การหลั่งน้ำอสุจิ
การหลั่งน้ำอสุจิ (อังกฤษ: ejaculation) คือการหลั่งน้ำอสุจิออกจากองคชาต มักเกิดพร้อมกับการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ถือเป็นด่านสุดท้ายและเป็นเป้าหมายทางธรรมชาติของการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1] และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้เกิดปฏิสนธิ (คือการตั้งครรภ์) การหลั่งอาจเกิดขึ้นได้เพราะโรคในต่อมลูกหมาก แม้จะเป็นกรณีที่หายาก และบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองในขณะหลับ (เป็นการหลั่งในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก) มีภาวะหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (เช่นอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว) หรือที่ทำให้เกิดมีความเจ็บปวดไม่รู้สึกสบายเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ
ขั้นตอน
[แก้]การปลุกเร้า
[แก้]ส่วนระยะเวลาที่ต้องการในการปลุกเร้าทางเพศ มีความหลากหลายกันไป ที่จะนำไปสู่การทำให้หลั่ง โดยปกติแล้วก่อนการเกิดการหลั่ง จะเกิดการตื่นตัวทางเพศของฝ่ายชาย ที่นำไปสู่การแข็งตัวขององคชาต แต่ว่าการตื่นตัวทางเพศทุกครั้งจะไม่นำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิ การเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยช่องคลอด ออรัลเซ็กซ์ การร่วมเพศทางทวารหนัก หรือการสำเร็จความใคร่ ล้วนสามารถนำไปสู่จุดสุดยอดทางเพศและการหลั่งน้ำอสุจิได้ โดยปกติผู้ชายสามารถถึงจุดสุดยอดทางเพศภายใน 5-10 นาทีหลังจากที่เริ่มการร่วมเพศ ขึ้นอยู่กับอารมณ์เพศทั้งของตนทั้งของคู่ขา[2][3]
การเล้าโลมกับคู่ขาก่อนการร่วมเพศ (เช่นการจูบกัน การลูบเล้าทางกาย หรือการถูกสัมผัสในจุดที่ให้เกิดความเสียว) หรือการช่วยตัวเอง (การสำเร็จความใคร่ให้ตนเองในเพศชาย) มักจะเร้าอารมณ์เพศให้เกิดมากขึ้น และอาจจะนำไปสู่การหลั่งน้ำหล่อลื่น (ที่เป็นน้ำใส ๆ) แม้จะเชื่อกันว่า โอกาสที่จะมีตัวอสุจิในน้ำหล่อลื่นเป็นไปได้น้อย แต่ตัวอสุจิที่ยังค้างอยู่ในท่อปัสสาวะหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งสุดท้าย อาจจะไหลออกพร้อมกับน้ำหล่อลื่น[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนั้นแล้ว เชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อเอชไอวี (เชื้อของโรคเอดส์) ก็อาจจะมีในน้ำหล่อลื่น
การหลั่ง
[แก้]
เมื่อผู้ชายผ่านการเร้าอารมณ์ทางเพศมาในระดับที่สมควร การหลั่งน้ำอสุจิก็จะเริ่มขึ้น ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก[4] คือ ตัวอสุจิจะวิ่งออกจากอัณฑะ (scrotum ดูรูป) ผ่านหลอดน้ำอสุจิ (vas deferens) เข้าผสมกับของเหลวจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) และต่อมลูกหมาก (prostate gland) หลังจากนั้นจะวิ่งผ่านท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct) ผสมน้ำจากต่อมบัลโบยูรีทรัล (bulbourethral gland หรือ cowper's gland) ประกอบกันเป็นน้ำอสุจิ พุ่งผ่านท่อปัสสาวะ ออกทางปลายท่อปัสสาวะ (urethral openning) ขับออกโดยกล้ามเนื้อที่หดเกร็งเป็นจังหวะ[5] (ดูวิดีโอ)
การกระตุกของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ ๆ เป็นส่วนของการถึงจุดสุดยอดของผู้ชาย ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อ bulbospongiosus ภายใต้การควบคุมของรีเฟล็กซ์ไขสันหลัง (spinal reflex) ในระดับเส้นประสาทไขสันหลัง S2-4 ผ่านเส้นประสาทอวัยวะเพศภายนอก (pudendal nerve) จุดสุดยอดในชายปกติมีระยะเวลาหลายวินาที
