ตึกหุ่นยนต์
ตึกหุ่นยนต์ Robot Building | |
---|---|
ตึกหุ่นยนต์ในปี พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | กำลังปรับปรุง |
ประเภท | สำนักงาน |
ที่ตั้ง | 191 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร |
พิกัด | 13°43′14″N 100°31′38″E / 13.720448°N 100.527311°E |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2529[1][2] |
ค่าก่อสร้าง | 300 ล้านบาท[1][2] |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
จำนวนชั้น | 20 ชั้น[1] |
พื้นที่แต่ละชั้น | 23,506 m² (253,016 ft²)[1] |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา[1] |
ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร หรือ ตึกหุ่นยนต์ (อังกฤษ: Robot Building) เป็นอาคารสำนักงานของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มีความสูง 20 ชั้น ตั้งอยู่บนถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เดิมอาคารแห่งนี้เป็นของธนาคารเอเซีย แต่เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อจึงถูกขายให้กับธนาคารยูโอบีในปี พ.ศ. 2548 และได้ใช้เป็นสำนักงานหลักจนถึงปี พ.ศ. 2565 เพื่อปรับปรุงอาคารใหม่
ตึกหุ่นยนต์ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 ได้รับการออกแบบโดย สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งเขาใช้แนวคิดทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สะท้อนความทันสมัยของธนาคาร โดยใช้ภาพลักษณ์ของหุ่นยนต์เป็นตัวแทนแนวคิดดังกล่าว ตึกหุ่นยนต์ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างอาคารสมัยใหม่ที่ใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบโพสต์โมเดิร์น ยุคแรก ๆ ของไทย จุดเด่นของแนวคิดนี้ดังกล่าวคือการเพิ่มองค์ประกอบที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ให้กับอาคารสมัยใหม่เพื่อให้จดจำได้ง่าย และสะท้อนแนวคิดที่สอดคล้องไปกับอัตลักษณ์ของเจ้าของอาคาร เนื่องจากอาคารสมัยใหม่โดยทั่วไปในสมัยนั้นมักนิยมแต่เพียงการใช้สอย (function) ภายในอาคารเป็นหลัก
ตึกหุ่นยนต์ ได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของอาคารยุคโมเดิร์นที่มีชื่อเสียงที่สุดเคียงคู่กับตึกช้าง ที่ได้รับการออกแบบโดยองอาจ สาตรพันธุ์ ตึกหุ่นยนต์ยังได้รับเลือกจากพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย นครลอสแอนเจลิส ให้เป็นหนึ่งใน 50 อาคารที่สมบูรณ์แห่งศตวรรษ[3]
การออกแบบ
[แก้]แรกเริ่ม ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ออกแบบอาคารนี้เพื่อเป็นสำนักงานให้กับธนาคารเอเซีย จนกระทั่งเปลี่ยนมือเจ้าของเป็นธนาคารยูโอบีในปี พ.ศ. 2548[1][4] ความเป็นมาของอาคารนี้เริ่มขึ้นจาก ผู้บริหารธนาคารเอเซียในขณะนั้นต้องการอาคารที่สื่อออกถึงยุคสมัยใหม่และโลกแห่งคอมพิวเตอร์ของธนาคาร[1][5] ซึ่งสุเมธ ได้แรงบันดาลใจมาจากของเล่นของบุตรชาย[6]
ดร.สุเมธ ออกแบบอาคารที่แสดงถึงการต่อต้านงานโพสต์โมเดิร์น ที่ถือเป็นช่วงนิยมในขณะนั้น รวมไปถึงแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูแนวคลาสสิกและไฮเทค ที่แฝงในงานออกแบบที่ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู[7] ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ถึงอย่างไรก็ดีในช่วงแรกๆ ดร.สุเมธ ก็เคยยกย่องงานโพสต์โมเดิร์น ที่ต่อต้านความแข็งกระด้าง เคร่งครัด และเรียบๆ ในงานสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น เขาได้กล่าวว่ามันเป็น "การต่อต้านที่แสวงหาการแทนที่เดิม แต่ปราศจากซึ่งความต้องการ การแทนที่"[8] ดร.สุเมธ ได้ละทิ้งงานแบบฟื้นฟูคลาสสิกไปในช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่เขาวิจารณ์ว่ามันคือ "หมวดหมู่แห่งการไร้ซึ่งความหมายในลวดลายสถาปัตยกรรม" ต่อมาเขาก็ทิ้งงานแนวไฮเทค ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ปราศจากอนาคต[9]
อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 ใช้เงินก่อสร้างทั้งหมด 300 ล้านบาท[1][2] และช่วงกลางทศวรรษที่ 80 สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือ แบบโมเดิร์น ได้ค่อยๆหายไปในกรุงเทพมหานคร อาคารนี้จึงถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างสุดท้ายของรูปแบบโมเดิร์นในกรุงเทพมหานคร[10]
การปรับปรุง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2566 มีการค้นพบว่าอาคารกำลังอยู่ภายใต้การปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยมีการก่อสร้างที่รวมถึงการปรับสภาพลักษณะภายนอกของอาคาร เนื่องด้วยภาพการออกแบบสุดท้ายสำหรับแผนการปรับปรุงไม่เคยถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ ทำให้การปรับปรุงสร้างความกังวลว่าอาจทำลายลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของอาคารไป[11] มีการยื่นข้อเสนอบนเว็บไซต์ Change.org เพื่อให้เจ้าของอาคาร ซึ่งคือธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ทำการทบทวนแผนการปรับปรุงอาคาร และให้คงสภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารไว้ดังเดิม[12] สถาปนิกของอาคาร สุมเมธ ชุมสาย ยังได้ติดต่อเป็นการส่วนตัวไปยังยูโอบีเพื่อให้ทบทวนแผนและแสดงความกังวลเช่นกัน[13] สุเมธกังวลอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงอาคารในครั้งนี้ และในบทสัมภาษณ์กับ บางกอกโพสต์ เขาระบุว่าผลงานการออกเป็นอันเป็นเอกลักษณ์นี้เป็นไปได้ว่าจะกลายสภาพมาเป็น "ก็แค่ตึกสำนักงานอีกตึกหนึ่ง"[12] ในอีเมลกับ CNN เขาบรรยายว่าการปรับปรุงนี้เป็น "การทำลายรูปหน้า" (defacement) ที่แสดงให้เห็นถึง "ความไม่รู้และความดื้อรั้นของบริษัทยักษ์ใหญ่"[13] ยูโอบีออกคำแถลงการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปรับปรุงนี้ไว้ว่าจะเป็นการพาอาคาร "เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงแสดงความเคารพต่อรากเหง้าของอาคาร"[13] และได้ผ่าน "การวางแผนมาอย่างระมัดระวังให้สมดุลระหว่างการแปรสภาพให้ใหม่ขึ้น และการเคารพซึ่งลักษณะโครงสร้างเดิมของอาคาร"[11] การปรับปรุงคาดว่าจะเสร็จสมบูณณ์ในปี พ.ศ. 2568[11]
ลักษณะอาคาร
[แก้]อาคารสูง 20 ชั้น และมีพื้นที่ทั้งหมด 23,506 m² (253,016 ft²).[1][4] ด้วยชั้นที่สูงขึ้นลดระดับลงเรื่อยๆ (Setback) ในชั้นที่ 4 8 12 16 และ 18 ซึ่งนับว่าเป็นการออกแบบอาคารอย่างแนบเนียนกับข้อกฎหมายผังเมืองในตัวเมืองที่ต้องมีถอยร่นจากถนน ซึ่งสุเมธใช้การทำ เซตแบ็ก ตามมุม 18 องศาถอยร่นจากแนวเส้นขอบพอดี[14] ในอาคาร ชั้นแรกมีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น ซึ่งเป็นส่วนของโถงต้อนรับ[15] ด้านการตกแต่งภายใน ในส่วนของโถง เกิดจากความร่วมมือของบริษัทต่างๆ รวมแล้ว 7 บริษัท โดยยังคงสื่อถึงความเป็นหุ่นยนต์ตามที่สุเมธได้วางแนวคิดไว้ และยังมีรูปปั้นของ ซึ่งแกะสลักจำนวน 4 รูปโดยทวีชัย นิติประภา ศิลปินชาวไทย[16] ในส่วนชั้นลอย ตั้งอยู่ในด้านข้างของโถง ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ และห้องประชุม[15] ในชั้นที่สอง ประกอบด้วยโถงอเนกประสงค์ สำนักงาน และห้องฝึกอบรม ส่วนชั้นถัดไป เป็นส่วนของพื้นที่สำนักทั้งหมด[15] ในส่วนของอาคารจอดรถ เป็นอาคารแปดชั้นตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหลัก[1]
ภายนอกอาคารมีรูปลักษณ์แบบหุ่นยนต์ แม้ว่าจุดประสงค์หลักคือเพื่อตอบสนองการใช้งานก็ตาม[17] ซึ่งได้แก่เสาอากาศ 2 ต้นใหญ่ บนดาดฟ้าของอาคาร ซึ่งใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารและเป็นสายล่อฟ้าควบคู่กัน[15] ในส่วนเปลือกอาคาร (Facade) ข้างบน เป็นส่วนของห้องประชุมหลักและห้องรับประทานอาหารของผู้บริหาร ประกอบด้วยดวงตาสองดวงขนาด 6 m (19.7 ft) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน้าต่าง.[16] กระจกในดวงตานั้น ใช้วัสดุเป็นกระจกสะท้อนแสง โดยมีฝาครอบกระจกทำเป็นบานเกล็ดโลหะ ลูกน็อตที่ประดับตกแต่งข้างอาคาร ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กแก้ว โดยลูกน็อตที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 3.8 m (12.5 ft) จำนวนสองข้าง ซึ่งทำให้กลายเป็นลูกน็อตที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น[16] ในส่วนผนังด้านตะวันออกและตก (ด้านข้างหุ่นยนต์) ซึ่งเจาะช่องเปิดน้อยมาก ซึ่งเป็นการป้องกันแดดกลางวันได้อย่างดี รวมถึงเป็นการลดใช้พลังงานในอาคารลงอีกด้วย และส่วนด้านทิศเหนือและใต้ (ด้านหน้าและหลังอาคาร) ใช้กระจกพ่นสีน้ำเงินสว่าง ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารเอเซีย[1]
