ข้ามไปเนื้อหา

ธนินท์ เจียรวนนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนินท์ เจียรวนนท์

เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2482 (85 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สัญชาติไทย
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสเทวี เจียรวนนท์ (พ.ศ. 2504-2566)[1]
บุตร5 คน

ธนินท์ เจียรวนนท์ (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2482) เป็นมหาเศรษฐีชาวไทย ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอดีตประธานกรรมการ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ธนินท์เป็นหัวหน้าตระกูลเจียรวนนท์ ซึ่งทางฟอบส์เอเชียใน พ.ศ. 2560 จัดให้เป็นตระกูลที่รวยที่สุดอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีมูลค่าสุทธิที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เขามีมูลค่าสุทธิอยู่ประมาณ 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ฟอบส์จัดให้ ธนินท์ เจียรวนนท์ และพี่น้องของเขามีสินทรัพย์ที่ 30.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ทางฟอบส์จัดให้พี่น้องเจียรวนนท์เป็นกลุ่มที่รวยที่สุดในประเทศไทย[6] โดยในปีแรกที่เกิดโควิด คือ พ.ศ.2563 เขามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาท

ประวัติ

[แก้]

ธนินท์ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2482[7] ที่ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ธนินท์ เป็นบุตรชายคนที่ 4 ในบรรดาบุตรชายทั้ง 5 คนของนายเอ็กชอ แซ่เจี๋ย ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพ[8] นายธนินท์เริ่มทำงานเป็นครั้งแรกที่ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เมื่ออายุได้ 19 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านพาณิชยกรรมที่ฮ่องกง โดยทำงานในตำแหน่งแคชเชียร์ ธนินท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2492 และได้ไปศึกษาชั้นมัธยมจนจบในปี พ.ศ. 2494 จากโรงเรียนซัวเถา ประเทศจีน และอุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2499 จากสถาบันศึกษาฮ่องกงวิทยาลัย รวมทั้งผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2532

ต่อมาได้โยกย้ายไปทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย และบริษัท สหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ตามลำดับ กระทั่งเมื่ออายุ 25 ปี ได้กลับมาทำงานอีกครั้งที่เจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รับผิดชอบบริหารงานในตำแหน่งประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกลุ่มธุรกิจในเครือฯรวม 13 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร, กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร, กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร, กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง, กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์, กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย, กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม, กลุ่มธุรกิจพลาสติก, กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มธุรกิจยานยนต์, กลุ่มธุรกิจเวชภัณฑ์ และกลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร[9]

ธนินท์สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน และใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ซีพีเป็นผู้เช่าที่ดินต่างด้าวรายใหญ่สุดในประเทศจีน คิดเป็นพื้นที่กว่า 200,000 เฮกตาร์[10]ในปี พ.ศ. 2567 นายธนินทร์ ได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติ

ลำดับเศรษฐีของนายธนินท์

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2559 นายธนินท์ได้รับการจัดอันดับเป็นเศรษฐีอันดับ 171 ของโลก เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศไทย

  • เศรษฐีของประเทศไทยอันดับ 3 ในปี พ.ศ. 2548
  • เศรษฐีของประเทศไทยอันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2553, 2554, 2555
  • เศรษฐีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 15 ในปี พ.ศ. 2547
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 351 ในปี พ.ศ. 2545
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 329 ในปี พ.ศ. 2546
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 342 ในปี พ.ศ. 2547
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 387 ในปี พ.ศ. 2548
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 390 ในปี พ.ศ. 2549
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 133 ในปี พ.ศ. 2555 โดยมีทรัพย์สินสุทธิคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 280,000 ล้านบาท) [11]
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 81 ในปี พ.ศ. 2558
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 21 ในปี พ.ศ. 2563 [12]

ความคิด

[แก้]

เมื่อปี 2551 ธนินท์เสนอ "ทฤษฎีสองสูง" ในรายการ จับเข่าคุย ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 สรุปได้สั้น ๆ คือ ปล่อยให้ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร แต่ก็ต้องปรับเงินเดือนขึ้นสูงตาม ให้มีความสมดุลกัน[13][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับเทวี เจียรวนนท์ (สกุลเดิม: วัฒนลิขิต) มีลูก 5 คน ประกอบด้วย

  1. นางวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ สมรสกับ มร.ไมเคิล รอสส์
  2. นายสุภกิต เจียรวนนท์ สมรสกับ นางมาริษา เจียรวนนท์
  3. นายณรงค์ เจียรวนนท์
  4. นายศุภชัย เจียรวนนท์ สมรสกับ นาง บุษดี มหพันธ์ มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์, นางสาวกมลนันท์ เจียรวนนท์ และนายแซนเดอร์ เจียรวนนท์
  5. นางทิพาภรณ์ อริยวรารมย์ สมรสกับ ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์

มีฐานะเป็น อาของ นาย ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ อดีตกรรมการ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

กรรมการต่าง ๆ

[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดประวัติ คุณหญิงเทวี เจียรวนนท์ ตลอด62ปี ที่เคียงคู่เจ้าสัวซีพี". เนชั่นทีวี. 2023-06-29.
  2. "Asia's wealthiest dynasties Chearavanont Family". Forbes. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  3. "Dhanin Chearavanont, CEO & Chairman of CP Group". Thomas White International. November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
  4. "Dhanin Chearavanont". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-08.
  5. "Chearavanont Brothers $30.2B 2021 THAILAND'S 50 RICHEST NET WORTH". Forbes.com. 6 July 2021. สืบค้นเมื่อ 6 January 2022.
  6. "Forbes: Chearavanont Brothers richest in Thailand, Elon Musk in world". Forbes.com. 5 January 2021. สืบค้นเมื่อ 6 January 2022.
  7. "Profile: Erez Vigodman". 16th Nikkei Global Management Forum. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.
  8. Ismail, Netty (14 July 2014). "Thai Brothers Emerge as Billionaires With CP Group Stakes". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 24 February 2017.
  9. "ประวัติเจ้าสัว CP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-16.
  10. "Meet Dhanin Chearavanont, the man who swooped in on Ping An". Financial Times. 6 December 2012. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.
  11. นิตยสารฟอร์บ
  12. ratirita (2020-08-03). "ตระกูล "เจียรวนนท์" ครองอันดับ 21 มหาเศรษฐีโลก ปี 2020 ทรัพย์สิน 9.8 แสนล้าน". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. "เทปรายการจับเข่าคุย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-22. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
  20. ‘สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น’ มอบเครื่องราชฯ ชั้นสูงสำหรับชาวต่างประเทศแก่ ‘เจ้าสัวธนินท์’

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]