เมื่อการหลั่งน้ำอสุจิเริ่มขึ้นแล้ว ก็จะมีการขับน้ำอสุจิออกอย่างเป็นจังหวะจากท่อปัสสาวะ (ดูวิดีโอ) โดยหลั่งเริ่มจากระดับที่น้อยจนไปถึงระดับที่สูงสุด และหลังจากนั้นก็ลดลงอีก จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อประมาณ 10-15 ครั้งต่อการหลั่งน้ำอสุจิโดยปกติ (13 ครั้งในวิดีโอ) แม้ว่า บุคคลนั้นอาจจะไม่รู้ว่ามีเท่าไร เมื่อการกระตุกกล้ามเนื้อเกิดขึ้นแล้วเป็นครั้งแรก การหลั่งน้ำอสุจิจะดำเนินไปจนถึงที่สุดโดยที่ควบคุมไม่ได้ คือ เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว จะไม่สามารถหยุดการหลั่งน้ำอสุจิได้ การกระตุกครั้งต้น ๆ เกิดขึ้นทุก ๆ 0.6 วินาทีโดยเฉลี่ย และเร็วขึ้น 0.1 วินาทีต่อการกระตุก เมื่อถึงระดับสูงสุดแล้ว อัตราการกระตุกจะค่อย ๆ ลดลง การกระตุกในชายโดยมาก เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอตลอดช่วงการหลั่ง แต่ก็มีคนจำนวนมากที่มีการกระตุกที่ไม่สม่ำเสมอที่ช่วงสุดการหลั่ง[6]
น้ำอสุจิจะหลั่งออกโดยการกระตุกของกล้ามเนื้อในครั้งแรกหรือครั้งที่สอง (ครั้งแรกในวิดีโอ) โดยมากมักจะในครั้งที่สอง การขับน้ำอสุจิออกครั้งแรกหรือครั้งที่สองมักจะมีน้ำมากที่สุด อาจจะมีมากกว่า 40% ของน้ำที่ขับออกทั้งหมด หลังจากจุดการหลั่งสูงสุดนี้ อัตราการหลั่งในแต่ละการกระตุกของกล้ามเนื้อก็จะลดลง เมื่อน้ำไหลออกหมดแล้ว กล้ามเนื้อยังสามารถกระตุกต่อไปได้ โดยไม่มีการหลั่งน้ำออกมาอีก (ดูการกระตุกในวิดีโอครั้งสุดท้าย ๆ)
ในการศึกษาของกลุ่มศึกษาเล็ก ๆ ของผู้ชาย 7 คน พบว่า มีการหลั่งน้ำออก 7 ครั้งโดยเฉลี่ย (จากค่าระหว่าง 5-10 ครั้ง) ที่ตามมาด้วยการกระตุกอีก 10 ครั้งที่ไม่มีการหลั่งน้ำออกมาอีกโดยเฉลี่ย (โดยมีค่าระหว่าง 5-23 ครั้ง) งานวิจัยนี้ยังพบสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการกระตุก (ที่มีการหลั่งน้ำ) กับปริมาตรของน้ำที่หลั่งออกทั้งหมด คือ ปริมาตรน้ำทั้งหมดที่หลั่งออกขึ้นอยู่กับจำนวนการกระตุกที่มีการหลั่งน้ำ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการกระตุกที่มีการหลั่งออกมากที่สุด[7]
ศ. ดร. อัลเฟร็ด คินซีย์ นักวิจัยทางเพศชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้วัดระยะทางการหลั่งน้ำอสุจิในชายอเมริกัน "หลายร้อย" 2 ใน 3 ของชายเหล่านั้นมีน้ำอสุจิที่เพียงไหลออกจากหัวองคชาต (ดูวิดีโอในการกระตุกครั้งสุดท้าย ๆ) "แต่ในชายพวกอื่น น้ำอสุจิจะพุ่งออกเป็นระยะทางหลายนิ้ว เป็นฟุต สองฟุต หรือแม้กระทั่ง 5-6 (หรือ 8 แต่มีน้อย) ฟุต"[8]
ส่วทีมนักวิจัยที่มีชื่อเสียงอีกชุดหนึ่งคือมาสเตอร์และจอห์นสันรายงานว่า ระยะทางการหลั่งน้ำจะไม่เกิน 30-60 เซนติเมตร[9] แต่ว่า จริง ๆ แล้ว ระยะทางการหลั่งน้ำอสุจิไม่มีผลอะไรทางเพศ เพราะว่า การไหลออกของน้ำอสุจิเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
"การหลั่งน้ำอสุจิเร็ว" (premature ejaculation[10]) เป็นภาวะที่หลั่งน้ำอสุจิก่อนที่จะต้องการ แต่ถ้าไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ในกาลที่เหมาะสมแม้ว่าจะมีการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]มาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะมีความต้องการ นี้เรียกว่า "การหลั่งน้ำอสุจิช้า" (delayed ejaculation) หรือ "การไม่สามารถบรรลุจุดสุดยอด" (anorgasmia[11]) และก็ยังมีการถึงจุดสุดยอดโดยไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิ (dry orgasm) อีกด้วย
ระยะดื้อ