การจดจำ
[แก้]ตึกหุ่นยนต์ได้รับเลือกจากพิพิทธภัณฑ์ร่วมสมัย นครลอสแอนเจลิส ให้เป็นหนึ่งใน 50 อาคารที่สมบูรณ์แห่งศตวรรษ[3] อาคารยังส่งผลให้ ดร.สุเมธ ได้รับรางวัลจากบัณฑิตยสภาสถาปัตยกรรมและการออกแบบแห่งชิคาโก (Athenaeum Museum of Architecture and Design) ซึ่งเป็นรางวัลที่คนไทยรับเป็นคนแรก[18] อ้างอิงจากหนังสือ Encyclopedia of 20th Century Architecture ของนายสตีเฟน เซนนอตต์ ได้ระบุอาคารนี้ว่า "เป็นการยกระดับงานสถาปัตยกรรมไทยให้ได้รับความจดจำไปทั่วโลก" [19]
อ้างอิง
[แก้]โน้ต
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Sumet, p. 74.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Kusno, p. 197.
- ↑ 3.0 3.1 "Sumet Jumsai." เก็บถาวร 2008-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ArchNet digital library at archnet.com. Accessed November 13, 2007.
- ↑ 4.0 4.1 Williams, Nick B. "Third World Review: High rise battle of Bangkok - The 20-storey robot that is the focus of architectural acrimony." The Guardian (May 22, 1987).
- ↑ "Buildings that put a sparkle in Thai skyline." The Straits Times (April 4, 1997).
- ↑ Algie, Jim. "Building A Name in Paris: The French capital plays host to an exhibition by Thailand's Renaissance Man." เก็บถาวร 2001-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Asia Week (December 17, 1999).
- ↑ Sumet, p. 79–80.
- ↑ Sumet, p. 79
- ↑ Sumet, p. 80.
- ↑ Williams & Cummings, p. 28.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Koaysomboon, Top (2023-05-16). "Bangkok's famous Robot Building is gone—and we didn't even get the chance to say goodbye". Time Out Bangkok. สืบค้นเมื่อ 2023-12-09.
- ↑ 12.0 12.1 "Crumbling Pride". Bangkok Post. 2023-08-05.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Holland, Oscar (2023-11-05). "'Lost its soul': Campaigners decry renovation of Thailand's iconic 'Robot Building'". CNN.
- ↑ Sumet, pp. 74, 76.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Sumet, p. 76.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Sumet, p. 77.
- ↑ Sumet, p. 74, 76–77.
- ↑ "Corporate Focus: Propaganda coup in decor market; Inventions: Original designs intended to make people ask 'What is this?'" Bangkok Post (August 6, 2001).
- ↑ Sennott, p. 106.
อ้างอิง
[แก้]- Kusno, Abidin. Behind the Postcolonial: Architecture, Urban Space and Political Cultures in Indonesia. Routledge (2000). ISBN 0-415-23615-0.
- Sennott, Stephen (editor). Encyclopedia of 20th Century Architecture. Taylor & Francis (2004). ISBN 978-1-57958-433-7.
- Sumet Jumsai. "Building Study: Bank of Asia, Bangkok." เก็บถาวร 2011-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Mimar: Architecture in Development 23 (1987): 74–81. Singapore: Concept Media Ltd.
- Williams, China and Joe Cummings. Bangkok. Lonely Planet (2004). ISBN 1-74059-460-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โมเดลอาคาร 3D เก็บถาวร 2012-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่กูเกิลทรีดีแวร์เฮาส์