตติจตุตถกรรมวาจา" ซึ่งมีวิธีคิดคล้ายกับกระบวนการในสภานิติบัญญัติ (Legislature) ตามการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ที่พระสงฆ์ในที่ประชุมทุกคน สามารถมีสิทธิยกเหตุความไม่ถูกต้องตามพระวินัยขึ้นร้องคัดค้าน เพื่อไม่ยอมรับสังฆกรรมอุปสมบทและทำให้สังฆกรรมนั้นตกไปได้ เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติการอุปสมบทไว้รัดกุมและละเอียดเช่นนี้ เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ได้รับการยอมรับจากสังคมและคณะสงฆ์ไว้สืบสานพระพุทธศาสนาต่อไป

สำหรับในประเทศไทย การบรรพชาอุปสมบทโดยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาในคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย เป็นการบวชภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคมผ่านกฎและระเบียบของมหาเถรสมาคม โดยในปัจจุบัน ขั้นตอนทางสังฆกรรมในการอุปสมบทโดยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจานี้ เป็นรูปแบบการบรรพชาอุปสมบทของพระสงฆ์เถรวาททั่วโลก แบบเดียวกับที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเมื่อกว่า 2,500 ปี ก่อน

โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย มีความเชื่อว่า บุตรชายในตระกูลต้องบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ให้ได้หนึ่งครั้งในชีวิต โดยเชื่อว่าการบวชนั้นจะเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และเมื่อบวชแล้วก็สามารถลาสิกขาได้ตามความสมัครใจ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ มีความแตกต่างกันไปในประเทศศรีลังกา พม่า และบังคลาเทศ ที่เชื่อว่าการบรรพชาอุปสมบท เป็นการตั้งใจสละทิ้งสถานะเดิมโดยสิ้นเชิง เพื่อบำเพ็ญตนให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดตามหลักพระพุทธศาสนา (นิพพาน) ผู้ที่ลาสิกขา (สึก) กลับออกมาในสถานะเดิมจึงถือว่าเป็นผู้มีจิตใจไม่มั่นคง และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งแตกต่างจากในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ที่มีฐานความคิดที่ยืดหยุ่นผ่อนปรนมากกว่า

[1] [2]

วัตถุประสงค์การบรรพชาอุปสมบท[แก้]

วัตถุประสงค์การบรรพชาอุปสมบท เกิดจากการที่พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์ต้องการตั้งองค์กรของกลุ่มบุคคลผู้ตั้งใจปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน เพื่อเป็นตัวอย่างของกลุ่มบุคคลต้นแบบให้แก่พุทธศาสนิกชน ที่จะมาอยู่รวมกันภายใต้หลักการทางพระวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นการปฏิบัติอย่างอริยชน หรือบุคคลผู้ดำรงตนในทางเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา (สพฺพทุกฺขนิสฺสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย)[3] โดยสรุป วัตถุประสงค์การบรรพชาอุปสมบท ทั้งประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ส่วนรวม เป็นไปเพื่อประโยชน์ 3 ประการ คือ

  1. เพื่อได้ศาสนทายาทผู้ ศึกษาและรักษาไว้ คำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา (ปริยัติธรรม)
  2. เพื่อได้ศาสนทายาทผู้ ปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนตามหลักพระพุทธศาสนา (ปฏิปัตติธรรม)
  3. เพื่อได้ศาสนทายาทผู้ เผยแผ่ คำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา (ปฏิเวธธรรม)

ความเป็นมา[แก้]

สมัยพุทธกาล[แก้]

(เกิดจากการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้สงฆ์เป็นผู้ตัดสินใจในการให้อนุญาติ กุลบุตรผู้มาขออุปสมบท)

หลังพุทธกาล[แก้]

การสูญวงศ์ภิกษุณี[แก้]

ประเทศไทยในปัจจุบัน[แก้]

การบรรพชาอุปสมบทของคณะสงฆ์ไทย[แก้]