[แก้]หลังจากการถึงจุดสุดยอด ผู้ชายโดยมากจะตกอยู่ในระยะดื้อ ซึ่งในช่วงนี้ จะไม่สามารถเกิดการแข็งตัวขององคชาต และหลังจากนั้น ก็จะต้องใช้เวลายาวออกไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะสามารถหลั่งน้ำอสุจิออกได้อีก
ในช่วงนี้ ผู้ชายจะมีความรู้สึกผ่อนคลายที่ประกอบด้วยความสุขอย่างยิ่ง ซึ่งมักจะรู้สึกตรงที่ขาหนีบและต้นขา ระยะดื้อจะแตกต่างกันไปในระหว่างบุคคล อายุและวัยอาจจะมีผล คือผู้ที่อายุน้อยกว่าอาจจะแข็งตัวหลั่งน้ำอสุจิได้อีก เร็วกว่าผู้มีอายุมากกว่า แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป[9]
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชายบางพวกสามารถเกิดอารมณ์เพศพอที่จะเกิดการแข็งตัวได้อีกทันทีหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิ และบางพวกอาจจะเกิดขึ้นอีกภายใน 15 นาที การมีระยะดื้อที่สั้นอาจจะทำให้ชายบางพวกสามารถเริ่มปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศกับคู่ขาต่อไปได้อย่างสืบเนื่อง จากช่วงการหลั่งน้ำอสุจิ ไปยังการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศกับคู่ขาอีก เพื่อที่จะถึงการหลั่งน้ำอสุจิในครั้งต่อไป แต่ว่า ชายอีกพวกหนึ่งจะไม่ชอบการปลุกเร้าทางเพศในระยะดื้อช่วงแรก ๆ
มีชายบางพวกที่สามารถถึงจุดสุดยอดหลายครั้งติดต่อกัน โดยที่มี หรือว่าไม่มี ลำดับปกติของการหลั่งน้ำอสุจิและระยะดื้อ ชายเหล่านี้บางคนรายงานว่า ไม่เห็นมีระยะดื้อ หรือว่าสามารถรักษาการแข็งตัวขององคชาตต่อไปได้โดย "ทำกิจกรรมทางเพศต่อไป พร้อมกับมีอวัยวะที่แข็งตัวเต็มที่ จนกระทั่งผ่านระยะดื้อที่ไม่สามารถถึงจุดสุดยอด และทำการต่อไปเพื่อที่จะถึงจุดสุดยอดเป็นครั้งที่สองและครั้งที่สาม"[12]
ปริมาณ
[แก้]แรงพุ่งและปริมาณของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมีความแตกต่างกันไปในระหว่างบุคคลและอาจจะมีปริมาณระหว่าง 0.1-10 มิลลิลิตร[13] (5 มิลลิลิตร = 1 ช้อนชา, 15 มิลลิลิตร = 1 ช้อนโต๊ะ, คืออาจจะมีถึง 2 ช้อนชา ไม่ถึง 1 ช้อนโต๊ะ) ปริมาณของน้ำอสุจิในผู้ใหญ่ขึ้นอยู่กับเวลาที่ผ่านไปหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งสุดท้าย คือ น้ำอสุจิมักจะมีปริมาณมากกว่าถ้ามีการเว้นการหลั่งน้ำอสุจิเป็นเวลายาวนานกว่า ระยะเวลาที่ใช้เร้าอารมณ์ทางเพศ[1]ก่อนจะหลั่ง ก็สามารถมีผลต่อปริมาณได้ด้วย[14] ปริมาณน้ำอสุจิที่ต่ำกว่าปกติเรียกว่า hypospermia เหตุอย่างหนึ่งในการมีปริมาณน้ำอสุจิที่ต่ำกว่าปกติหรือไม่มีเลยก็คือ การมีท่อฉีดอสุจิอุดตัน (ejaculatory duct obstruction) และเป็นเรื่องปกติถ้าปริมาณน้ำอสุจิจะลดลงไปตามวัย
คุณภาพ
[แก้]จำนวนตัวอสุจิที่หลั่งออกมีความแตกต่างกันอย่างหลายหลาก ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งระยะเวลาจากครั้งสุดท้ายที่มีการหลั่งน้ำอสุจิ[15] อายุ ระดับความเครียด[16] และระดับฮอร์โมนเพศชาย ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกว่าในการเล้าโลมทางเพศก่อนที่จะมีการหลั่งน้ำอสุจิ อาจมีผลทำให้ระดับความเข้มข้นของตัวอสุจิสูงขึ้น[14] การมีระดับตัวอสุจิต่ำ ซึ่งไม่ใช่ภาวะเดียวกันกับการมีปริมาณน้ำอสุจิต่ำ เรียกว่า ภาวะเชื้ออสุจิน้อย[17] (oligospermia) และการไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิ เรียกว่า ภาวะน้ำกามไร้ตัวอสุจิ[17] (azoospermia)
พัฒนาการ
[แก้]วัยเจริญพันธุ์
[แก้]เวลาหลังการหลั่งครั้งแรก (เดือน) |
ปริมาตรเฉลี่ย (มิลลิลิตร) |
ละลายเป็นน้ำ | ค่าเฉลี่ยสเปิร์ม (ล้านตัว/มิลลิลิตร) |
---|---|---|---|
0 | 0.5 | ไม่ (1) | 0 |
6 | 1.0 | ไม่ (1) | 20 |
12 | 2.5 | ก้ำกึ่ง (2) | 50 |
18 | 3.0 | ใช่ (3) | 70 |
24 | 3.5 | ใช่ (3) | 80 |
หมายเหตุ (1) - น้ำที่หลั่งออกจะคงสภาพเหมือนวุ้น ไม่ละลายเป็นน้ำ หมายเหตุ (2) - โดยมากจะละลายเป็นน้ำ แต่บางส่วนก็ยังเป็นวุ้น หมายเหตุ (3) - จากสภาพวุ้น จะละลายเป็นน้ำภายใน 1 ชั่วโมง |
การหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรกจะเกิดขึ้นประมาณ 12 เดือนหลังจากถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (แตกเนื้อหนุ่ม) ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปก็เพราะการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือการฝันเปียก อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ชายส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 จะมีการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรกมาจากการช่วยเหลือตัวเองซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 12-15 ปี ขณะที่ส่วนน้อยที่เหลือมาจากการฝันเปียก เริ่มแรกเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยแตกหนุ่มก็มักจะบอกไม่ได้ว่าร่างกายของตนเองจะเริ่มผลิตน้ำอสุจิและพร้อมจะหลั่งเมื่อใด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีแรงขับดันทางเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอารมณ์ทางเพศและ/หรือการแข็งตัวขององคชาต เด็กหนุ่มจะเริ่มมีการสำรวจร่างกายตนเองและเริ่มทดลองกิจกรรมทางเพศกับอวัยวะของตนเองในหลาย ๆ รูปแบบ จนกระทั่งอัณฑะสามารถสร้างตัวอสุจิได้ และในที่สุดก็จะกลายเป็นการค้นพบวิธีการสำเร็จความใคร่
ปริมาตรการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก ๆ จะมีน้อย คือ ในระยะ 3 เดือนแรกจะมีน้อยกว่า 1 มิลลิลิตร น้ำอสุจิในระยะแรกของวัยเจริญพันธุ์จะใส และจะคงสภาพความเป็นวุ้น คือจะไม่ละลายเป็นน้ำเหมือนกับในของผู้ใหญ่ ลำดับการพัฒนาการของน้ำอสุจิเห็นได้ในตาราง 1
การหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก มักจะไม่มีตัวอสุจิ (90%) และสำหรับส่วนน้อยที่มีตัวอสุจิ ตัวอสุจิโดยมาก (97%) จะไม่มีการเคลื่อนไหว และส่วนน้อยที่เหลือ (3%) จะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ[18]
เมื่อเจริญวัยต่อไปเรื่อย ๆ น้ำอสุจิจะเริ่มมีลักษณะต่าง ๆ เหมือนของผู้ใหญ่มากขึ้นและมีปริมาณตัวอสุจิปกติที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ น้ำอสุจิในช่วง 12-14 เดือนหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก น้ำอสุจิจะมีการละลาย (จากลักษณะคล้ายวุ้นเป็นน้ำ) หลังจากการหลั่งออกไม่นาน ภายใน 24 เดือนหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก ทั้งปริมาณน้ำอสุจิ ปริมาณตัวอสุจิ และลักษณะต่าง ๆ ของตัวอสุจิ จะเหมือนกับของผู้ใหญ่[18]
การควบคุมจากระบบประสาทกลาง
[แก้]เพื่อที่จะวาดแผนที่การทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงที่เกิดการหลั่งน้ำอสุจิ นักวิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้การแสดงออกของ c-fos[19] ซึ่งเป็น proto-oncogene[20] ที่มีการแสดงออกในนิวรอนตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนและสารสื่อประสาท (คือเช็คการแสดงออกของ c-fos เพื่อจะดูว่าเซลล์ประสาทในส่วนไหนมีการทำงาน)[21] การแสดงออกของ c-fos พบในส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ[22][23]
- medial preoptic area (MPOA)
- lateral septum, ซึ่งเป็น bed nucleus of the stria terminalis
- paraventricular nucleus of the hypothalamus (PVN)