ปัจจุบันการอุปสมบทเป็นพระภิกษุุและบรรพชาเป็นสามเณรเถรวาทในประเทศไทย แบ่งออกเป็นสองรูปแบบ คือรูปแบบมหานิกาย และรูปแบบธรรมยุติกนิกาย โดยในรูปแบบมหานิกายมีรายละเอียดการขอบวชที่แตกต่างกันในบางสำนัก และนอกจากการที่ต้องผ่านขั้นตอนทางพระธรรมวินัยแล้ว ยังต้องผ่านขั้นตอนตามกฎมหาเถรสมาคมด้วย (กฎมหาเถรสมาคมว่าด้วยวิธีปฏิบัติในหน้าที่พระัอุปัชฌาย์) ซึ่งกำหนดหน้าที่การได้มาของพระอุปัชฌาย์ การคัดเลือกกุลบุตรหรือผู้ประสงค์ที่จะบรรพชาอุปสมบทให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และได้รับการตรวจสอบจากทางราชการ เช่น การผ่านการตรวจโรค การได้รับการรับรองจากเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็นต้น เพื่อรับรองความบริสุทธิ์จากคดีความ ซึ่งต้องห้ามในพระวินัย (ราชภัฏะ)

แบบมหานิกาย[แก้]

แบบธรรมยุตินิกาย[แก้]

ขั้นตอนการบรรพชาอุปสมบทในคณะสงฆ์ไทย[แก้]

ขั้นตอนการทำสังฆกรรมอุปสมบท ในอุโบสถวัดคุ้งตะเภา

สำหรับสตรี การบรรพชาและอุปสมบทเป็นภิกษุณี (พระผู้หญิง) ของคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาท ไม่ถือว่ามีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพราะวงศ์ภิกษุณีที่จะทำการอุปสมบทให้แก่สตรีผู้ประสงค์จะเป็นภิกษุณี ได้สูญไปนานแล้ว ปัจจุบันคงเหลือเพียงในฝ่ายมหายานเท่านั้น[4] บทความนี้จึงมีเนื้อหาเฉพาะเพียงขั้นตอนการบวชของชายผู้ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทตามพระวินัยปิฎกเถรวาทเท่านั้น

ภาคคุณสมบัติ[แก้]

ภาคพิธีกรรม[แก้]

ภาคสังฆกรรม[แก้]

สังฆกรรมแบบมหานิกาย[แก้]

สังฆกรรมแบบธรรมยุตินิกาย[แก้]

การวิบัติของสังฆกรรม[แก้]

หน้าที่ของพระอุปัชฌาย์หลังบรรพชาอุปสมบทให้กุลบุตร[แก้]

หน้าที่อุปัชฌาย์ตามพระธรรมวินัย/ กฎมหาเถรฯ-ใบสุทธิ/ ข้อสังเกตกรณีหัววัดภาคเหนือ/ ข้อวิจารณ์ความล้มเหลวของกระบวนฟูมฟักทางพุทธิปัญญาแก่นวกภิกษุของคณะสงฆ์ไทย-มหาสมณเจ้า-นักธรรม-ลดภาวนา-ความสำเร็จของพม่า-เทียบความล้มเหลวไทย กรณีสำนักแยกตัว อโศก

ความเชื่อ[แก้]

แทนคุณ[5]/ บวชเลขคี่/ พิธีกรรม ถือหมอน บาตร ตาลิปัตร/ การแสดงแสนยานุภาพทางสังคมชนบท-อารามหลวง/ ลดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ 1: ในพระไตรปิฎกบาลี ปรากฏใช้คำว่า ปพฺพชฺช และ อุปสมฺปท คู่กันโดยไม่ทำสมาสไวยากรณ์ ดังตัวอย่าง "อนุชานามิ ภิกฺขเว อิเมหิ ตีหิ สรณคมเนหิ ปพฺพชฺชํ อุปสมฺปทนฺติ"[6][7] แต่ในอรรถกถาบาลี ปรากฏการใช้คำบรรพชาอุปสมบทโดยสมาสกัน ดังตัวอย่าง "ลทฺธปพฺพชฺชูปสมฺปโท" [8][9]อย่างไรก็ตาม พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย แปลศัพท์ทั้งหมดนี้ว่า บรรพชาอุปสมบท

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1866&Z=1938&pagebreak=0
  2. http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=4&item=85&Roman=0
  3. พระไตรปิฎก
  4. กาลานุกรม พระพรหมคุณาภรณ์
  5. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1024&Z=1135#77
  6. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=778&Z=823
  7. http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=4&item=34&Roman=0
  8. http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1
  9. พระพุทธโฆษาจารย์. (2539). ธมฺมปทฏฺฐกถา ปฐโม ภาโค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. หน้า ๗


ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999600.html