- ventromedial hypothalamus, และอะมิกดะลาด้านใน
- ventral premammillary nuclei
- ventral tegmentum
- central tegmental field
- mesencephalic central gray
- peripeduncular nuclei
- parvocellular subparafascicular nucleus (SPF) ที่ทาลามัสด้านหลัง
การหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่ต้องมีการสัมผัส
[แก้]แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ชายบางพวกสามารถหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสอวัยวะเพศ คือทำให้เกิดการหลั่งได้โดยไม่ต้องมีการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]ด้วยการสัมผัส บางพวกทำโดยเกร็งและคลายกล้ามเนื้อที่ท้องและที่แก้มก้นพร้อม ๆ กับการจินตนาการ และบางพวกทำโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อใกล้ ๆ กับองคชาต ซึ่งอาจทำให้องคชาตแข็งตัวยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง[24]
การกดที่ฝีเย็บและการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง
[แก้]ในขณะที่จะเกิดการหลั่งน้ำอสุจิ การกดที่ฝีเย็บ (บริเวณระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก) หรือบีบท่อปัสสาวะไว้ อาจจะมีผลเป็นการกักน้ำอสุจิไว้ในภายใน โดยที่น้ำอสุจิจะไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ (ดูรูป) บางคนทำแบบนี้เพื่อจะป้องกันไม่ให้เลอะเปรอะเปื้อนโดยจงใจกักน้ำอสุจิไว้ในภายใน[25] ถ้าเป็นภาวะทางการแพทย์ ก็จะเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง[17] (retrograde ejaculation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปกติ[26]
ปัญหาสุขภาพ
[แก้]สำหรับคนโดยมาก ยังไม่ปรากฏความเสียหายด้านสุขภาพจากการหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ แม้ว่า กิจกรรมทางเพศโดยทั่ว ๆ ไปสามารถที่จะมีผลทางด้านสุขภาพและทางจิตใจได้ แต่ว่า มีชายเป็นส่วนน้อยพวกหนึ่งที่อาจจจะประสบกับอาการ postorgasmic illness syndrome (แปลว่า กลุ่มอาการเจ็บป่วยหลังการถึงจุดสุดยอด) ซึ่งจะมีเพียงแค่ชั่วคราวหลังการหลั่งน้ำอสุจิ[27][28] อาการมักจะปรากฏภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากการถึงจุดสุดยอดและมักจะหายไปภายใน 2-3 วัน[27][28] ผู้มีปัญหานี้จะประสบอาการต่าง ๆ ทางจิตใจ ทางกาย หรือทั้งสองทาง อาการทั่ว ๆ ไปรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับประชานด้านต่าง ๆ ความรู้สึกไม่สบาย ความฉุนเฉียวง่าย ความวิตกกังวล ความอยากจะหาย ความซึมเศร้า และความยากลำบากในการสื่อความ การจำคำต่าง ๆ การอ่านหนังสือและจำความได้ การตั้งสมาธิ และการเข้าสังคม[29][27][28][30] อาการทางกายรวมทั้งความล้าอย่างรุนแรง การปวดศีรษะตั้งแต่เบา ๆ จนถึงรุนแรง และอาการเหมือนกับเป็นหวัดหรือภูมิแพ้เช่น อาการจาม คันตา การเคืองจมูก และการปวดกล้ามเนื้อ[27][28] และอาจจะมีอาการร้อนมาก[29][31]
ยังไม่ชัดเจนว่า การหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ จะเพิ่ม[32] ลด[33] หรือไม่มีผลต่อ[34] ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
งานวิจัยขนาดใหญ่สองงานคือ[35][36][37] "Ejaculation Frequency and Subsequent Risk of Prostate Cancer (ความถี่การหลั่งน้ำอสุจิและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมาก)"[38] และ "Sexual Factors and Prostate Cancer ([ความสัมพันธุ์ระหว่าง]องค์ประกอบทางเพศกับมะเร็งต่อมลูกหมาก)"[39] เสนอว่า การหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ ตลอดชีวิตเป็นการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาใน "ชาย 29,342 คนอายุระหว่าง 46-81 ปี"[38] เสนอว่า "ความถี่ในการหลั่งน้ำอสุจิสูงมีความสัมพันธุ์กับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากที่ลดลง"[38] ส่วนงานวิจัยในประเทศออสเตรเลียใน "ชาย 1,079 คนที่มีมะเร็งต่อมลูกหมากและชายที่ไม่มีโรคอีก 1,259 คน" พบว่า "มีหลักฐานว่า ชายวัย 20-50 ปีที่ยิ่งมีการหลั่งน้ำอสุจิบ่อยครั้งเท่าไร ก็มีโอกาสน้อยลงในการเกิดขึ้นของมะเร็งต่อมลูกหมากเท่านั้น"[40]
ผลป้องกันของการหลั่งน้ำอสุจิอยู่ในระดับสูงสุดถ้าชายในวัยช่วง 20-30 หลั่งน้ำอสุจิโดยเฉลี่ยอาทิตย์ละ 7 ครั้งหรือมากกว่านั้น
กลุ่มนี้ปรากฏว่ามีโอกาสเป็น 1/3 ในการมีมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดรุนแรงน้อยกว่า
เมื่อเทียบกับชายผู้หลั่งน้ำอสุจิน้อยกว่า 3 ครั้งต่ออาทิตย์ในช่วงอายุนี้
— คณะกรรมการมะเร็งรัฐวิกตอเรีย (Cancer Council Victoria) [40]
ในสัตว์อื่น
[แก้]ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก การหลั่งน้ำอสุจิหลายครั้งต่อ ๆ กันเป็นเรื่องสามัญ[41] ในระหว่างการผสมพันธุ์ ตัวกินมดอีคิดนาประเภท Tachyglossus aculeatus จะใช้องคชาตแค่ครึ่งเดียวโดยสลับข้างกัน โดยที่อีกข้างหนึ่งจะไม่มีการทำงาน[42] เมื่อหมาป่าหลั่งน้ำอสุจิ การขยับสะโพก (ที่ทำเพื่อผสมพันธุ์) ครั้งสุดท้ายอาจจะใช้ระยะเวลายาวขึ้นเล็กน้อย[43] ลิงวอกปกติจะหลั่งน้ำอสุจิภายใน 15 วินาทีหลังจากเริ่มการร่วมเพศ[44] มีรายงานและคลิปวิดีโอของการหลั่งน้ำอสุจิที่เกิดขึ้นเองในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำเป็นครั้งแรก คือ ในโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกใกล้เกาะมิกุระ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2555[45]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 การเร้าอารมณ์ทางเพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ
- ↑ Waldinger, M.D., Quinn, P., Dilleen, M., Mundayat, R., Schweitzer, D.H., & Boolell, M. (2005). "A Multinational Population Survey of Intravaginal Ejaculation Latency Time". Journal of Sexual Medicine. 2 (4): 492–497. doi:10.1111/j.1743-6109.2005.00070.x. PMID 16422843.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Giuliano, F., Patrick, D., Porst, R., La Pera, G., Kokoszka, A., Merchant, S., Rothman, M., Gagnon, D., & Polverejan, E. (2008). "Premature Ejaculation: Results from a Five-Country European Observational Study". European Urology. 53 (5): 1048–1057. doi:10.1016/j.eururo.2007.10.015. PMID 17950985.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bruce M. Koeppen, Bruce A. Stanton, (2008). Berne & Levy Physiology. Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-323-04582-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Walter F. Boron, Emile L. Boulpaep, (2005). Medical Physiology: A Cellular and Molecular Approach. Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. ISBN 1-4160-2328-3.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bolen, J. G., (1980-12-09). "The male orgasm: pelvic contractions measured by anal probe". Archives of Sexual Behavior. 9 (6): 503–21. doi:10.1007/BF01542155. PMID 7458658.
{{cite journal}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gerstenburg, T. C.; Levin, RJ; Wagner, G (1990). "Erection and ejaculation in man. Assessment of the electromyographic activity of the bulbocavernosus and ischiocavernosus muscles". British Journal of Urology. 65 (4): 395–402. doi:10.1111/j.1464-410X.1990.tb14764.x. PMID 2340374.
- ↑ Kinsey, A. C., Pomeroy, W. B., Martin, C. E. & Gebhard, P. H. (1998). Sexual Behavior in the Human Female. Indiana University Press. p. 634. ISBN 978-0-253-33411-4. สืบค้นเมื่อ 2013-11-07.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 Masters, W.H., & Johnson, V.E. (1970). Human Sexual Response. Boston: Little, Brown and Company.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ premature ejaculation มีกำหนดรหัส ICD-10 เป็น F52.4 F52.4
- ↑ anorgasmia มีกำหนดรหัส ICD-10 เป็น F52.3 F52.3
- ↑ Dunn, M.E., & Trost, J.E. (1989). "Male Multiple Orgasms: A Descriptive Study". Archives of Sexual Behavior. 18 (5): 377–387. doi:10.1007/BF01541970. PMID 2818169.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Rehan N, Sobrero AJ, Fertig JW. (1975). "The semen of fertile men: statistical analysis of 1300 men". Fertility and Sterility. 26 (6): 492–502. PMID 1169171.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 14.0 14.1 PMID 12127009 (PMID 12127009)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ "Semen and sperm quality". Dr John Dean, netdoctor.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-11-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- ↑ "Biological Basis of Heredity: Cell Reproduction". Dr. Dennis O'Neil, Behavioral Sciences Department, Palomar College, San Marcos, California. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ oligospermia ว่า "เชื้ออสุจิน้อย", azoospermia ว่า "น้ำกามไร้ตัวอสุจิ", และ retrograde ว่า "ย้อนทาง, สวนทาง"
- ↑ 18.0 18.1 Janczewski, Z. and Bablok, L. (1985). "Semen Characteristics in Pubertal Boys". Archives of Andrology. 15 (2–3): 199–205. doi:10.3109/01485018508986912. PMID 3833078.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ c-fos เป็นโปรตีนที่ยีน FOS เข้ารหัส การแสดงออกของ c-fos เป็นตัวบ่งชี้โดยอ้อมของการทำงานในประสาทเพราะว่า c-fos มักจะมีการแสดงออกเมื่อนิวรอนยิงศักยะงาน
- ↑ proto-oncogene เป็นยีนปกติที่สามารถกลายเป็น oncogene คือยีนที่ก่อมะเร็งเนื่องจากการกลายพันธุ์และการแสดงออกของยีนที่มีเพิ่มผิดปกติ
- ↑ Sagar SM; และคณะ (1988). "Expression of c-fos protein in brain: metabolic mapping at the cellular level". Science. 240 (4857): 1328–1332. doi:10.1126/science.3131879. PMID 3131879.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help) - ↑ PMID 9370204 (PMID 9370204)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ PMID 9638960 (PMID 9638960)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ The Rough Guide to Sex retrieved February 2012
- ↑ 65+ --Gateway to Sexual Adventure: For Women and Men, Herb Hirata - 2012
- ↑ Andrology: Male Reproductive Health and Dysfunction - Page 317, E. Nieschlag, Hermann M. Behre, Susan Nieschlag - 2010
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 Dexter S (2010). "Benign coital headache relieved by partner's pregnancies with implications for future treatment". British Medical Journal.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 Richard Balon, R. Taylor Segraves (2005). Handbook of sexual dysfunction. Informa Health Care. ISBN 978-0-8247-5826-4. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ 29.0 29.1 Waldinger MD, Meinardi M, Zwinderman A, Schweitzer, D. (April 2011). "Postorgasmic Illness Syndrome (POIS) in 45 Dutch Caucasian Males: Clinical Characteristics and Evidence for an Immunogenic Pathogenesis (Part 1)". The Journal of Sexual Medicine. doi:10.1111/j.1743-6109.2010.02166.x.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "The Naked Scientists". 2010.
- ↑ Waldinger MD, Schweitzer DH (2002). content=a7l3847004?words=waldinger "Postorgasmic illness syndrome: two cases". J Sex Marital Ther. 28 (3): 251–5. doi:10.1080/009262302760328280. PMID 11995603.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ Dimitropoulou, PolyxeniArtitaya Lophatananon, Douglas Easton, Richard Pocock, David P. Dearnaley, Michelle Guy, Steven Edwards, Lynne O'Brien, Amanda Hall, Rosemary Wilkinson, Rosalind Eeles, Kenneth R. Muir (November 11, 2008). "Sexual activity and prostate cancer risk in men diagnosed at a younger age". BJU International. 103 (2): 178–185. doi:10.1111/j.1464-410X.2008.08030.x. OCLC 10.1111/j.1464-410X.2008.08030.x. PMID 19016689.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|oclc=
(help) - ↑ "Masturbation Cuts Cancer Risk". BBC News Online. 2003-07-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04., Giles GG, Severi G, English DR, Hopper JL. (2004). "Frequency of ejaculation and risk of prostate cancer". JAMA. 292 (3): 329. doi:10.1001/jama.292.3.329-a. PMID 15265846.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Leitzmann MF, Platz EA, Stampfer MJ, Willett WC, Giovannucci E. (2004). "Ejaculation frequency and subsequent risk of prostate cancer". JAMA. 291 (13): 1578–86. doi:10.1001/jama.291.13.1578. PMID 15069045.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Garnick, Marc (24 February 2011). "Does frequent ejaculation help ward off prostate cancer?". Harvard Medical School Prostate Knowledge. Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
- ↑ "Masturbation 'cuts cancer risk'". BBC News. BBC. 16 July 2003. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
- ↑ Bhattacharya, Shaoni (6 April 2004). "Frequent ejaculation may protect against cancer". New Scientist. UK: Reed Business Information. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 Leitzmann MD, Michael F (7 April 2004). "Ejaculation Frequency and Subsequent Risk of Prostate Cancer". Journal of the American Medical Association. American Medical Association. 291 (13): 1578–86. doi:10.1001/jama.291.13.1578. PMID 15069045. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Giles BSc, MSc, PhD, Graham G (August 2003). "Sexual factors and prostate cancer". BJU International. BJUI. 92 (3): 211–16. doi:10.1046/j.1464-410X.2003.04319.x. PMID 12887469.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 40.0 40.1 "New findings on prostate cancer risk and sexual activity". Cancer Council Victoria website. Cancer Council Victoria. 17 July 2003. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
- ↑ Robert L. Smith (28 December 1984). Sperm Competition and the Evolution of Animal Mating systems. Elsevier. ISBN 978-0-323-14313-4. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Johnston S.D., Smith B., Pyne M., Stenzel D., and Holt W.V. One-Sided Ejaculation of Echidna Sperm Bundles (Tachyglossus aculeatus) . Am. Nat. 2007. Vol. 170, p. E000. [AN:42629 ] doi:10.1086/522847
- ↑ L. David Mech; Luigi Boitani (1 October 2010). Wolves: Behavior, Ecology, and Conservation. University of Chicago Press. pp. 44–. ISBN 978-0-226-51698-1. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ The pursuit of pleasure. Transaction Publishers. 1992. ISBN 978-1-4128-3867-2. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Morisaka, Tadamichi (27 August 2013). "Spontaneous Ejaculation in a Wild Indo-Pacific Bottlenose Dolphin (Tursiops aduncus)". PLoS ONE. 8 (8): e72879. doi:10.1371/journal.pone.0072879. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Swimming Toward Conception: The Semen Analysis". Focus on Fertility, American Infertility Association and Organon Pharmaceuticals USA Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-12.
- Tim Glover (30 June 2012). Mating Males: An Evolutionary Perspective on Mammalian Reproduction. Cambridge University Press. pp. 105–. ISBN 978-1-107-00001-8. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
- Robert L. Smith (28 December 1984). Sperm Competition and the Evolution of Animal Mating systems. Elsevier. ISBN 978-0-323-14313-4. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
- Peter B. Gray (1 April 2013). Evolution and Human Sexual Behavior. Harvard University Press. pp. 9–. ISBN 978-0-674-07437-8. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
- Michael D. Breed; Janice Moore (2010). Encyclopedia of Animal Behavior. Elsevier. ISBN 978-0-08-045336-1. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.